แกลเลอรี
ข้อมูลพิพิธภัณฑ์
ในปี พ.ศ.2548 สำนักศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ได้ยกสถานะเป็น สถาบันอยุธยาศึกษา ทำหน้าที่ทางวิชาการในด้านการอนุรักษ์ ส่งเสริมเผยแพร่ วิจัย ศิลปวัฒนธรรม โดยจัดตั้งขึ้นตามโครงสร้างของมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.2547 ที่ได้กำหนดไว้ในมาตรา 7 คือ ให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่เสริมสร้าง พลังปัญญา ของแผ่นดินฟื้นฟูพลังการเรียนรู้ เชิดชูภูมิปัญญาของท้องถิ่น สร้างสรรค์ศิลปวิทยา เพื่อความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืนของปวงชน มีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลแล
ดังนั้น สถาบันอยุธยาศึกษา จึงได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรือนไทย โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้โดย ชั้นบนของเรือนไทยเป็นสถานที่นำเสนอนิทรรศการเกี่ยวกับ “วัฒนธรรมอยุธยา” ทางด้านต่างๆและเป็นสถานที่จัดงานพิธีการต่างๆ ส่วนชั้นล่างจัดเป็นสำนักงานและโถงนิทรรศการหมุนเวียน โดยมีสักษณะอาคารแบบเรือนหมู่ทรงไทยภาคกลาง ตั้งอยู่บริเวณถนนปรีดีพนมยงค์ ระหว่างจวนผู้ว่าราชการจังหวัดและศุนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา
นิทรรศการวัฒนธรรมอยุธยา ประกอบด้วย
- เรือนกรุงศรีอยุธยาเมืองมรดกโลก
จัดแสดงให้ความรู้เกี่ยวกับอยุธยา เมืองมรดกโลก ประกอบด้วย โมเดล จำลองกายภาพเกาะเมืองอยุธยา : เวนิสแห่งโลกตะวันออก เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับอาณาจักรอยุธยา แบบจำลองแสดงความสำคัญของสถานที่ตั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาในอดีต รวมทั้งข้อมูลการขึ้นทะเบียนเป็นเมืองมรดกโลกและการเป็นแม่แบบของกรุงรัตนโกสินทร์
- เรือนโขนที่สุดแห่งมหรสพไทย
เรือนโขน จัดแสดงความรู้เกี่ยวกับการแสดงโขนที่สุดของมหรสพไทย โขนเป็นมหรสพชั้นสูง ซึ่งเป็นเครื่องราชูปโภคของพระมหากษัตริย์ไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาและจัดแสดงหัวโขนที่เป็นตัวเอก และเป็นตัวเดินเรื่องในรามเกียรติ์ จัดแสดงความรู้เรื่องพัตราภรณ์โขน รวมทั้งกรรมวิธี เครื่องมือที่ใช้ในการทำหัวโขน และนำเสนอสื่อเกี่ยวกับการแสดงโขนประเภทต่างๆ
- เรือนมรดกของแผ่นดิน
มรดกศิลปกรรมในสมัยอยุธยา ประกอบด้วย จิตรกรรม ประติมากรรม การดนตรี นาฏศิลป์และมหรสพพื้นบ้านต่างๆ รวมทั้งวรรณกรรม ที่ได้รับการยกย่อง จัดแสดงในรูปแบบสื่อผสมโดยมีหุ่นจำลองกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค จัดแสดงสมุดข่อยขาว สมุดข่อยดำและใบลาน ซึ่งเป็นเอกสารโบราณที่สำคัญยิ่ง
- โถงนิทรรศการหมุนเวียน
จัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียนที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมอยุธยา และวาระสำคัญต่างๆ ตามธรรมเนียมและประเพณีไทย
- ลานวัฒนธรรม
เพื่อจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม มหรสพทางศิลปะนาฏดุริยางค์ไทย การจัดนิทรรศการและงานวิชาการ เพื่อการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ
บริหารจัดการ
ประเภทพิพิธภัณฑ์
วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ
- เรือนไทยหมู่ภาคกลาง
- นิทรรศการเรือไทยภาคกลาง (เรือจำลอง)
แผนที่
ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ
โทรศัพท์ : 035-241 407
โทรสาร : 035-241 407
เว็บไซต์ : http://asi.aru.ac.th
อีเมล : ayutthayastudies@gmail.com
วันและเวลาทำการ
วันจันทร์-วันอาทิตย์ (เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) เวลา 08.30-16.30 น.
ค่าเข้าชม
ไม่เสียค่าเข้าชม
การเดินทาง
- โดยรถยนต์ จากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้หลายเส้นทาง ดังนี้
- ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ผ่านประตูน้ำพระอินทร์ แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 309 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- ใช้ทางหลวงหมายเลข 304 (ถนนแจ้งวัฒนะ) หรือ ทางหลวงหมายเลข 302 (ถนนงามวงศ์วาน) เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 306 (ถนนติวานนท์) แล้วข้ามสะพานนนทบุรีหรือสะพานนวลฉวี ไปยังจังหวัดปทุมธานี-สามโคก-เสนา (ทางหลวงหมายเลข 3111) เลี้ยวแยกขวาที่อำเภอเสนา เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 3263 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-นนทบุรี-ปทุมธานี ทางหลวงหมายเลข 306 ถึงทางแยกสะพานปทุมธานี เลี้ยวเข้าสู่ ทางหลวงหมายเลข 347 แล้วไปแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 3309 ผ่านศูนย์ศิลปาชีพบางไทร อำเภอบางปะอิน เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- โดยรถไฟ สามารถใช้บริการรถไฟที่มีปลายทางสู่ภาคเหนือ และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยขบวนรถไฟจะผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในเขตอำเภอบางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยา และอำเภอภาชี
- รถโดยสารประจำทาง มีบริการรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยาทุกวัน วันละหลายเที่ยว จากสถานีขนส่งหมอชิต ถนนกำแพงเพชร 2
- รถตู้ จากสถานีสถานีขนส่งหมอชิตใหม่ และฟิวเจอร์ปาร์ค รังสิต มีรถออกทุกชั่วโมง
เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป
เนื้อหาสำหรับเด็ก
รับบัตรเครดิต
รับจองล่วงหน้า
กรณีต้องการเข้าชมเป็นหมู่คณะ กรุณาติดต่อล่วงหน้า
สิ่งอำนวยความสะดวก
มีที่จอดรถด้านข้างและด้านหลังอาคาร รองรับได้ 20 คัน