กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑ์ศูนย์การทหารปืนใหญ่

พิพิธภัณฑ์ศูนย์การทหารปืนใหญ่

28 มิถุนายน 2562

ชื่นชอบ 495

9,271 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

ศูนย์การทหารปืนใหญ่ ในอดีตเป็นหน่วยทหารที่พัฒนาจากสนามยิงปืนโคกกระเทียม เป็นกรมจเรทหารปืนใหญ่ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2460 และ วันที่ 8 เมษายน 2495 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "ค่ายพหลโยธิน" เพื่อเป็นอนุสรณ์ความดีของพลเอกพหลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) ซึ่งได้รับยกย่องให้เป็น เชษฐบุรุษของทหารปืนใหญ่ประเทศไทย และในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2497 ได้พัฒนาจากกรมจเรทหารปืนใหญ่ เป็น "ศูนย์การทหารปืนใหญ่"

 

ศูนย์การทหารปืนใหญ่ มีแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ทั้งด้านการทหาร การปกครองอื่นๆ อีกมากมาย ต่อมาได้จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ทหารตั้งแต่ ปี พ.ศ.2501 คือ พิพิธภัณฑ์ทหารศูนย์การทหารปืนใหญ่ อยู่ในความรับผิดชอบของกองวิทยาการศูนย์การทหารปืนใหญ่ พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ภายในตึกกองบัญชาการบนเขาน้ำโจน(ตึกชาโต้) เป็นสถาปัตยกรรมแบบฝรั่งเศส แบ่งห้องเป็นสัดส่วน ด้วยรูปทรงที่ดูหนักแน่นและการใช้วัสดุก่อสร้างธรรมชาติ เช่น ก้อนหินก้อนใหญ่มาก่อเป็นผนัง ทำให้อาคารมีลักษณะเด่นที่แปลกไม่เหมือนใคร และเหมือนปราสาทฝรั่งโบราณ จึงเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า ตึกชาโต้หรือตึกปราสาท 

 

ตึกนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2487 ในสมัย พล.ต.อุทัย วงศ์วีรเดช ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกปืนใหญ่กรมเสนาธิการทหารบก จังหวัดลพบุรี ตามความดำริของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี จอมพล ป.พิบูลสงคราม ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทหารบก

 

วัตถุประสงค์ในการก่อสร้างอาคาร คือ เพื่อใช้เป็นที่ตรวจการณ์ สำหรับสอนผู้ตรวจการณ์ให้กับหลักสูตรต่างๆ ที่เข้ามาศึกษาในโรงเรียนทหารปืนใหญ่ เป็นตึกรับรองผู้บังคับบัญชาชั้นสูง และแขกผู้มีเกียรติชาวต่างประเทศ ดังนั้น อาคารจึงประดับสัญลักษณ์ของจอมพล ป.พิบูลสงคราม คือรูปไก่และคฑาไขว้ ภายในอาคาร ชั้นล่าง ประกอบด้วย ห้องรับแขกและห้องยุทธการ ส่วนชั้นบนเป็นห้องทำงานของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ห้องเรียน ห้องบรรยาย และห้องพักผ่อน รวมทั้งมีหลุมหลบภัยใต้ดินที่มีอุโมงค์สำหรับหลบหนีไปยังเชิงเขาน้ำโจนได้

 

นอกจากนี้ภายในศูนย์การทหารปืนใหญ่ยังมีพิพิธภัณฑ์อื่นๆ ได้แก่

พิพิธภัณฑ์ศูนย์การทหารปืนใหญ่

พิพิธภัณฑ์ ฯพณฯ พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา 

พิพิธภัณฑ์ ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม

พิพิธภัณฑ์อาวุธทหารปืนใหญ่

 

และมีสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหลายแห่ง ฯลฯ

บริหารจัดการ

หน่วยงานราชการ

ประเภทพิพิธภัณฑ์

การทหาร และ สงคราม

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

ปืนใหญ่โบราณ ปืนใหญ่มหาชัย ปืนใหญ่มหาฤกษ์ ปืนใหญ่โบราณเนื้อทองเหลือง ปืนใหญ่ภูเขาเบอร์ 51 ฯลฯ กล้องส่องทางไกลซึ่งเป็นเครื่องมืออำนวยการยิงปืนใหญ่เพราะเวลายิงปืนใหญ่จะต้องตั้งค่าคำนวณหาระยะที่แน่นอน กล้องส่องทางไกลต่าง ๆ เช่น กล้องพาโนรามา กล้องทำแผนที่ กล้องกองร้อย กล้องกรรไกร กล้องวัดระยะ กล้องแม่ทัพ เป็นต้น

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

ศูนย์การทหารปืนใหญ่ ค่ายพหลโยธิน หมู่ที่่ 7 ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี 15160
โทรศัพท์ : 0-3648-6433-4 ต่อ 39039, 39048

วันและเวลาทำการ

ทุกวัน เวลา 09.00 - 18.00 น.

หากเป็นวันหยุดราชการหรือวันนักขัตฤกษ์ กรุณาติดต่อล่วงหน้าในวันและเวลาราชการ

ค่าเข้าชม

ผู้ใหญ่ 10 บาท นักเรียน 5 บาท ชาวต่างชาติ 30 บาท

การเดินทาง

1.โดยรถยนต์ จากกรุงเทพฯ ไปตามถนนพหลโยธิน เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านจังหวัดสระบุรี อำเภอพระพุทธบาท เข้าสู่ จังหวัดลพบุรี ระยะทางประมาณ 153 กิโลเมตร 

2.โดยรถประจำทาง มีรถโดยสารธรรมดาและปรับอากาศ สายกรุงเทพฯ-ลพบุรี ออกจากสถานีขนส่งจตุจักร(หมอชิต 2) ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง

3.โดยรถไฟ มีบริการรถไฟออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพ(หัวลำโพง) ไปยังจังหวัดลพบุรี ทุกวัน 

4.รถตู้ มีรถตู้สายกรุงเทพฯ-ลพบุรี ออกจากกรุงเทพฯ ทุกวัน มี 2 คิว คือ
- อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ หน้าโรงพยาบาลราชวิถี ปลายทางหน้าสถานีรถไฟลพบุรี

- อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ บริเวณใต้ทางด่วน ปลายทางพระปรางค์สามยอด

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะจดหมายขออนุญาต/ โทรศัพท์แจ้งการนัดหมายก่อนล่วงหน้า

ข้อมูลสำหรับผู้พิการ

-

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีลานจอดรถ

6

แบ่งปัน

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง