กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   หอปูมละกอน

หอปูมละกอน

21 มีนาคม 2562

ชื่นชอบ 655

10,849 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

หอปูมละกอน ก่อตั้งโดยเทศบาลนครลำปาง เป็นพิพิธภัณฑ์เมืองที่จัดแสดงเล่าเรื่องเมืองลำปางโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ มีเนื้อหาแสดงเหตุปัจจัย เงื่อนไข และบทบาทของสิ่งที่กำหนดจิตวิญญาณในแต่ละยุคสมัยของลำปาง เน้นเล่าเรื่องภูมิหลัง(ปูม)ของเมืองลำปาง  เพื่อให้เยาวชนได้เห็นตัวอย่างจากอดีตเพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจในการกำหนดทิศทางของนครลำปางทั้งปัจจุบันและอนาคต

 

หอปูมละกอน แบ่งการจัดแสดงเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย

 

ส่วนที่ 1 นิทรรศการหมุนเวียน 

จัดแสดง ณ ห้องจัดแสดง ชั้น 1 โดยมีการเปลี่ยนและหมุนเวียนเรื่องราวที่จัดแสดงทุกๆ 2-3 เดือน

 

ส่วนที่ 2 นิทรรศการถาวร มีทั้งหมด 6 ห้อง

  • ห้องที่ 1 โถงจิตวิญญาณ เป็นพื้นที่ส่วนแรกและส่วนสุดท้ายของการจัดนิทรรศการ ทำหน้าที่แสดงแนวคิดหลักของพิพิธภัณฑ์ ที่กล่าวถึงผู้กำหนดบทบาทและทิศทางของเมืองลำปางในแต่ละยุคสมัย ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เพื่อกระตุ้นผู้ชมให้เกิดคำถาม เกิดการค้นหาคำตอบ และเป็นพื้นที่แสดงคำปฏิญาณเพื่อนครลำปาง 

 

  • ห้องที่ 2 เมืองพันปีที่มีเจ้าชีวิต อธิบายบทบาทและอำนาจของเจ้าเมืองทางเหนือในยุคโบราณว่าเป็นผู้กำหนดความเป็นไปของเมือง เพื่อให้ผู้ชมเข้าใจว่าเมืองและผู้คนในแต่ละยุคจะมีทิศทางไปทางใดขึ้นอยู่กับเจ้าเมืองเป็นสำคัญ โดยนำเสนอผ่านตำนานนางสุชาดาและข้อมูลเมืองลำปาง 3 รุ่น ตั้งแต่ยุคเขลางค์นคร เวียงลคอร จนถึงนครลำปาง 

 

  • ห้องที่ 3 สังคมอินเตอร์ แสดงเรื่องราวของนครลำปางในสมัย รัชกาลที่ 5-6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ว่าเป็นชุมชนที่พัฒนาและเติบโตจากการมีคนหลากหลายชาติพันธุ์มาพบปะสังสรรค์ ทั้งกิจการสัมปทานป่าไม้และการค้าขายในย่านตลาด คนเหล่านี้เข้ามาใช้ชีวิตตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน สร้างศาสนสถาน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ รวมทั้งปลูกถ่ายศิลปวัฒนธรรมของตน ทิศทางของเมืองยุคนี้จึงเป็นไปตามที่คนนานาชาติกำหนด 

 

  • ห้องที่ 4 สีสันจากบางกอก เมื่อทางรถไฟสายเหนือจากกรุงเทพฯ สร้างมาถึงลำปาง(ก่อนไปถึงเชียงใหม่) เส้นทางคมนาคมสายนี้ไม่เพียงขนส่งสินค้าเท่านั้น แต่ได้นำเอาวัฒนธรรมแฟชั่นและความทันสมัยต่างๆ มาสู่เมืองลำปางด้วย ถึงขนาดทำให้เกิดสำนวนติดปากคนยุคนั้นว่า "คนสมัยเมืองลำปาง" ลำปางในสมัยนี้จึงมีกรุงเทพฯ เป็นผู้กำหนดทิศทางบทบาทความเจริญ นอกจากนี้ยังแสดงเหตุการณ์ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่กองทัพญี่ปุ่นใช้ลำปางเป็นฐานทัพอีกด้วย

 

  • ห้องที่ 5 การกลับมาของคำสาป เมื่อเข้าสู่ทศวรรษ 2500 สภาพเมืองลำปางที่เคยเป็นย่านการค้าคึกคัก เป็นศูนย์รวมสิ่งทันสมัยกลับเงียบงัน แม้จะมีศูนย์ราชการและหน่วยงานระดับประเทศเข้ามาตั้งสำนักงานสาขา สร้างความหวังให้ชาวลำปางว่าจะเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจและการศึกษาในภาคเหนือตอนบน แต่หลังจากนั้นไม่กี่ปีเมื่อทางหลวงหมายเลข 11 สร้างเสร็จ หน่วยงานต่างๆก็พากันทยอยย้ายไปตั้งที่เชียงใหม่ ภาวะเช่นนี้ทำให้เริ่มเกิดเรื่องร่ำลือว่า "หรือนี้จะเป็นไปตามคำสาปของเจ้าแม่สุชาดา"

 

  • ห้องที่ 6 ฮอมแฮงแป๋งเวียง แสดงเรื่องราวของนครลำปางยุคปัจจุบัน อันเป็นยุคที่คนลำปางรุ่นใหม่ลุกขึ้นมาให้ความสนใจและมีบทบาทในการกำหนดทิศทางของเมือง โดยร่วมแรงร่วมใจแสดงออก สร้างกิจกรรมสาธารณะที่หลากหลาย รวมทั้งนำเสนอความคิดเห็นต่างๆ อันเป็นหนทางไปสู่การพัฒนาเมืองด้วยความตระหนักที่ว่า "เมืองของเรา ก็คือ อนาคตของเรา"

บริหารจัดการ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ประเภทพิพิธภัณฑ์

ชีวประวัติ, ประวัติศาสตร์ และ โบราณคดี

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

  • ภาพจำลองคิวปิดบนเพดาน เพื่อค้นหาคำตอบที่ว่าทำไมคิวปิดมาอยู่ที่นี่? ทำไมศิลปะแบบยุโรปจึงมาอยู่ในมณฑปแบบพม่า? แล้วทำไมมณฑปแบบพม่าจึงมาอยู่ในลำปาง..?

 

  • อุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดไม้ประเภทต่างๆ ในช่วงยุคสัมปทานป่าไม้

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

สำนักงานเทศบาลนครลำปาง ห้าแยกหอนาฬิกา ถนนฉัตรไชย ตำบลสบตุ๋ย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง 52000
โทรศัพท์ : 054-237 237 ต่อ 1110
เว็บไซต์ : http://www.lampangcity.go.th

วันและเวลาทำการ

วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น.

ค่าเข้าชม

เข้าชมฟรี

การเดินทาง

1.โดยรถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านพระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี ชัยนาท นครสวรรค์ กำแพงเพชร ตาก ตรงเข้าสู่จังหวัดลำปาง รวมระยะทาง 599 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7 ชั่วโมง หรือ ใช้เส้นทางผ่านพิษณุโลก เด่นชัย เข้าสู่จังหวัดลำปาง 

 

2.รถโดยสารประจำทาง มีรถโดยสารปรับอากาศและรถธรรมดาออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต2) ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวัน

 

3.รถไฟ มีรถด่วนและรถเร็ว ออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพ(หัวลำโพง) ทุกวัน

 

4.โดยเครื่องบิน มีบริการเที่ยวบินเส้นทางกรุงเทพฯ-ลำปาง ทุกวัน ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะจะต้องทำหนังสือก่อนขอเข้าเยี่ยมชม

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีลานจอดรถ

3

แบ่งปัน

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

15 กุมภาพันธ์ 2566
47,874
1,437
04 ธันวาคม 2562
5,798
676