คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

แพร่...แห่ระเบิด

คนแพร่แห่ระเบิด

 “แพร่แห่ระเบิด” เป็นเรื่องจริงหรืออิงตลก หากย้อนกลับไปเมื่อหลายสิบปีที่แล้ว คำว่า “แพร่แห่ระเบิด” ห้ามพูดเด็ดขาดในเมืองแพร่ เป็นวลีล้อเลียนชวนให้ทะเลาะวิวาท “แพร่แห่ระเบิด” เป็นคำที่คนแพร่ถูกล้อเลียนกันมาหลายทศวรรษ คนต่างจังหวัดนิยมยกขึ้นมาล้อกันอย่างสนุกปาก คนเมืองแพร่ที่ถูกทักทายด้วยสำนวนนี้ บางคนก็รู้สึกงง บางคนก็รู้สึกเฉยๆ บางคนก็รู้สึกตลกขบขัน บางคนก็รู้สึกอาย หรือบางคนก็รู้สึกโกรธ แล้วแต่บุคคลและสถานการณ์ คนแพร่เมื่อออกนอกพื้นที่มักจะถูกถามเรื่องแพร่แห่ระเบิด ผู้คนต่างพากันเล่าเรื่องราวผิดเพี้ยนไปต่างๆนาๆ ดังเช่น “ตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 มีเครื่องบินทิ้งระเบิดตกลงมาที่แพร่ แล้วคนแพร่ก็ไม่รู้ว่าเป็นระเบิดเลยเอามาแห่นึกวาเป็นของศักดิ์สิทธิ์ตกจากสวรรค์ พากันนำมาแห่รอบเมืองแห่ไปแห่มาก็ดันระเบิดทำให้คนตายทั้งเมือง”

           “มีลูกระเบิดตกมาจากฟ้า ชาวแพร่คิดว่าเป็นระเบิดจากเทวดา นำไปแห่จนระเบิดตายทั้งเมือง เลยกลายเป็นที่มาของเมืองแพร่แห่ระเบิด”

           “มีชาวบ้านเมืองแพร่เข้าป่าไปหาหน่อไม้ไปเจอลูกไข่เหล็กเกิดแตกตื่น จึงนำลูกไข่เหล็กไปแห่รอบบ้านบอกเป็นไข่เทวดาเพราะไม่มีใครเคยเห็นมาก่อน ปรากฏว่าระเบิดแตกตายไปครึ่งเมือง”

           “มีระเบิดตกลงมาจากท้องฟ้า ชาวบ้านนึกว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์มาจากสวรรค์ก็เลยเอามาแห่ แล้วระเบิดตายทั้งหมู่บ้าน ตายทั้งบ้านทั้งเมือง รวมทั้งเจ้าเมืองด้วย ก็เลยไม่มีนามสกุล ณ แพร่”

เรื่องราวเหล่านี้เป็นเรื่องที่เล่าต่อกันมาอย่างตลกเรื่อยมา

          ทำไมต้องแห่ แห่ระเบิดที่แท้จริงคืออะไร ข้อเท็จจริงจากการให้สัมภาษณ์ของบุคคลที่เกี่ยวข้องมีใจความว่ามีการพบซากระเบิด ซากระเบิดที่พบมีทั้งหมด 3 ลูก ได้นำไปถวายทำเป็นระฆังให้วัดทั้ง3ลูก ถูกนำไปถวายให้แก่วัดเพื่อนำไปเป็นระฆัง ลูกที่ 1 อยู่ที่วัดแม่ลานเหนือ ลูกที่ 2 อยู่ที่วัดศรีดอนคำ และลูกที่ 3 อยู่ที่วัดนาตุ้ม จากการสอบถามข้อมูลจากผู้รู้จึงได้ข้อมูลมาว่าที่จริงแล้วแพร่แห่ระเบิดกันทำไม

ระเบิดลูกที่ 1 ในปี พ.ศ.2516 นายหลง มะโนมูล และคนงานสถานีรถไฟที่ดูแลเส้นทางรถไฟระหว่างสถานีรถไฟบ้านปินถึงสถานีแก่งหลวง ได้พบซากลูกระเบิดโผล่พ้นดินขึ้นมาในสวนของนายถา ถนอม ใกล้แม่น้ำยม  บ้านแม่ลู้ จึงได้มาบอกให้นายสมาน หมื่นขัน ซึ่งในขณะนั้นเป็นเจ้าอาวาสวัดแม่ลานเหนือ

          ระเบิดลูกที่ 2 และลูกที่ 3 พบพร้อมกันในพื้นที่เดียวกัน ได้นำไปถวายเป็นระฆังลูกระเบิดให้แก่วัดศรีดอนคำและวัดนาตุ้ม ในปี พ.ศ. 2499 นายมา สุภาแก้ว และนายชาญณรงค์ อินปันดี ทั้งสองคนได้นำช้างไปรับจ้างลากไม้ซุงที่ถูกลักลอบตัดทิ้งไว้บนเขาให้กับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้  ได้พบเศษเหล็กกระจัดกระจายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยอยู่บริเวณเชิงเขาใกล้ลำน้ำยมและใกล้กับสะพานรถไฟห้วยแม่ต้า ด้วยความสงสัยจึงได้ขุดดูและพบกับท่อนเหล็กขนาดใหญ่ซึ่งเป็นซากระเบิดสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นระเบิดที่ทหารฝ่ายสัมพันธมิตรนำมาทิ้งทำลายสะพานรถไฟห้วยแม่ต้า เพื่อสกัดการเดินทางของทหารญี่ปุ่นที่จะเข้าสู่ภาคเหนือและข้ามแดนไปประเทศพม่า ซากระเบิดที่พบเป็นระเบิดที่ทิ้งลงมาจากเครื่องบินแล้วไม่ระเบิด ทหารสัมพันธมิตรจึงได้ทำลายด้วยการตัดส่วนหางของระเบิดเพื่อเอาดินปืนข้างในทิ้ง และทิ้งซากลูกระเบิดไว้เพราะไม่สามารถนำระเบิดกลับไปได้เนื่องจากน้ำหนักมาก และห่างจากบริเวณที่ขุดพบระเบิดลูกที่หนึ่งประมาณ 10 เมตร ก็ได้เจอกับระเบิดอีกลูกหนึ่ง ทั้งสองจึงได้ใช้ช้างลากลูกระเบิดขึ้นมาจากหลุมและลากมาไว้บริเวณปางไม้ริมน้ำยม จากนั้นได้นำซากระเบิดขึ้นแพไม้สักขององค์กรอุตสาหกรรมป่าไม้ เพื่อนำมาขึ้นฝั่งบริเวณปากลำห้วยแม่ลานในเขตตำบลปากกาง แล้วใช้ช้างลากซากระเบิดมาไว้ที่บ้าน โดยแบ่งซากระเบิดกันคนละลูก และนำซากระเบิดไปตั้งไว้ใกล้บันไดบ้านเพื่อใส่น้ำไว้ล้างเท้า ต่อมาในปี พ.ศ. 2516 นายมา สุภาแก้ว ได้นำซากระเบิดไปถวายวัดศรีดอนคำ

เพื่อทำเป็นระฆัง เนื่องจากเคาะดูแล้วมีเสียงดังกังวาน โดยในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2516 ได้นำใส่เกวียนแห่ร่วมกับขบวนแห่ครัวทาน(เครื่องไทยทาน) งานประเพณียี่เป็ง(ลอยกระทง)ของหมู่บ้านดอนทราย ในขบวนแห่มีการนำฆ้อง กลอง มาตีกันอย่างสนุกสนาน จึงเกิดคำว่า “แพร่แห่ระเบิด” ขึ้น

และในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2516 นายชาญณรงค์ อินปันดี ได้นำซากระเบิดอีกลูกไปถวายให้วัดนาตุ้ม อ.ลอง จ.แพร่ นี้คือข้อเท็จจริงจากบุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์

          คุณเชษฐา สุวรรณสา เจ้าของร้านกาแฟแห่ระเบิดได้เล่าให้ฟังว่า เมื่อตอนที่ได้เข้ามาศึกษาในกรุงเทพมหานคร ทันทีที่เพื่อนๆรู้ว่าตนมาจากจังหวัดแพร่ คำทักทายแกมเย้ยหยัน แพร่แห่ระเบิดเป็นวลีที่ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท เมื่อถูกถามครั้งแรกก็งงๆ เมื่อกลับมาอยู่บ้านจึงได้สอบถามคนแพร่ว่า

เคยถูกล้อเรื่อง แพร่แห่ระเบิดหรือไม่ ส่วนใหญ่ก็จะตอบตรงกันว่า โดน เรียกได้ว่าโดนกันทั้งนั้น

          ดังนั้นจึงสรุปข้อเท็จจริงได้ว่า “ระเบิดที่แห่มีจริง ไม่ได้แห่เพราะการไม่รู้จักระเบิดจนแตกตายไปครึ่งเมือง แต่ระเบิดที่กล่าวถึงคือระเบิดสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 นำแห่ไปถวายวัดเพื่อทำระฆังที่อำเภอลอง จังหวัดแพร่”

48,839 views

6

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดแพร่