คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

หอไตรวัดใหญ่ท่าเสา

ศาสนสถานที่ถูกลืม

          อุตรดิตถ์ มีความเป็นมาที่ถือว่ายาวนาน ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเรื่อยมาจนมาถึงปัจจุบัน มีสถาปัตยกรรมที่หลากหลายทั้งร่วมสมัยและตรงตามสมัย มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทั้งการเป็นอยู่ การสร้างบ้านสร้างเรือน หลายชนชาติ หลายสมัย ผ่านกาลเวลามานับร้อยปีและสิ่งที่สำคัญในชุมชนและแหล่งต่างๆ คือ วัด ถือว่าเป็นสถานที่ที่สำคัญที่สามารถบ่งบอกถึง เอกลักษณ์ ความเป็นมา ยุคสมัย สถาปัตยกรรมที่ล่วงเข้ามา และยังสะท้อนถึงความเจริญงอกงามทางวัฒนธรรมในผืนแผ่นดินนี้

          วัดใหญ่ท่าเสา เป็นโบราณสถานสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย สถาปัตยกรรมลักษณะโครงสร้างของตัวอาคาร ภายในวัดที่เราสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน คือ หอไตรของวัดใหญ่ท่าเสาใช้เป็นที่เก็บรวบรวมพระไตรปิฎกและเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้องกับคำสอนทางพระพุทธศาสนา เป็นศิลปะอยุธยาตอนปลาย ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๓ ตัวอาคารเป็นเรือนไม้ยกพื้นเสาปูน หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินขอ เชิงชายแกะสลักรูปลายกรวยเชิงและที่สำคัญไม่มีบันไดทางขึ้น เนื่องจากเป็นการป้องกันความเสียหายจากการถูกขโมย หน้าบันเป็นไม้แกะสลักประดับกระจก หน้าบันฝั่งทิศตะวันออกเป็นรูปหน้ากาลล้อมรอบไปด้วยเทวดาและพันธุ์พฤกษา ด้านบนสุดของหน้าบันแกะสลักเป็นรูปครุฑยุดนาค หน้าบันฝั่งทิศตะวันตกเป็นลายพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านขด ด้านล่างรองรับด้วยกระจังใบเทศ ตัวหน้าบันมีลวดลายที่ยังครบถ้วนสมบูรณ์ เสาที่รองรับตัวอาคารประดับด้วยรูปบัวหัวเสาที่มีความเรียวเป็นใบหอก

          นอกจากนั้น ยังมีโบราณวัตถุที่สำคัญมาก อาทิ พระยานมาศ ซึ่งหมายถึง พระราชยานคานหามสำหรับพระมหากษัตริย์ มีลักษณะเป็นพระแท่นราชบัลลังก์ทรงสูง หรือ พระแท่นราชบัลลังก์ทรงราบ มีพนักกงและไม่มีพนักกง ปิดทองทั้งองค์ ประกอบกับคานหาม ใช้หามหรือหิ้วถวายเป็นพระที่นั่งราชยานในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราทางบก สร้างในสมัยอยุธยาในรัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระยานมาศนี้เชื่อกันว่าเป็นยานมาศที่พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาอุทิศถวายบูชาพระมหาธาตุเมืองฝาง และอาจใช้เป็นยานมาศประจำตัวพระสังฆราชาเมืองสวางคบุรี(เมืองฝาง) เพราะที่มาของยานมาศนี้สันนิษฐานว่า นำมาจากวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถในราวสมัยรัชกาลที่ 4 โดยหลวงพ่อเย็ก อดีตเจ้าอาวาสวัดใหญ่ท่าเสาซึ่งได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสวางคบุรี

          ในปี พ.ศ.๒๔๔๔ สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงตรวจพบว่าวัดท่าเสามียานมาศลักษณะเดียวกัน ๒ หลัง ปัจจุบันเหลือเพียงหลังเดียว โดยหลังที่จัดแสดงอยู่ในปัจจุบันได้ย้ายกลับมาจากศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ในปี พ.ศ. ๒๔๔๑ จัดแสดงอยู่อยู่ที่ศาลาการเปรียญของวัด นอกจากนั้นมีโบราณวัตถุอีกมากมาย อาทิ พิพิธภัณฑ์ วัด และ โบราณสถาน ในบริเวณเดียวกัน

          หากท่านใดที่แวะเวียนผ่านมา สามารถมาเที่ยวชมยังวัดแห่งนี้ได้ คุณอาจจะตกตะลึงเกี่ยวกับสิ่งที่คุณไม่เคยเห็น ที่มันมีอยู่ในอุตรดิตถ์ และยังมีอีกมากมายหลายที่ ที่อยู่ในตรอกซอกซอย ในอุตรดิตถ์ที่ผู้อ่านทุกๆท่าน ไม่เคยได้เห็นและได้ชม ที่ที่คุณเห็นอาจจะไม่ใช่สิ่งที่มันเป็น ในบางสิ่งที่มันเป็นอาจจะมีมากว่าในสิ่งที่คุณเห็นหรือที่คุณคิด คุณต้องมาเยือนที่วัดนี้สักครั้งมาสัมผัสบรรยากาศที่มีมนต์เสนห์ไม่เหมือนใคร

ภาพและบทความโดย นิติ   วงศ์มาลา

42,481 views

0

แบ่งปัน