สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน
การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%
จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น
ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน
วัดศรีชุมเป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดของจังหวัดแพร่ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 1322 มีอายุนับพันปี ซึ่งมีมาก่อนการสร้างเมืองแพร่ ในอดีตนั้นวัดศรีชุมเป็นวัดที่มีความงดงามมากเจดีย์หุ้มด้วยทองคำ เวลาต่อมามีกองทัพพม่าบุกมายึดอาณาจักรล้านนาแล้วยกทัพบุกเมืองแพร่ ได้เผาทำลายวัดและลอกเอาทองคำจากเจดีย์ไปด้วยและจากการบุกเมืองแพร่คราวนั้นทำให้วัดศรีชุมกลายเป็นวัดร้าง ภายในวิหารวัดศรีชุมเป็นที่ประดิษฐานพระยืน ชาวบ้านเรียกกันว่า “พระเจ้ายืน” เป็นพระยืนในวิหารที่มีความสูงมากที่สุดของจังหวัดแพร่
พระพุทธรูปปางประทับยืน ศิลปะสุโขทัยผสมศิลปะพื้นเมือง เป็นพระพุทธรูปประจำวัดศรีชุม เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1322 มีอายุนับพันปี สร้างขึ้นพร้อมๆกับวัดศรีชุม พระพุทธรูปองค์นี้มีขนาดใหญ่สูงตระหง่านอยู่ในวิหาร มีการบูรณะพระเจ้ายืนเมื่อปี พ.ศ. 1900 พระเจ้ายืนเป็นที่เคารพและศรัทธาของประชาชนชาวแพร่อย่างมาก เชื่อกันว่าถ้ามาขอพรพระเจ้ายืนก็มักจะสำเร็จสมดังปรารถนา ภายในวัดยังพระเจดีย์ เป็นศิลปะสมัยล้านนา สร้างประมาณศตวรรษที่ 20 เป็นเจดีย์ทรงปราสาทยอดทรงระฆังแบบล้านนา ฐานย่อมุม 28 กว้างด้านละ 5 วา ด้านบนมีซุ้มจรนัมภายในประดิษฐานพระพุทธรูป
จากการบันทึกหลักฐานทางประวัติศาสตร์วัดศรีชุมกล่าวไว้ว่า อุปราชเมืองสุโขทัย ซึ่งเสด็จมาสร้างเจดีย์ช่อแพร(พระธาตุช่อแฮ) ตอนที่ทรงมาพำนักที่คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่(สมัยเจ้าเทพวงศ์หรือเจ้าหลวงลื้นทอง) และทรงเห็นทำเลทิศตะวันตกของคุ้มมีซากเจดีย์เก่า สถานที่ร่มรื่นเหมาะที่ที่จะสร้างพุทธสถานให้คณะสงฆ์บำเพ็ญวิปัสสนาจึงพร้อมใจกันกับเจ้าเมืองแพร่บูรณะวัดขึ้นตามลักษณะวัดสมัยสุโขทัย ในครั้งนั้นได้บูรณะเจดีย์ สร้างพระวิหารพระยืน กำแพงวัดด้านหน้าซึ่งเป็นรูปปั้นรูปเทพนมสลับกับแจกันดอกไม้ ปั้นรูปฤๅษีบำเพ็ญตบะไว้ด้านหน้าประตูทางเข้าและบนจั่วหน้าวิหาร โดยใช้ช่างฝีมือดีจากเมืองพางคำหรือเมืองเชียงแสน และขนานนามว่า “วัดศรีชุม” มีงานฉลองสมโภชวัด 7 วัน 7 คืน