กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   บ้านวงศ์บุรี

บ้านวงศ์บุรี

23 กันยายน 2562

ชื่นชอบ 656

11,855 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

คุ้ม เป็นคำที่ชาวบ้านใช้เรียกบ้านของเจ้านายที่มีอำนาจในการปกครอง หรือ เจ้านายในตำแหน่ง “เจ้าขัน 5 ใบ คือ เจ้าหลวงผู้ครองนนคร เจ้าอุปราชหอหน้า เจ้าราชบุตร เจ้าราชวงศ์ และเจ้าบุรีรัตน์”

 

คุ้มวงศ์บุรี เป็นคุ้มที่มีฐานะพิเศษ เนื่องด้วยเป็นที่พำนักของอดีตชายาของเจ้าหลวงฯ จึงสามารถขนานนามว่า “คุ้ม” ได้ โดยสร้างขึ้นตามดำริของแม่เจ้าบัวถา มหายศปัณญา ชายาองค์แรกของเจ้าหลวงพิริยะเทพวงศ์ เจ้าหลวงเมืองแพร่องค์สุดท้าย เพื่อเป็นของกำนัลในการเสกสมรสระหว่างเจ้าสุนันตา ผู้เป็นบุตรีพระยาบุรีรัตน์(น้องชาย) ที่รับมาเป็นบุตรีบุญธรรม กับ คุณหลวงพงษ์พิบูล(เจ้าพรหม วงศ์พระถาง) โดยทั้งสองได้ใช้เรือนหลังนี้เป็นเรือนหอในพิธีเสกสมรสด้วย

 

คุ้มวงศ์บุรี เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ.2440 แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2443 โดยนายช่างชาวจีน จากมณฑลกวางตุ้ง มาเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างและมีช่างพื้นเมืองเป้นผู้ช่วยจนเสร็จสมบูรณ์ เป็นเรือนไม้สักทองขนาดใหญ่ 2 ชั้น  ทรงไทยผสมยุโรป สีชมพูอ่อน ซึ่งเป็นสีดั้งเดิม ประดับตกแต่งด้วยลวดลายไม้ฉลุที่เรียกว่า “ขนมปังขิง” หรือ “Ginger Bread” ทั่วอาคาร เช่น หน้าจั่ว ชายน้ำ ช่องลม กรอบเช็ดหน้าเหนือประตูและหน้าต่าง ระเบียง และภายในอาคาร ซึ่งปรากฏเป็นลายพรรณพฤกษาและเครือเถาว์ ซึ่งเป็นพระราชนิยมมาตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ 5 ฐานรากของอาคารเป็นท่อนไม้ซุงขนาดใหญ่วางเรียงกัน ก่อนจะก่ออิฐเทปูนทับลงไป เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของอาคาร วัสดุหลักในการก่อสร้าง คือ ไม้สักทองคุณภาพดีที่สุด อาคารใช้เทคนิคการเข้าลิ้นสลักไม้ ไม่ตอกตะปูแต่เป็นการตอกลิ่มไม้แทน ซึ่งเป็นแอกลักษณ์ของเรือนเครื่องสับตามแบบงานช่างไทยโบราณแต่เดิม หลังคามุงด้วยไม่แป้นเกล็ด ระหว่างอาคารส่วนหน้าและส่วนหลังมีการเชื่อมต่อด้วย “ชาน” และมีการยกระดับของพื้นที่ขึ้นเรียกว่า “เติ๋น” ใช้เป็นส่วนนั่งเล่นพักผ่อนและรับประทานอาหาร

 

ปัจจุบันคุ้มวงศ์บุรี ได้เปิดเป็น “พิพิธภัณฑ์” จัดแสดงประวัติความเป็นมาของบ้าน  วิถีชีวิตของเจ้านายในอดีต  ผ่านข้าวของเครื่องใช้ที่ตกทอดมาในตระกูลที่ยังมีความสมบูรณ์และสวยงามอยู่

บริหารจัดการ

เอกชน

ประเภทพิพิธภัณฑ์

ชีวประวัติ, ประวัติศาสตร์ และ โบราณคดี

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

  • เอกสารโบราณที่หาดูได้ยาก ได้แก่ เอกสารการซื้อ-ขายทาสในสมัยรัชกาลที่ 5
  • เอกสารการขอทำสัมปทานป่าไม้ในอดีต
  • ตั๋ว , รูปพรรณช้างโค และสัญญาบัตรที่ได้รับโปรดเกล้าจากรัชกาลที่ 5

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

เลขที่ 50 ถนนคำลือ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ 54000
โทรศัพท์ : 081-883 0546
อีเมล : s.vongburi@hotmail.com

วันและเวลาทำการ

เปิดทุกวัน เวลา 09.00-17.00 น.

ค่าเข้าชม

  • เด็ก 10 บาท
  • ผู้ใหญ่ 30 บาท

 

การเดินทาง

  • โดยรถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1(พหลโยธิน) แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 32 ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท พิจิตร พิษณุโลก อุตรดิตถ์ และเข้าสู่ตัวจังหวัดแพร่ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7-8 ชั่วโมง
  • โดยรถประจำทาง มีรถโดยสารธรรมดาและปรับอากาศ สายกรุงเทพฯ-แพร่ ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ(หมอชิต 2) ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวัน วันละหลายเที่ยว
  • โดยรถไฟสายเหนือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ลงสถานีเด่นชัย แล้วต่อรถรับจ้างเข้าตัวจังหวัดประมาณ 24 กิโลเมตร
  • โดยเครื่องบิน มีสายการบินนกแอร์บริการ เส้นทางกรุงเทพฯ-แพร่ วันละ 2 เที่ยว 

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะจะต้องทำหนังสือก่อนขอเข้าเยี่ยมชม

สิ่งอำนวยความสะดวก

  • มีลานจอดรถ
  • มีพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม เช่น การรับประทานอาหารพื้นเมืองล้อมสะโตก , การจัดงานแต่งงานแบบล้านนา

17

แบ่งปัน

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง