กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

30 มิถุนายน 2566

ชื่นชอบ 826

116,407 ผู้เข้าชม

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา  ตั้งอยู่ภายในเกาะเมืองอยุธยา ซึ่งเคยเป็นอดีตราชธานีของชาติไทยที่มีอายุกว่า 417 ปี  ในช่วงระยะเวลาที่ยาวนาน กรุงศรีอยุธยามีความเจริญก้าวหน้าทางด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการปกครอง กฎหมาย การศาล ระบบสังคม ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม ประณีตศิลป์ ภาษาวรรณกรรม นาฏดุริยางค์ศิลป์ และศิลปะวิทยาการทุกแขนงที่คนไทยในอาณาจักรอยุธยาสั่งสมไว้นั้น ปรากฏหลักฐานทางโบราณสถาน  โบราณวัตถุ  อันทรงคุณค่าและยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

 

เมื่อปี พ.ศ.2525 กรมศิลปากร  ได้ดำเนินการอนุรักษ์โบราณสถานเมืองพระนครศรีอยุธยาภายใต้ชื่อ "โครงการอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา" และต่อมาในปี พ.ศ.2534 อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม พร้อมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) 

 

ภายในอุทยาน ประกอบด้วย โบราณสถานเท่าที่สำรวจพบแล้ว ทั้งภายในเมืองและนอกกำแพงเมือง จำนวนมากกว่า 425 แห่ง โบราณสถานที่สำคัญ  อาทิ

 

พระราชวังโบราณหรือพระราชวังหลวง เป็นที่อยู่ของพระมหากษัตริย์และเป็นศูนย์กลางด้านการเมืองและการปกครองในเวลาเดียวกัน พระเจ้าอู่ทอง ทรงโปรดให้สร้างพระราชวังขึ้นในบริเวณที่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งวัดพระศรีสรรเพชญ์ ริมแม่น้ำลพบุรี ปัจจุบันเหลือแต่เพียงฐานรากของพระที่นั่งองค์ต่างๆ เนื่องจากถูกเผาทำลายเมื่อครั้งเสียกรุง

 

วัดพระศรีสรรเพชญ์ เป็นวัดที่สำคัญที่สุดของกรุงศรีอยุธยา เดิมเป็นพระราชวังที่ประทับซึ่งสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสร้างขึ้น ต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โปรดให้ย้ายพระราชวังไปสร้างใหม่ทางด้านริมแม่น้ำลพบุรี และอุทิศพระราชวังให้เป็นวัดสำหรับประกอบพระราชพิธีสำคัญ และเป็นที่เสด็จออกบำเพ็ญพระราชกุศล  

 

วัดราชบูรณะ เป็นวัดที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) โปรดให้สถาปนาขึ้นในปี พ.ศ.1967 ในบริเวณที่ถวายพระเพลิงศพเจ้าอ้ายพระยา เจ้ายี่พระยา พระเชษฐาทั้งสองของพระองค์ ซึ่งสิ้นพระชนม์ลงเนื่องจากการรบแย่งชิงราชสมบัติ

 

วิหารพระมงคลบพิตร  พระมงคลบพิตร เป็นพระพุทธรูปสำริดองค์ใหญ่ที่สุดองค์หนึ่งในประเทศไทย สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น เมื่อ พ.ศ.2499 จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้บูรณะวิหาร พระมงคลบพิตรใหม่ทั้งหมดดังที่ปรากฏในปัจจุบัน

 

นอกจากนี้ ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยายังมีโบราณสถานที่สำคัญแห่งอื่น ๆ อีก เช่น วัดมหาธาตุ วัดพระราม วัดไชยวัฒนาราม วัดใหญ่ชัยมงคล วัดพนัญเชิง วัดธรรมิกราช เป็นต้น

บริหารจัดการ

กรมศิลปากร

ประเภทพิพิธภัณฑ์

ชีวประวัติ, ประวัติศาสตร์ และ โบราณคดี

พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000
โทรศัพท์ : 035-242 286
โทรสาร : 035-242 284
เว็บไซต์ : http://www.finearts.go.th/ayutthayahistoricalpark
อีเมล : ayh_hispark@hotmail.com

วันและเวลาทำการ

เปิดบริการทุกวัน

เวลา 08.00 - 18.00 น.

ค่าเข้าชม

  • ชาวไทย

- ค่าเข้าชมโบราณสถานแห่งละ   10 บาท

- บัตรรวม   40 บาท

 

  • ชาวต่างชาติ

- ค่าเข้าชมโบราณสถานแห่งละ   50 บาท

- บัตรรวม   220 บาท

 

(วัดพระศรีสรรเพชญ์ วัมหาธาตุ วัดราชบูรณะ วัดพระราม วัดไชยวัฒนาราม วัดมเหยงคณ์)

การเดินทาง

จากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้หลายเส้นทาง ดังนี้

 

  • เส้นทางแรก ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ผ่านประตูน้ำพระอินทร์ แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 309 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

  • เส้นทางที่สอง  ใช้ทางหลวงหมายเลข 304 (ถนนแจ้งวัฒนะ) หรือทางหลวงหมายเลข 302 (ถนนงามวงศ์วาน) เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 306 (ถนนติวานนท์) ข้ามสะพานนนทุรี หรือสะพานนวลฉวี ไปยังจังหวัดปทุมธานี ต่อด้วยเส้นทางปทุมธานี-สามโคก-เสนา (ทางหลวงหมายเลข 3111) แล้วแยกขวาที่อำเภอเสนา เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 3267 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

  • เส้นทางที่สาม ใช้ทางหลวงหมายเลข 306 เส้นทางกรุงเทพฯ-นนทบุรี-ปทุมธานี ถึงทางแยกสะพานปทุมธานี เลี้ยวเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 347 แล้วไปแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 3309 ผ่านศูนย์ศิลปาชีพ บางไทร อำเภอบางปะอิน เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

การเข้าชมเป็นหมู่คณะสามารถติดต่อขอวิทยากรล่วงหน้าได้ที่สำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

สิ่งอำนวยความสะดวก

สามารถจอดรถบริเวณลานจอดรถโดยรอบโบราณสถาน

41

แบ่งปัน

กิจกรรม

30 พ.ค. 2567

03 มิ.ย. 2567

30 พฤษภาคม 2567
เทศกาลโขนกรุงศรี ปีที่ ๕ Ayutthaya KHON Festival 2024 ปรากฏการณ์สุดยิ่งใหญ่ของการแสดงโขนในแผ่นดินไทย ชมการแสดงโขนตลอด 5 วัน และการแสดงจากสถาบันการศึกษาในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา   วันที่ ๓๐ พฤษภาคม - ๓ มิถุนายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๖.๓๐-๒๒.๐๐ น. ณ ลานหลังวัดมหาธาตุ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ชมฟรีทุกการแสดง 

08 มี.ค. 2567

10 มี.ค. 2567

08 มีนาคม 2567
การแสดงโขน เรื่อง รามเกียรติ์ ชุด “สัจจะพาลี”  วันที่ 9 - 10 มีนาคม 2567 ณ วัดไชยวัฒนาราม 17.30 น. การบรรเลงดนตรีสากล โดย วง Orchestra สำนักการสังคีต กรมศิลปากร 19.00 น. การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุด "สัจจะพาลี" โดย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร (ระยะเวลาการแสดง 2.30 ชม.)   *เนื่องจากที่นั่งภายในงานมีจำกัด ทุกท่านสามารถนำเก้าอี้สนามขนาดเล็ก  หรือเก้าอี้พกพาส่วนตัวขนาดเล็ก เข้ามารับชมการแสดงภายในพื้นที่ได้ อุทยานประวัติศาสตร์ ขอความร่วมมือทุกท่านแบ่งปันพื้นที่การรับชม  เพื่อให้เกิดความเรียบร้อยและทุกท่านสามารถรับชมอย่างทั่วถึง   สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา  เบอร์โทรศัพท์ 035-242-286 หรือ 035-242-285

20 ธ.ค. 2566

24 ธ.ค. 2566

20 ธันวาคม 2566
งาน “ยอยศยิ่งฟ้า อยุธยามรดกโลก”  ขอเชิญชวนออเจ้ามาร่วมเฉลิมฉลอง 32 ปีแห่งความภาคภูมิใจของคนไทยทุกคน  UNESCO ประกาศยกย่องอยุธยาเป็นเมืองมรดกโลกทางวัฒนธรรม  และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ Soft Power 15 - 24 ธันวาคม 2566 ณ อุทยานประวัติศาสคร์พระนครศรีอยุธยา   แต่งองค์ทรงสไป ชมไฟล้านดวงในบรรยากาศย้อนยุค ถ่ายภาพกับจุด Check-in ทั่วงาน แสดง แสง สีเสียง เรื่อง "อโยธยายศเกริกฟ้า วีรกษัตรา ศิลป์เรืองรุจีวิเทศไมตรี ศรีอโยธยา การแสดงศิลปวัฒนธรรมในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ โขน ลิเก ลำตัด เพลงพื้นบ้าน ดนตรีร่วมสมัย การสาธิตและจำหน่ายอาหารพื้นถิ่นของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลานกิจกรรมของเล่นโบราณ กิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย การจำหน่ายอาหารและสินค้าทางวัฒนธรรมอีกมากมาย   ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Facebook:  https://www.facebook.com/Ayutthayaworldheritage?locale=th_TH  

10 พ.ย. 2566

12 พ.ย. 2566

10 พฤศจิกายน 2566
กิจกรรมประจำสัปดาห์ “ราตรีนี้...ที่วัดไชยฯ” วันที่ 10-12 พฤศจิกายน 2566 เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป ณ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา Ayutthaya Historical Park   10 พ.ย 66 : การแสดงรำ และสาธิตหัตถกรรมพื้นบ้าน ชุมชนเวียงวัดคีรีวัน จ.นครนายก 11 พ.ย 66 : การแสดงดนตรีไทย โรงเรียนวัดดสุคนธาราม อ.บางซ้าย 12 พ.ย 66 : - การแสดงวงปี่พาทย์มอญ โรงเรียนวัดโพธิ์(แจ่มวิทยาคาร) อ.เสนา - ราตรีนี้...ที่วัดไชยฯ PODCAST EP.3 ว่าด้วยเรื่องพระปรางค์วัดไชยวัฒนาราม    สอบถามข้อมูล โทร. 035 242 286

02 พ.ย. 2566

31 ธ.ค. 2566

02 พฤศจิกายน 2566
กรมศิลปากร เชิญร่วมประกวดผลงานภาพถ่าย ภายใต้หัวข้อ “แต่งไทย ชมวัดไชยฯ ยามราตรี”   ชิงเงินรางวัลรวม 40,000 บาท รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 20,000 บาท จำนวน 1 รางวัล รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เงินรางวัล 10,000 บาท จำนวน 1 รางวัล รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัล 5,000 บาท จำนวน 1 รางวัล รางวัลพิเศษสำหรับภาพถ่ายวัยเกษียณสำราญ (นายแบบ/นางแบบ อายุมากกว่า 65 ปี ) เงินรางวัล 5,000 บาท จำนวน 1 รางวัล   เปิดรับภาพตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน - 31 ธันวาคม 2566 เวลา 23.59 น. หัวข้อการประกวดภาพถ่าย ภาพถ่ายบุคคลแต่งกายชุดไทยยุคต่างๆ ภายในวัดไชยวัฒนารามในเวลากลางคืน ส่งภาพถ่ายได้ที่ e-mail contestayhispark@gmail.com โปรดศึกษากติกาและรายละเอียดฉบับเต็มที่ https://drive.google.com/.../1AaO9fTVrdwx4SOgGkwy.../view...   สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ เพจ FB อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา Email : ayh_hispark@hotmail.com โทรศัพท์ 035-242 286
pav

/

next