กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางรัก

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางรัก

10 พฤษภาคม 2565

ชื่นชอบ 606

11,389 ผู้เข้าชม

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก หรือ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางรัก  ได้จัดตั้งขึ้นตามวัตถุประสงค์และความตั้งใจของอาจารย์วราพร สุรวดี ผู้เป็นเจ้าของ  ต่อมาได้ทำเรื่องยกบ้านให้เป็นสมบัติของกรุงเทพมหานคร หลังจากนั้นเขตบางรักจึงได้จัดทำบ้านดังกล่าวให้เป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น โดยรูปแบบการจัดแสดงบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสภาพวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบางกอกที่มีฐานะปานกลาง ในช่วงก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ.2480-2500) ผ่านข้าวของเครื่องใช้ที่นำมาแสดง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นของใช้ที่เจ้าของบ้านได้ใช้งานจริง

อาคารหลังที่ 1 ประกอบด้วย

          1.ห้องรับแขก จัดแสดงเปียโนคู่ใจจากคุณแม่ของอาจารย์วราพร ชุดรับแขก ตู้ใส่เครื่องแก้วเจียระไนแบบต่างๆ เช่น แก้วไวน์ แก้วมาตินี่ ขวดใส่ไวน์ จัดแสดงไว้อย่างสวยงาม

          2.ห้องอาหาร ภายในจัดแสดงโต๊ะรับประทานอาหาร 6-8 ที่นั่ง ที่สามารถยืดขยายให้ยาวได้ โดยแทรกแผ่นกลางที่มีสลักยึดติดด้วยกันแน่นหนา บนโต๊ะจัดแสดงพวงเครื่องปรุง จานใส่ของว่าง มีตู้จัดแสดงชุด Dinner set แบบฝรั่ง และภาชนะลายครามแบบจีน เครื่องเคลือบสีเขียวไข่การูปแบบต่างๆ จากทางตอนใต้ของอิรัก เป็นต้น

          3.ห้องหนังสือ หรือ ห้องเขียนหนังสือ ส่วนหนึ่งจะเป็นหนังสือของคุณหมอฟรานซิส ชาวอินเดีย สามีคุณสอาง สุรวดี เป็นตำราทางการแพทย์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับการรักษาโรคต่างๆ และหนังสือเรียนภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และหนังสืออ่านเล่น ติดกับห้องนี้ คือ ห้องน้ำและโถส้วมแบบโบราณ 

          4.โถงชั้นล่าง จัดแสดงเครื่องเล่นแผ่นเสียงขนาดใหญ่ของคุณหมอฟรานซิส รวมทั้งตู้มุกค์จากเมืองจีน ซึ่งเป็นลายคู่กันซ้ายขวา ตู้นอกใส่เครื่องถ้วยชาจีน ตู้ในแสดงเครื่องถมและเครื่องเงิน 

          5.ห้องนอนคุณยายอิน จัดแสดงเตียงไม้โบราณแบบฝรั่งมีเสามุ้ง โต๊ะเครื่องแป้งพร้อมตลับเครื่องแก้วสำหรับใส่เครื่องสำอาง และขวดน้ำหอมแบบต่างๆ ซึ่งมีอายุอยู่ในช่วงรัชกาลที่ 6 นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปบูชา สมัยอยุธยาตอนปลายและรัตนโกสินทร์

          6.ห้องแต่งตัวแบบยุโรป จัดแสดงห้องแต่งตัวที่จัดแต่งแบบยุโรป มีโต๊ะเครื่องแป้ง มีกระจกประดับทั้งสามด้านเป็นแบบศิลปะเดโด  อ่างล้างหน้า เครื่องใช้ของผู้ชายที่ใช้ในการโกนหนวด  และหุ่นพลาสเตอร์รูปคุณหมอฟรานซิส           

         7.ห้องนอนใหญ่ เป็นห้องนอนของพี่สาวอาจารย์วราพร จัดแสดงตู้เสื้อผ้าบานใหญ่ เข้าชุดกับโต๊ะแต่งตัว และเตียงขนาดใหญ่

 

อาคารหลังที่ 2 เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น สร้างจำลองขึ้นมาให้ใกล้เคียงกับหลังเดิม โดยรื้อบ้านที่ทุ่งมหาเมฆ มาจัดสร้าง โดยย่อส่วนลงตามพื้นที่ที่มีจำกัด ตกแต่งบ้านด้วยข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ของคุณหมอฟรานซิส คริสเตียน  

 

อาคารหลังที่ 3 ชั้นล่างจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ในบ้าน อาทิ ชุดตักบาตร เครื่องครัว เครื่องเขียน เครื่องมือช่าง เป็นต้น ชั้นบน จัดแสดงนิทรรศการภาพรวมของกรุงเทพมหานคร ลักษณะทางกายภาพ การดำเนินชีวิตของชาวกรุงตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ประวัติความเป็นมาของชื่อบางกอก และเขตบางรัก

 

อาคารหลังที่ 4 ตรงข้ามกับศาลาริมน้ำ ดัดแปลงเป็นสำนักงานห้องสมุด 

 

บริหารจัดการ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ประเภทพิพิธภัณฑ์

วิถีชิวิต, วัฒนธรรม, ประเพณี, ภูมิปัญญา และ ศาสนา

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

  • โถส้วมแบบโบราณ
  • ตู้ใส่เครื่องแก้วเจียระไนแบบต่างๆ
  • โต๊ะรับประทานอาหาร 6-8 ที่นั่ง ที่สามารถยืดขยายให้ยาวได้ 

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

เลขที่ 273 ซอยเจริญกรุง 43 ถนนเจริญกรุง แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์ : 02-233 7027 / 02-234 6741

วันและเวลาทำการ

เปิดให้บริการทุกวันอังคาร-วันอาทิตย์

เวลา 10.00-16.00 น.

ค่าเข้าชม

ไม่เสียค่าเข้าชม

การเดินทาง

รถโดยสารประจำทางสาย 1, 16, 35, 36, 45, 75, 93, 183

รถยนตร์ 

  • จอดรถใต้ทางด่วนภายในซอยเจริญกรุง 43 ค่าบริการชั่วโมงละ 20 บาท
  • หรือจอดที่ไปรษณีย์กลาง แล้วข้ามถนนเข้ามาในซอยเจริญกรุง 43

 

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

กรณีเข้าเยี่ยมชมเป็นหมู่คณะกรุณาประสานงานและแจ้งล่วงหน้า

6

แบ่งปัน

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง