แกลเลอรี
ข้อมูลพิพิธภัณฑ์
ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย เดิมเป็นอาคารโรงพิมพ์ธนบัตรแห่งแรกของประเทศไทย ที่จัดตั้งขึ้นมาด้วยความสามารถของคนไทย และยังเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความมุ่งมั่นด้านการพัฒนาวิทยาการของประเทศ ภายในโรงพิมพ์ธนบัตรมี ห้องมั่นคง เดิมเก็บรักษาธนบัตรของประเทศ ซึ่งเป็นเขตหวงห้ามเฉพาะ อาคารแห่งนี้จึงมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ มีอายุกว่า 50 ปี แต่โครงสร้างอาคารยังมีความแข็งแรงและความงดงามทางสถาปัตยกรรม ซึ่งมีความโดดเด่นที่หลังคาคอนกรีตทรงโค้ง ซึ่งเหลืออยู่เพียงแห่งเดียวในประเทศไทย
ศูนย์การเรียนรู้ฯ มีพื้นที่ 3 ส่วนหลัก ได้แก่
ห้องสมุดพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ใช้พื้นที่ 2 ชั้น แบ่งเป็น
- ห้องสมุดสำหรับ ค้นคว้าวิจัย และคลังข้อมูลด้านเศรษฐศาสตร์ การเงิน การธนาคาร โดยมีทั้งหนังสือ สื่อวีดีทัศน์ ฯลฯ พร้อมทั้งเชื่อมโยงกับห้องสมุดชั้นนำทั่วโลกกว่า 7,000 แห่ง
- พื้นที่สามารถรองรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย
- ห้องประชุม รองรับการทำงานศึกษาวิจัยแบบ co-working space
- ห้องฉายภาพยนตร์
- มุมนิทรรศการพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ผู้ก่อตั้ง ธปท. ซึ่งเป็นบันทึกประวัติศาสตร์การก่อตั้งธนาคารกลางภายใต้บริบทที่ท้าทายซึ่งยังมีความร่วมสมัย
พิพิธภัณฑ์ ธปท. ตั้งอยู่ในห้องมั่นคงของโรงพิมพ์ธนบัตร ปัจจุบันถูกเปลี่ยนเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและการเงินของประเทศ ครอบคลุมเรื่องราวเงินตราตั้งแต่ยุคก่อนรัฐไทยจนถึงปัจจุบัน แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของเงินตราและความเชื่อมโยงของบริบททางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ความเป็นอยู่ของผู้คน ตลอดจนความท้าทายในการดูแลเสถียรภาพการเงินของประเทศท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่ไม่เคยหยุดนิ่ง
ส่วนจัดนิทรรศการและกิจกรรมอื่นๆ เช่น
- นิทรรศการส่งเสริมความรู้ทางการเงิน ที่มุ่งส่งเสริมให้ประชาชนมีการวางแผนทางการเงินที่ดี เข้าใจความเสี่ยงและกลโกงทางการเงินใหม่ๆ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงิน
- ห้องเก็บรักษาเอกสารทางประวัติศาสตร์ต้นฉบับสำหรับนักวิชาการในการค้นคว้าวิจัย
- นิทรรศการหมุนเวียนอื่นๆ
- กิจกรรมกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ (edutainment) อาทิ กิจกรรมวันเด็ก การแข่งขันตอบคำถามหรือประกวดโครงการที่สร้างการเรียนรู้ การเสวนาโดยนักคิด นักเขียน และศิลปิน เป็นต้น
บริหารจัดการ
ประเภทพิพิธภัณฑ์
วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ
- นิทรรศการโรงพิมพ์ธนบัตร : จัดแสดงให้เห็นถึงการออกแบบธนบัตร เครื่องพิมพ์ธนบัตรรุ่นแรกจำนวน 3 เครื่อง ซึ่งต้องใช้ประกอบกันเพื่อพิมพ์ธนบัตร 1 ฉบับ ได้แก่ เครื่องพิมพ์สีพื้น เครื่องพิมพ์เส้นนูน และเครื่องพิมพ์เลขหมายลายเซ็น พร้อมทั้งวีดีทัศน์ แบบ switchable glass ที่เล่าเรื่องราวการก่อตั้งโรงพิมพ์ธนบัตรแห่งแรกของไทย เพื่อความภาคภูมิใจร่วมกัน
- นิทรรศการห้องเรื่องเล่า ธปท. : จัดแสดงวีดีทัศน์ภารกิจหลักของธนาคารแห่งประเทศไทยในการดูแลเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ โดยจัดแสดงภายใน “ห้องมั่นคง” ซึ่งเคยใช้เป็นที่เก็บธนบัตร และสิ่งพิมพ์มีค่าของธนาคาร เป็นหนึ่งในห้องที่มีมาตรการรักษาความปลอดภัยสูงสุดของประเทศ โดยภายในยังคงลักษณะเดิมของห้องเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นเสาหรือประตูเหล็กนิรภัย
- นิทรรศการเงินตรา : จัดแสดงในพื้นที่ 2 ชั้น เริ่มต้นตั้งแต่การจัดแสดงเหรียญลิเดียที่มีอายุ 2,600 ปี ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของเหรียญกษาปณ์ของโลก เรื่อยมาจนถึงเหรียญและเงินรูปแบบต่างๆ ในดินแดนสุวรรณภูมิ เช่น ทวารวดี ศรีวิชัย ล้านนา ล้านช้าง สุโขทัย อยุธยา กรุงธนบุรี จนถึงรัตนโกสินทร์ต้อนตัน(รัชกาลที่ 3)
- นิทรรศการรวบรวมธนบัตรไทยที่สมบูรณ์ที่สุด ตั้งแต่ธนบัตรแบบหนึ่งจนถึงแบบปัจจุบัน จัดแสดงควบคู่ไปกับเหรียญกษาปณ์หมุนเวียน รวมทั้งธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ที่จัดทำขึ้นในโอากาสพิเศษต่างๆ เช่น เหรียญทองคำและพันธบัตรทองคำ เป็นต้น
- นิทรรศการบทบาทหน้าที่ของ ธปท. : จัดแสดงภารกิจในการดำเนินนโยบายด้านต่างๆ ที่มีนัยยะต่อเศรษฐกิจและประชาชน ตลอดจนกรอบ กลไก และเครื่องมือในการทำนโยบาย ที่มุ่งเน้นสร้างความเข้าใจโดยมีสื่อการเรียนรู้ อาทิ เกมต่างๆ เพื่อให้ผู้เข้าชมสามารถทดลองเล่นได้ นอกจากนี้ ยังมีวีดิทัศน์สัมภาษณ์อดีตผู้ว่าการและบันทึกเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในสมัยต่างๆ ของประเทศให้เรียนรู้และศึกษาอีกด้วย
- นิทรรศการความรู้ทางการเงิน (BOT MONEY TERMINAL) : จัดทำขึ้นภายใต้แนวคิด "สร้างสรรค์ มีสาระ สนุก และเข้าใจง่าย" โดยเปรียบเทียบการเงินเหมือนการเดินทางด้วยเครื่องบิน ที่จะต้องมีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน และกำหนดระยะเวลาที่ต้องใช้ รวมถึงการที่ต้องเจอกับสภาวะการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเข้ามากระทบระหว่างการเดินทางที่ผุู้เดินทางจะต้องตัดสินใจ โดยนิทรรศการแบ่งออกเป็น 3 โซน คือ Booking Zone Checking Zone และ Take Off Zone
ทั้งนี้ พื้นที่จัดแสดงทั้งหมดออกแบบให้รองรับประชาชนทุกกลุ่ม
- มีลิฟต์บริการสำหรับผู้นั่งวีลแชร์
- มีอักษรเบรลล์ และแบบจำลองเงินตราสำหรับผู้พิการทางสายตา
- ระบบ QR code เพื่อให้ข้อมูลต่างๆ ผ่านแอปพลิเคชัน BOT Museum
แผนที่
ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ
โทรศัพท์ : 02-356 7766 กด 2
เว็บไซต์ : http://www.botlc.or.th
อีเมล : อีเมล : LearningCenter@bot.or.th
วันและเวลาทำการ
เปิดให้บริการวันอังคาร - วันอาทิตย์ เวลา 09.30 - 20.00 น.
จองใช้บริการ ทาง https://services.botlc.or.th/PhysicalDistancing
สอบถามข้อมูล โทร.02 356 7766
ค่าเข้าชม
เข้าชมฟรี
การเดินทาง
รถโดยสารประจำทาง
- ป้ายวัดสามพระยา สาย 3, 9, ปอ.9, 30, 32, 33, 43, 53, 64, 65, 524
- ป้ายตรงข้ามวัดสามพระยา สาย 3, 9, ปอ.9, 30, 32, 33, 53L, 53, 64, 65, 516, 524
- ป้ายตรงข้ามธนาคารแห่งประเทศไทย สาย 3, 9, ปอ.9, 30, 32, 33, 49, 53, 64, 65, 516, 524
- ป้ายหน้าธนาคารแห่งประเทศไทย สาย 3, 9, ปอ.9, 30, 32, 33, 43, 49, 53L, 64, 65, 524
เรือด่วนเจ้าพระยา : ธงสีส้ม, ธงสีเขียว, ธงสีเหลือง ขึ้นที่ท่าเรือเทเวศร์
เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป
เนื้อหาสำหรับเด็ก
รับบัตรเครดิต
รับจองล่วงหน้า
การเข้าชมเป็นหมู่คณะ
**กรุณาโทรสอบถามและจองวัน เวลา ล่วงหน้า ที่โทรศัพท์ 02-356 7766 กด 2
หรือส่งอีเมลถึง learningcenter@bot.or.th
ข้อมูลสำหรับผู้พิการ
- มีลิฟต์บริการสำหรับผู้นั่งวีลแชร์
- มีอักษรเบรลล์ และแบบจำลองเงินตราสำหรับผู้พิการทางสายตา
สิ่งอำนวยความสะดวก
- สมาชิกจอดรถฟรี 4 ชั่วโมง (จอดเกินเวลาที่กำหนด คิดอัตรา 20 บาท/ชั่วโมง)
- บุคคลทั่วไป 20 บาท/ชั่วโมง (ยกเว้นมีตราประทับการใช้บริการ จอดฟรี 4 ชั่วโมง)
- ร้านกาแฟ
- ร้านหนังสือ