กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรเชียงใหม่

พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรเชียงใหม่

11 สิงหาคม 2561

ชื่นชอบ 548

6,856 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

เดิมทีเดียวนั้นเชียงใหม่มีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขอยู่แห่งหนึ่งตรงถนนวิชยานนท์ ปัจจุบันรื้อถอนไปแล้ว และได้สร้างสุขศาลาขึ้นแทน ต่อมาเปลี่ยนเป็นโรงพยาบาลเทศบาลนครเชียงใหม่จนถึงปัจจุบัน ชาวบ้านในสมัยนั้นเรียกที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขแห่งแรกของเชียงใหม่ง่ายๆ ว่า “โฮงสาย” คงจะเป็นด้วยเหตุผลที่เป็นสถานที่ตั้งชุมสายโทรเลขและโทาศัพท์ ซึ่งต้องมีสายสัญณาณเชื่อมโยงจากที่ต่าง ๆ เข้ามาที่ตัวอาคารจำนวนมาก

 

ในปี พ.ศ. 2453 มีการก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กตรงบริเวณใกล้กัน (ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรเชียงใหม่) ทางการได้ย้าย “โฮงสาย” มาอยู่ที่อาคารหลังนี้ภายหลัง ซึ่งแต่เดิมนั้น ก่อนที่จะมีการก่อสร้างอาคารหลังนี้ บริเวณดังกล่าวใช้เป็นที่ทำการศาลมณฑลพายัพ ภายในมีที่คุมขังนักโทษอยู่ด้วยปัจจุบันตัวอาคารได้เปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัย ปีกของอาคารทั้งสองข้าง ได้ต่อเติมเป็นสองชั้นโดยตลอด เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับทำงานเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ไม่เพียงพอต่อความเจริญของเมืองเชียงใหม่ในยุคสมัยต่อ ๆ มา จนต้องสร้างที่ทำการขึ้นที่ใหม่เพิ่มอีกแห่งหนึ่งย่านสันป่าข่อย ฝั่งซ้ายแม่น้ำปิง อาคารหลังนี้ใช้เป็นที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขแม่ปิง เรื่อยมาจนถึงปี 2533 การสื่อสารแห่งประเทศไทย (หน่วยงานในขณะนั้น) ได้ปรับปรุงให้เป็นพิพิธภัณฑ์ตราไปรษณีย์เชียงใหม่ เพื่อเป็นศูนย์รวมของนักสะสมตราไปรษณียากรในภูมิภาคนี้

 

เป็นอาคารคอนกรีต 2 ชั้น ห้องจัดแสดง 4 ห้อง พื้นที่จัดแสดงรวมประมาณ 260 ตารางเมตร มีห้องคลังขนาด 42 ตารางเมตร ห้องจัดแสดงชั้นล่าง จัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับการสื่อสารสมัยก่อน เช่น เครื่องเคาะรหัสมอสที่ขนาดใช้ไฟ 12 โวลท์ เครื่องมืออื่น ๆ ตลอดจนโต๊ะ เก้าอี้ยาว เคาท์เตอร์ไปรษณียากรที่เคยใช้ในสำนักงานไปรษณีย์สมัยก่อน ชั้นที่ 2 แสดงแสตมป์เก่า ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 8 เป็นต้นมา นอกจากนี้ยังมีห้องสมุด ห้องประชุมอยู่บนชั้น 2 อีกด้วย ด้านนอกพิพิธภัณฑ์จัดแสดงตู้ไปรษณีย์เก่าที่เก็บมาจากที่ต่าง ๆ จำนวน 5 ตู้ ทางพิพิธภัณฑ์ร่วมกัมชมรมนักสะสมแสตมป์เชียงใหม่ ยังได้จัดกิจกรรมการพบปะพูดคุยระหว่างสมาชิก ประกวดการจัดอัลบั้มแสตมป์ จัดนิทรรศการตามสถาบันศึกษาต่าง ๆ ในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน และมีจดหมายข่าวรายเดือนชื่อ "ข่าวพิพิธภัณฑ์ไปรษณียากร เชียงใหม่" ส่งให้แก่สมาชิกและผู้สนใจ

 

บริหารจัดการ

หน่วยงานราชการ

ประเภทพิพิธภัณฑ์

ชีวประวัติ, ประวัติศาสตร์ และ โบราณคดี

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับการสื่อสารของไทยสมัยก่อน ตราไปรษณียากรชุดเก่า ๆ

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

เยื้องที่ทำการไปรษณีย์แม่ปิง ถ.ไปรษณีย์ ตำบลช้างม่อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์ : 053-251200

วันและเวลาทำการ

เปิดให้บริการวันอังคาร - อาทิตย์ เวลา 08.30 – 16.30 น.

ค่าเข้าชม

ไม่เสียค่าเข้าชม

การเดินทาง

ถ้ามาจากถนนช้างม่อยให้ตรงไปจนสุดถนน จะเจอสามแยกให้เลี้ยวขวาไปตามถนนไปรษณีย์ซึ่งขนานกับแม่น้ำปิง ผ่านตลาดดอกไม้ซึ่งอยู่ทางด้านขวามือ ตรงไปอีกประมาณ 200 เมตร จะเห็นพิพิธภัณฑ์อยู่ทางด้านขวามือ 

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

-

ข้อมูลสำหรับผู้พิการ

-

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีที่จอดรถ 

3

แบ่งปัน