สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน
การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%
จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น
ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน
งอบโบราณที่เกษตรกรใช้บังแดดในการทำนาไม่ใช่หมวก
งอบเมืองตราด มีลักษณะด้านหน้าเป็นรูปวงรีแหลมคล้ายสามเหลี่ยม มีปีกยื่นยาวไปทางด้านหลัง ลักษณะรูปทรงของงอบแบบนี้เป็นงอบแบบโบราณ เหมาะกับการใช้สวมใส่เพื่อกันฝนและกันลม โดยงอบชนิดนี้จะมีความลาดเอียง ทำให้น้ำฝนไหลลงสะดวกและไม่ต้านลม ในส่วนของปีกหางที่ยื่นไปด้านหลังยังช่วยป้องกันไม่ให้น้ำฝนเปียกหลังอีกด้วย ปัจจุบันไม่ค่อยพบเห็นงอบแบบโบราณเช่นนี้ ส่วนงอบอีกรูปทรงหนึ่งที่ชาวตราดจะเรียกว่า หมวกใบจาก เพราะเป็นการนำใบจากมาเย็บเป็นหมวก เพื่อใช้สำหรับคุมแดดกันฝน แต่คนทั่วไปมักเรียกว่า งอบน้ำเชี่ยว เพราะมีแหล่งผลิตสินค้าที่สร้างชื่อเสียงของบ้านน้ำเชี่ยว อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด1 งอบเมืองตราดหรือรู้จักกันทั่วไปว่า งอบน้ำเชี่ยว นั้น ปัจจุบันได้พัฒนาผลิตให้มีรูปทรงที่มีความหลากหลายมากขึ้น รูปทรงของงอบเมืองตราดมีดังนี้
งอบรูปทรงกระทะคว่ำ เป็นหมวกใบจากอเนกประสงค์ เพราะนอกจากจะใช้สำหรับกันแดดและกันฝน ยังสามารถใช้งานอย่างอื่นได้อีก เมื่อพลิกหมวกให้หงายขึ้นมา จะกลายเป็นภาชนะใส่ของและสามารถลอยน้ำได้
งอบทรงกระดองเต่า รูปทรงแบบปีกเว้าคุ้มเข้ามาคล้ายกระดองเต่า เหมาะกับเกษตรกร เพราะตรงส่วนเว้าด้านหน้าจะช่วยให้มองเห็น และส่วนเว้าด้านหลังจะช่วยให้สะดวกในการก้มเงยตอนดำนา
งอบทรงยอดแหลม ลักษณะทรงกรวยแหลม ปากกว้าง เหมาะกับชาวสวน สามารถระบายความร้อนได้ดี ปีกหมวกด้านข้างมีความกว้าง เพื่อป้องกันกิ่งไม้
งอบทรงสมเด็จ มีประวัติว่า เมื่อครั้งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงนำหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอสว.มาเยี่ยมราษฎรที่จังหวัดตราด ณ โรงเรียนบ้านเนินดินแดง อำเภอแหลมงอบ ในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524 กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านน้ำเชี่ยว ได้นำหมวกใบจากที่ได้ออกแบบทรงนี้ขึ้นทูลเกล้าฯถวาย และได้พระราชทานชื่อใบจากรูปทรงนี้ว่า ทรงสมเด็จ
งอบทรงกะโหลก รูปทรงเท่าศีรษะ มีกระบังยื่นมาด้านหน้า มีลักษณะคล้ายหมวกภาคสนามของทหาร
จังหวัดตราดเป็นแหล่งที่ผลิตหมวกใบจากหรือคนส่วนใหญ่เรียกว่า งอบ ที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่งของประเทศ ซึ่งมีความแตกต่างจากงอบทางภาคกลางที่ทำมาจากใบลาน จนทำให้กลายเป็นสัญลักษณ์และที่มาของ อำเภอแหลมงอบ
........................................
1 ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่ม 19 จังหวัดตราด, 2556, 109