สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน
การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%
จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น
ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน
วัดพระนอน เป็นโบราณสถานที่เก่าแก่ ตั้งอยู่ภายในกำแพงเมืองเก่าของเมืองแพร่ มีประวัติความเป็นมายาวนานนับพันปี พบตำนานวัดพระนอนจากใบลาน ซึ่งได้บันทึกเกี่ยวกับวัดพระนอนไว้ว่า
วัดพระนอนสร้างโดย เจ้าพระยาชัยชนะสงครามและพระนางเจ้าอู่ทองศรีพิมพาเมื่อ จ.ศ.236 แต่เดิมนั้นวัดนี้มีพระพุทธรูปปางไสยาสน์ คือพระนอนซึ่งองค์จริงนั้นเป็นหินยาวขนาดหกศอก ต่อมาเจ้าปู่ท้าวคำ ซึ่งเป็นพระอัยกาของเจ้าพระยาชัยชนะสงคราม เห็นว่าไม่ปลอดภัย จึงสั่งให้สร้างพระนอนองค์ใหญ่ครอบองค์เดิมไว้ และช่วยกันตกแต่งพระพุทธรูปนอนองค์ใหม่ให้สวยงาม พอดีมีกองทัพพม่ามารุกรานเมืองโกศัย ชาวเมืองตื่นกลัวพากันอพยพหลบลี้ตามป่าเขา โดยยังมิทันได้ฉลองพระพุทธรูปนอน เจ้าพระยาชัยชนะสงครามเห็นเหตุการณ์ดังนั้นจึงตรัสสั่งมเหสีว่า
ดูกร เจ้าพิมพาศึกมาถึงบ้านถึงเมืองแล้ว ความแตกตื่นย่อมมีดังนี้ ขอให้สร้างให้เสร็จแล้วทำบุญวันรุ่งขึ้นของวันใหม่ แล้วเจ้าชัยชนะสงครามก็ออกศึกและสวรรคตในสนามรบ น้องชื่อท้าวยาสิทธิ์แสนหาญ ออกรบสู้พม่ากายสาบสูญ นางพิมพาจึงได้ลงมือสร้างวัดพระนอนและเจดีย์ขึ้น แล้วจารึกในแผ่นทองคำเป็นตัวหนังสือพื้นเมืองเหนือว่า
วัดพระนอนนี้ให้มีการนมัสการไหว้สา ในเดือนเจ็ดใต้เดือนเก้าเหนือขึ้นสิบห้าค่ำ
ดังนั้น วัดพระนอนจะมีงานในเวลาดังกล่าวทุกปี
เมื่อนครโกศัยไม่มีเจ้าเมืองปกครอง วัดพระนอนจึงถูกละทิ้งเป็นวัดร้างเป็นเวลานานเท่าใดไม่ปรากฏ มีต้นไม้ขนาดใหญ่ขึ้นคลุมบริเวณวัด มีเถาวัลย์ขนาดใหญ่ที่ชื่อว่าผักหละหรือผักชะอมขึ้นปกคลุมพระนอนเป็นเวลานาน จนบริเวณนั้นกลายเป็นป่า ต่อมามีพ่อค้าต่างเมืองเดินทางมาค้างแรมบริเวณดังกล่าวเห็นผักหละขึ้นงามดี จึงเอาไปเป็นอาหารและได้พบก้อนอิฐอยู่ทั่วไป พวกพ่อค้าจึงสงสัยว่าเป็นวัดร้างและจึงนำความไปเล่าให้ชาวบ้านฟัง ชาวบ้านต่างแตกตื่นและพากันไปหักล้างถางพง พบต้นไม้ใหญ่เป็นต้นมะม่วงขึ้นปกคลุมพระนอนคล้ายกับร่ม ชาวบ้านเกิดศรัทธาจึงช่วยกันบูรณะซ่อมแวมให้สวยงามและแข็งแรง และได้ตั้งชื่อวัดเสียใหม่ว่า “วัดม่วงคำ” และในการบูรณะครั้งนั้นได้พบแผ่นทองคำจารึกของพระนางพิมพา จึงได้รู้ว่าวัดม่วงคำนั้นแต่เดิมคือวัดพระนอน และสันนิษฐานว่า วัดพระนอนนี้ได้สร้างสำเร็จในเดือนเก้าเหนือขึ้นสิบห้าค่ำ ทั้งนี้โดยถือเอาคำจารึกในแผ่นทองคำเป็นหลัก
“วัดพระนอนแต่ก่อนเก่ากาล มีแต่นานเนื่องมาน่านับถือ
มีประวัติสืบเล่าเขาเลื่องลือ ว่าเคยชื่อ “ม่วงคำ” จำมานาน
อนุชนรุ่นหลังรับฟังไว้ จงภูมิใจซึ้งคุรค่ามหาศาล
มรดกตกทอดตลอดกาล อยู่คู่บ้านเมืองแพร่แต่นี้เทอญ”
วัดพระนอน เป็นวัดที่มีการสร้างด้วยศิลปะแบบผสมผสานถึงสามยุค คือ เชียงแสน สุโขทัย และอยุธยาตอนปลายอุโบสถสร้างตามแบบสมัยเชียงแสน ไม่มีการเจาะหน้าต่าง แต่ทำผนังเป็นช่องแสงแทน สำหรับลวดลายหน้าบันเป็นลวดลายแบบอยุธยาตอนปลาย ผูกเป็นลายก้านขดและมีภาพรามเกียรติ์ประกอบ วิหารมีรูปแบบการก่อสร้างเช่นเดียวกับอุโบสถ แต่ตกแต่งบริเวณชายคาเป็นไม้ฉลุโดยรอบและหลังคาประดับด้วยไม้แกะสลักเป็นรูปพญานาคบริเวรหน้าจั่ว พระพุทธรูปนอนปางสีหไสยาสน์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปูนปั้น มีความยาว 9 เมตร ลงรักปิดทองตลอดองค์เจดีย์ตั้งอยู่ด้านหลังอุโบสถ เป็นทรงระฆังคว่ำรูป 8 เหลี่ยม มีพระพุทธรูปอยู่ 4 ด้านสร้างพร้อมกับพระนอน ชื่อพระธาตุสิงหอุตรนคร