แกลเลอรี
ข้อมูลพิพิธภัณฑ์
โรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคารได้รับงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดให้จัดสร้างเตาเผา โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครและมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้บริจาคเครื่องมือการผลิต และเป็นแหล่งให้ความรู้ โดยมีบุคลากรดูแลคือ นายพิทยา จารุวงษ์เสถียร ครู คศ.3
บริหารจัดการ
ประเภทพิพิธภัณฑ์
วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ
ความเป็นมา
ในอดีตอำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ เคยเป็นแหล่งอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผาที่ใช้กันแพร่หลายในท้องถิ่น จนผลิตได้ทั้งปริมาณและคุณภาพส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ดังปรากฏหลักฐาน คือ การพบเตาเครื่องเคลือบดินเผากระจายอยู่ในแทบทุกอำเภอในจังหวัดบุรีรัมย์ และพบมากที่สุดมากกว่า 100 เตาคือ พบที่อำเภอบ้านกรวด เมื่อปี 2519 กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดค้นแหล่งเตาเผาในอำเภอบ้านกรวดเป็นครั้งแรก พบว่า มีเครื่องเคลือบดินเผาหลายรูปแบบที่ช่างได้แสดงความเป็นตัวของตัวเอง จัดเป็นเอกลักษณ์ของเครื่องเคลือบดินเผาที่มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นไม่แพ้ที่ใด
เครื่องเคลือบดินเผาโบราณที่บ้านกรวด เป็นอารยธรรมตั้งแต่สมัยขอมที่มีอายุมากกว่าพันปี ในปี พ.ศ. 2524 นางสุวรรณา บาลโสง และคณะ ร่วมกับชุมชน เริ่มทำการสำรวจและทำการรวบรวมเครื่องเคลือบดินเผาที่พบได้มากในเขตพื้นที่อย่างจริงจัง
หลังจากการค้นคว้า และคำนวณอายุของกรมศิลปากร ทำให้ชุมชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของวัตถุโบราณ ประเภทเครื่องเคลือบซึ่งเป็นประโยชน์ยิ่งต่อการศึกษาอารยธรรมของชาติ จนกระทั่งวันที่ 30 กรกฎาคม 2530 สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จึงได้จัดตั้งโรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคาร เป็น “ศูนย์วัฒนธรรมของอำเภอบ้านกรวด” ต่อมาได้จัดตั้งเป็นศูนย์แหล่งเรียนรู้ “พิพิธภัณฑ์อำเภอบ้านกรวด” เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2550
พิพิธภัณฑ์อำเภอบ้านกรวด มีจุดมุ่งหมายเพื่อสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมเครื่องเคลือบดินเผาพันปีของอำเภอบ้านกรวดสืบต่อไป และปี 2558 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ในการจัดกิจกรรมฝึกอบรมการปั้นเครื่องเคลือบดินเผาภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้กับนักเรียนและชุมชน ส่งเสริมการท่องเที่ยวเส้นทางวัฒนธรรมของอำเภอบ้านกรวด และจังหวัดบุรีรัมย์ โดยแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่ แหล่งหินตัด แหล่งเตาเผาโบราณ ชมทิวทัศน์ช่องโอบก ปราสาทต่าง ๆ แหล่งโบราณวัตถุยุคก่อนประวัติศาสตร์วัดป่าพระสบาย เขื่อนเมฆา ผึ้งร้อยรังบึงเจริญ เป็นต้น
แผนที่
ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ
โทรศัพท์ : 044679098
โทรสาร : 044679479
เว็บไซต์ : http://bv.ac.th/new/
อีเมล : bv.ac.th@gmail.com
วันและเวลาทำการ
วันจันทร์ - วันศุกร์
เวลา 08.00 -16.00 น.
ค่าเข้าชม
ไม่มี
การเดินทาง
รถยนต์ รถโดยสาร
เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป
เนื้อหาสำหรับเด็ก
รับบัตรเครดิต
รับจองล่วงหน้า
รับ
สิ่งอำนวยความสะดวก
มี