กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑ์อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา 16

พิพิธภัณฑ์อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา 16

05 มิถุนายน 2562

ชื่นชอบ 707

15,042 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สร้างแล้วเสร็จเมื่อ  พ.ศ.2544 หรือ 28 ปีภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา เริ่มจากในปี 2517 ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) และรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เห็นพ้องต้องกันว่า เหตุการณ์วันที่ 14 ตุลาคม 2516  เป็นเหตุการณ์บ้านเมือง  ไม่มีใครคนใดคนหนึ่งเป็น เจ้าของ” เหตุการณ์นั้น หากเป็นเรื่องของส่วนรวม ดังนั้น การสร้างอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา (เดิมใช้ชื่อว่า อนุสาวรีย์วีรชน 14 ตุลา)  จึงควรเป็นเรื่องของรัฐร่วมกับประชาชน และสถานที่ตั้งของอนุสรณ์สถานก็ควรจะอยู่ในบริเวณถนนราชดำเนินอันเป็นสถานที่เกิดเหตุการณ์ 14-16 ตุลาคม 2516 นอกจากนี้ ศนท. ก็ยังมีแนวคิดว่า ไม่ต้องการสร้างแต่อนุสาวรีย์เพียงเพื่อรำลึกเหตุการณ์ในอดีต แต่ต้องการสร้างอาคารอนุสรณ์สถานให้มีประโยชน์ใช้สอยด้วย

 

สำหรับแบบอนุสาวรีย์ฯ ศนท. ได้จัดให้มีการประกวดแบบ ปรากฏว่านายเทอดเกียรติ ศักดิ์คำดวง เป็นผู้ชนะการประกวดในปี 2518  โดยในขณะนั้นใช้ชื่อว่า อนุสาวรีย์วีรชน 14 ตุลา”  และได้มีการจัดพิธีวางศิลาฤกษ์ที่บริเวณสี่แยกคอกวัว  เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2518 โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสังฆปรินายก  เป็นประธานในพิธี ซึ่ง ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช  นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นก็เข้าร่วมพิธีด้วย

 

คณะกรรมการอำนวยการสร้างอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ภายใต้สังกัดมูลนิธิ 14 ตุลา ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจาก กทม.  ญาติวีรชน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง  โดยมีศาสตราจารย์นายแพทย์เสม  พริ้งพวงแก้ว  เป็นประธาน ได้มอบหมายให้ผู้ชนะการประกวดแบบอนุสาวรีย์สำหรับวีรชน 14 ตุลา เมื่อปี 2518 (นายเทอดเกียรติ ศักดิ์คำดวง) เป็นผู้พัฒนาแบบเดิมให้เหมาะกับยุคสมัย ตามแนวคิด 2 ประการ ได้แก่

1) เคารพความจริงของประวัติศาสตร์

2) ให้ประชาชนส่วนต่าง ๆ เช่น เด็ก ผู้หญิง ศิลปิน กวี ชาวบ้าน มีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง และให้มีความหมายกับสาธารณชนที่จะเป็นบทเรียน เป็นเครื่องจูงใจให้คนไทยมุ่งแก้ปัญหาและต่อสู้เพื่อสิ่งดีงามให้กับสังคมไทย

 

จากแนวคิดดังกล่าว  สถาปนิกได้นำไปพัฒนาแบบอนุสรณ์สถานฯ ให้เป็นอนุสรณ์สถานที่เน้นความสงบนิ่ง โล่งกว้าง และเรียบง่าย เพื่อรำลึกและคารวะต่อวีรชน มีประติมากรรมรำลึกอยู่ใจกลาง (ภายหลังจึงเรียกว่า สถูปวีรชน”) อาคารประกอบด้วยสวนหย่อม ลานกิจกรรมสำหรับการอภิปราย ฟังเพลง และการแสดงกลางแจ้ง มีส่วนที่เป็นห้องประชุม ห้องสมุด (ภายหลังเรียกว่า ห้องอ่านหนังสือ) และพิพิธภัณฑ์แสดงประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย

 

สำหรับประติมากรรมรำลึกหรือสถูปวีรชนนั้น ประกอบด้วยฐานทรงสี่เหลี่ยมสูง 5 เมตร ช่วงกลางปลายสอบเข้ายาว 7 เมตร และยอดแหลมทรงสถูปสีทองสูง 2 เมตร รวมความสูงทั้งสิ้น 14 เมตร

 

ยอดสถูปเป็นรูปทรงสากลที่แสดงถึงจิตวิญญาณสูงส่งของมวลมนุษย์ ส่วนปลายยอดสถูปมีรอยหยักคล้ายสร้างไม่เสร็จ เพื่อสื่อความหมายว่าภารกิจการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยยังไม่สิ้นสุด ยอดปลายสถูปทำด้วยวัสดุโปร่งแสงเพื่อให้เห็นแสงไฟที่ส่องออกมาจากภายในตัวสถูป แฝงนัยถึงไฟแห่งประชาธิปไตยที่เป็นอมตะ

 

ฐานสถูปทั้งสี่ด้านบุด้วยกระเบื้องดินเผาที่แข็งแกร่ง สลักรายชื่อวีรชน 14 ตุลา และรายล้อมด้วยแผ่นอิฐสลักบทกวีที่เกี่ยวเนื่องกับสิทธิเสรีภาพ ความเสียสละ เด็กและผู้หญิง กรรมกรและชาวนา นอกจากนั้นยังจัดทำแผ่นอิฐแกะลายจากแบบภาพถ่ายหรือภาพศิลปะจากการสร้างสรรค์ของศิลปิน เพื่อสื่อถึงการเติบโตงอกงามของสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตย

บริหารจัดการ

มูลนิธิ/มูลนิธิไม่แสวงหาผลกำไร

ประเภทพิพิธภัณฑ์

ชีวประวัติ, ประวัติศาสตร์ และ โบราณคดี

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

สำนักงานมูลนิธิ 14 ตุลา เลขที่ 14/16 ถนนราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
โทรศัพท์ : 02-622-1014-5
โทรสาร : 02-622-1016
เว็บไซต์ : http://www.14tula.com/
อีเมล : oct14_f@hotmail.com

วันและเวลาทำการ

 

**เฉพาะอาคารและนิทรรศการเปิดบริการให้เยี่ยมชมฟรี ทุกวัน เวลา 09.00-19.00 น.

(นิทรรศการศิลปะคัทเอ้าท์การเมืองและนิทรรศการภาพถ่ายเหตุการณ์ 14 ตุลา จัดแสดงชั้นล่างสามารถติดต่อรปภ.)

 

**เฉพาะส่วนสำนักงานมูลนิธิ 14 ตุลา เปิด จันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00-17.00 น.

หยุด ส.-อา. และหยุดตามวันหยุดราชการ

 

 

ค่าเข้าชม

ไม่เสียค่าเข้าชม

การเดินทาง

รถโดยสารประจำทางสาย 2  15  44  47  59  68  70  79  157  159  169  171  183  201  203  509  511  512  516   ปอ.พ 10,   ปอ.พ.15

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

9

แบ่งปัน

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง