กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑ์ห้างขายยาเบอร์ลิน

พิพิธภัณฑ์ห้างขายยาเบอร์ลิน

30 กรกฎาคม 2561

ชื่นชอบ 557

14,894 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

พิพิธภัณฑ์ห้างขายยาเบอร์ลิน เป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดย่อม เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้แก่คุณหมอชัย  ไชยนุวัติ  ซึ่งเปิดคลินิกรักษาผู้ป่วยโดยใช้ชื่อว่า ห้างขายยาเบอร์ลิน (Berlin Dispensary) ที่ถนนเจริญกรุง  มุมถนนเสือป่า ตั้งแต่ปี พ.ศ.2475 บริเวณนี้เป็นชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลเป็นส่วนใหญ่ การก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ยังเป็นการฉลองครบรอบ 84 ปี ของห้างขายยาเบอร์ลิน

 

พิพิธภัณฑ์นี้ต้องการให้ผู้เข้าชมเห็นสภาพชีวิตของคนๆหนึ่งจากครอบครัวที่อพยพจากประเทศจีนมาประเทศสยาม โดยมีความจนเป็นแรงผลักดัน ขยัน ใฝ่เรียน จนได้ทุนและจบแพทย์แผนปัจจุบันจากมหาวิทยาลัยเยอรมันในกรุงเซี่ยงไฮ้ ต่อมาด้วยความตั้งใจที่จะตอบแทนพระคุณพ่อแม่ และแผ่นดิน จึงกลับมาประเทศสยามนำวิชาความรู้ที่ได้มารักษาประชาชน

 

โครงสร้างในในการจัดนิทรรศการ เป็นการเล่าเรื่องตามลำดับเวลา ซึ่งประกอบด้วย ช่วงแรก คือ ต้นตระกูลและประวัติของคุณหมอชัย สืบต่อด้วยพัฒนาการของห้างขายยาจากคลีนิก ต่อมาเป็นบริษัทผลิตยาเล็กๆ จนเป็นบริษัทเบอร์ลินฟาร์มาซูติคอลอินดัสตรี้ จำกัด ในปัจจุบัน และมีการแสดงข้อมูลเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมของอาคารแห่งนี้  ประกอบด้วย

 

คนแซ่ไช่(ฉั่ว) จากกว่างโจว ย้อนไปที่ต้นกำเนิดของตระกูลโดยนำเสนอภาพของ นายตงหยง แซ่ไช่ ชาวจีนแคะจากเมืองกว่างโจว ประเทศจีน ที่อพยพมาตั้งรกรากในประเทศสยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 6) และตั้งหลักปักฐานที่อำเภอศรีมหสโพธิ์(ปัจจุบันเป็น อ.ศรีมโหสถ) จังหวัดปราจีนบุรี ต่อมาเปลี่ยนนามสกุลจาก แซ่ไซ่ เป็น ไชยนุวัติ ในส่วนนี้ได้จัดแสดงภาพของต้นตระกูล พร้อมของใช้สำคัญตั้งแต่สมัยอพยพมาสยาม

 

จากต้นตระกูล ไชยนุวัติ ถึง หมอชัย ประกอบด้วย ภาพถ่ายของนายแพทย์ชัย ไชยนุวัติ ครั้งสำเร็จการศึกษาด้านการแพทย์ จากมหาวิทยาลัยการแพทย์ของประเทศเยอรมันชื่อ Tongji German Medical School ที่เซียงไฮ้ ประเทศจีน(ปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัยถ่งจี้ หรือ Tongji University)

 

กำเนิดห้างขายยาเบอร์ลิน เป็นเรื่องของประวัติศาสตร์การก่อตั้ง เบอร์ลินคลินิก เมื่อคุณหมอชัยสำเร็จการศึกษาจึงได้กลับมาสู๋ประเทศไทยและได้เปิดคลินิกรักษาผู้ป่วยขึ้นเป็นคลินิกเอกชนแห่งแรกๆ ของชุมชนในแถบเจริญกรุง-เยาวราช ในส่วนนี้จัดแสดงเอกสารสำคัญส่วนตัวของหมอชัย และเอกสารเกี่ยวกับการจดทะเบียนการค้าของเบอร์ลิน รวมทั้งป้ายชื่อร้านในยุคแรก

 

ตึกเก่าเล่าตำนาน เป็นกรกล่าวถึงประวัติศาสตร์ของอาคารที่ตั้งของเบอร์ลิน เป็นตึกแถวที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 4) ตามแบบสิงคโปร์ทั้งสองฟากของถนนเจริญกรุง เพื่อพระราชทานแก่โอรสและพระธิดาสำหรับเก็บค่าเช่า  ในอดีตอาคารแห่งนี้เป็นตึกในทรัพย์สินส่วนพระองค์ของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 (ในสมัยที่ดำรงพระยศเป็นหม่อมเจ้ารำไพพรรณี)  ปรัวะติอาคารที่งดงามบริเวณเยาวราช แบ่งออกเป็น 3 ยุค อาคารเบอร์ลินฯถือว่าอยู่ในยุคที่สอง คือ ยุคการเปลี่ยนแปลง ยังคงได้รับอิทธิพลจากรูปแบบเรอเนสซองซ์ นีโอ คลาสสิค และ ปอลลาเดียน ซึ่งเป็นที่นิยมในยุโรปช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18-19

 

คลินิกคุณหมอและห้องปรุงยา จำลองคลินิกหมอชัย ไชยนุวัติ ซึ่งอยู่ชั้น 2 และห้องปรุงยาที่อยู่ชั้น 1 แสดงให้เห็นถึงวิธีการทำงานและความเป็นอยู่ที่สะอาด เรียบง่าย พร้อมกับเอกสารสำคัญ คือ ตำราทางการแพทย์ ภาษาเยอรมัน สมุดจดสูตรยา รวมทั้งอุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้ประจำ เช่น เข็มฉีดยา  ภาชนะเก็บสำลี  หม้อต้ม  และกล้องจุลทรรศน์ ที่ใช้ดูเม็ดเลือด ปัสสาวะและอุจจาระของผู้ป่วย  อีกส่วนคือ ห้องปรุงยาในสมัยนั้น จัดแสดงอุปกรณ์ในกระบวนการปรุงยา และมีวีดีทัศน์แสดงถึงการปรุงยา จ่ายยาให้แก่ผู้ป่วย

 

ก้าวสู่ธุรกิจผลิตยา ส่วนนี้แสดงถึงเสี้ยวหนึ่งของการผลิตยายุคแรกที่เรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า   เหล่าเต๊ง ฟาร์มาซี  เพราะอยู่ชั้น 3 และชั้น 4 ของตึก จึงได้จัดแสดงเครื่องชักรอกรุ่นแรกจำลอง ที่ใช้ส่งอุปกรณ์ผลิตยาจากชั้นล่างขึ้นไปชั้น 3 และชั้น 4  รวมถึงแสดงเครื่องตอกยาสมัยเริ่มต้นจากประเทศเยอรมนี ที่มีประสิทธิภาพในการตอกยาได้นาทีละ 200 เม็ด ซึ่งปัจจุบันเครื่องตอกยาสมัยใหม่สามารถผลิตได้นาทีละหลายพันเม็ด

 

วันนี้ของห้างฯเบอร์ลิน เป็นวีดีโอขนาดสั้นประมาณ 5 นาที ให้ความรู้ที่ทันสมัยถึงขั้นตอนการลิตยาเม็ด ตั้งแต่ผงยาจนตอกมาเป็นเม็ด จนถึงผู้ใช้ รวมถึงการตรวจคุณภาพของยาที่ทันสมัยของโรงงาน บริษัท เบอร์ลิน ฟาร์มาซูติคอล อินดัสตรี้ จำกัด 

 

ที่มา : แผ่นพับนำชมพิพิธภัณฑ์,2561 

 

บริหารจัดการ

เอกชน

ประเภทพิพิธภัณฑ์

ชีวประวัติ, ประวัติศาสตร์ และ โบราณคดี

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

ตัวอย่างเครื่องชักรอกรุ่นแรกจำลอง

 

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

เลขที่ 359 ถนนเจริญกรุง แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทรศัพท์ : 02-225-4700
อีเมล : infoberlinmuseum@gmail.com

วันและเวลาทำการ

เวลาเปิดทำการ 09.00 - 17.00 น. ทุกวัน (ยกเว้นวันจันทร์)

ค่าเข้าชม

40 บาท 

การเดินทาง

  • รถโดยสารประจำทางสาย 1  4  7  21 25 35 40 49 53 73 7385 204 507 529 542 ปอ.7
  • MRT สถานีหัวลำโพง (ประตู 4) ต่อรถโดยสารประจำทางสาย 4 25 40 53 73 73529 542
  • BTS สถานีสยาม (ป้ายฝั่งตรงข้ามสยามพารากอน)
  • BTS สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ/มาบุญครอง (ป้ายฝั่งสนามกีฬาแห่งชาติ) 


เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

หากประสงค์เข้าเยี่ยมชมเป็นหมู่คณะ กรุณาติดต่อล่วงหน้า

ข้อมูลสำหรับผู้พิการ

-

สิ่งอำนวยความสะดวก

-

9

แบ่งปัน

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง