คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ปราสาทภูมิโปน

ตามรอยอารยธรรมขอมโบราณ

“สุรินทร์ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม ประคำสวย ร่ำรวยปราสาท ผักกาดหวาน ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม” นี้คือคำขวัญของจังหวัดสุรินทร์ ดินแดนอีสานใต้ที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน มีสถานที่ท่องเที่ยวหลากหลายและจากคำขวัญ “ร่ำรวยปราสาท” ที่นี่จึงมีแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณสถานที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง เช่น กลุ่มปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาควาย ปราสาทศีขรภูมิแล้ว ยังมีอีกปราสาทหนึ่งแม้จะไม่ใหญ่โต แต่มีจุดเด่นและน่าสนใจไม่น้อย เพราะเป็นปราสาทที่จัดว่าเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย นั่นก็คือ ปราสาทภูมิโปน ต.ดม อ.สังขะ จ.สุรินทร์

ปราสาทภูมิโปน ตั้งอยู่ที่บ้านภูมิโปน ต.ดม อ.สังขะ จ.สุรินทร์ ปราสาทประกอบด้วยโบราณสถาน 4 หลัง  คือ ปราสาทก่อด้วยอิฐ 3 หลังและศิลาแลง 1 หลัง ตั้งเรียงกันในแนวเหนือ-ใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก โดยปราสาทหลังที่ 1 ปราสาทประธาน เป็นปราสาทอิฐหลังใหญ่มีสภาพสมบูรณ์ที่สุด ก่อด้วยอิฐไม่สอปูนแบบศิลปะขอมรุ่นเก่า มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีบันได ประตูทางเข้าด้านตะวันออกเพียงด้านเดียว มียอดหลังคาลดหลั่นเป็นชั้น ๆ ปัจจุบันเหลือเพียง 3 ชั้น มีเสาประดับกรอบประตู ใต้หน้าบันเหนือทับหลังขึ้นไปสลักรูปใบไม้ม้วน แบบศิลปะอินเดีย สมัยหลังคุปตะ (ราวพุทธศตวรรษที่ 11 – 13) ซึ่งรูปแบบและเทคนิคการก่อสร้างปราสาทประธานเทียบได้กับปราสาทขอมสมัยก่อนพระนคร ร่วมสมัยกับปราสาทที่อยู่ด้านทิศเหนือสุด  (ปราสาทหลังที่ 4 ตามแผนผังปราสาท) สันนิษฐานว่าปราสาทนี้น่าจะสร้างเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู ลิทธิไศวนิกาย นอกจากนี้ยังค้นพบศิลาจารึกอักษรปัลลวะ-สันสกฤต 1 ชิ้น มีใช้ในพุทธศตวรรษที่ 11 – 13 ซึ่งสอดคล้องกับอายุของรูปแบบศิลปะของปราสาท นับว่าเก่าแก่ที่สุดของไทย

ในส่วนของโบราณสถานที่สร้างด้วยอิฐหลังเล็กด้านข้าง ปัจจุบันเหลือแต่เพียงส่วนฐานและกรอบประตูหินทราย

ส่วนฐานโบราณสถานที่สร้างด้วยฐานศิลาแลงทางด้านทิศใต้ปรางค์ประธานนั้น ปัจจุบันเหลือเพียงฐาน สันนิษฐานว่าปราสาทหลัง 2 และ 3 น่าจะสร้างในสมัยหลังต่อมา หลังจากสร้างปราสาทประธานก่อนแล้ว

ส่วนปราสาทอิฐห่างออกมาทางทิศเหนือสุด   มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมไม่ย่อมุม ปัจจุบันเหลือเพียงฐาน กรอบประตูทางเข้า และผนังบางส่วน  

ปราสาทภูมิโปนถือว่าเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณหรือชุมชนโบราณที่มีระบบการปกครองแบบเมือง  สังเกตได้จากบริเวณรอบ ๆ ปราสาทพบคูกำแพงเมือง เขื่อนดินโบราณ และสระน้ำ โดยเฉพาะน้ำเป็นระบบชลประทานถูกออกแบบมา มีจำนวน 5 แห่ง ได้แก่ สระลำเจียก สระตา สระกนาล สระตราว และสระปรือ ปัจจุบันพื้นที่ชุมชนโบราณเป็นที่ตั้งของชุมชนบ้านภูมิโปน

นอกจากนี้ปราสาทภูมิโปนยังเชื่อมโยงเป็นตำนานเรื่องเล่าขานท้องถิ่น ตำนานปราสาทภูมิโปน “ เนียง ด็อฮฺ ธม ”  ในตำนานกล่าวถึงกษัตริย์ขอมองค์หนึ่งได้สร้างเมืองลับไว้กลางป่าชื่อว่า “ปราสาทภูมิโปน” ต่อมาเมื่อเมืองหลวงเกิดความไม่สงบ มีข้าศึกมาประชิตเมือง กษัตริย์ขอมจึงส่งพระธิดาพร้อมไพร่พลจำนวนหนึ่งมาหลบซ่อนลี้ภัยที่ภูมิโปน พระธิดาองค์นั้นพระนามว่า พระนางศรีจันทร์ หรือ เนียง ด็อฮฺ ธม ในภาษาเขมร แปลว่า พระนางที่มีหน้าอกงามหรือพระนางนมใหญ่ ด้วยความงามของนางที่เลื่องลือไปทั่ว จึงเป็นที่หมายปองของพระราชาเมืองต่าง ๆ ที่ต้องการพระนางมาเป็นพระชายา จึงเกิดศึกชิงนางขึ้น เกิดเป็นโศกนาฏกรรมและทำให้บุรุษล้มตายเพราะนางมาก สุดท้ายพระนางศรีจันทร์ได้ตกไปเป็นมเหสีของกษัตริย์แห่งนครนายพราน (วยาธปุระ เมืองหลวงสมัยอาณาจักรฟูนันในอดีต) ก่อนนางจะจากไปได้ขอไปอาบน้ำที่สระลำเจียก และปลูกต้นลำเจียกไว้กอหนึ่ง พร้อมกับอธิษฐานว่า ถ้าพระนางยังไม่กลับมาที่ภูมิโปน ขอให้ต้นลำเจียกอย่าได้ออกดอกอีกเลย ปัจจุบันสระลำเจียกยังคงมีต้นลำเจียกกอใหญ่หลายต้นและยังไม่มีดอกมาจนถึงทุกวันนี้

จากตำนานเป็นที่มาของชื่อปราสาท คำว่า ภูมิ ในภาษาเขมร แปลว่าหมู่บ้าน หรือดินแดน คำว่า โปน แปลว่าซ่อนตัวไม่ให้ใครหาพบ รวมกันจึงหมายถึงเมืองลึกลับ หรือที่ซ่อนรวบรวมกองทัพ ปัจจุบันตำนาน เนียง ด็อฮฺ ธม ยังคงเล่าขานเรื่อยมา กลายเป็นส่วนหนึ่งของปราสาทภูมิโปนและวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นที่จัดแสดงขึ้นทุกปี ผ่านการแสดงแสง สี เสียง ใน “งานประเพณีสืบสานตำนานปราสาทภูมิโปน”  ณ บริเวณปราสาทภูมิโปน ต.ดม อ.สังขะ จ.สุรินทร์ เพื่อเผยแพร่ให้ปราสาทภูมิโปนเป็นที่รู้จักมากขึ้น

อ้างอิง

http://www.finearts.go.th

24,519 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดสุรินทร์