ข้อมูลพิพิธภัณฑ์
หอวัฒนธรรมอุบลนิทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี สร้างขึ้นเพื่อสนองนโยบายของรัฐบาล มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญเพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ท้องถิ่นของชุมชนอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียงในภาคอีสาน เป็นศูนย์สร้างเสริมสำนึกท้องถิ่นในด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ การศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น และเป็นศูนย์กลางที่จะนำไปสู่ความภาคภูมิใจ ความสมัครสมานสามัคคี อันเป็นพลังที่จะช่วยให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง
หอวัฒนธรรมอุบลนิทัศน์ เป็นห้องนิทรรศการถาวร ที่รวบรวมเรื่องราวความรู้ต่าง ๆ ของเมืองอุบลฯ มาจัดแสดงไว้ในสถานที่แห่งเดียวอย่างครบถ้วน โดยอยู่ที่ชั้นที่ 1 ของอาคารศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษกจำนวน 4 ห้อง และอยู่บนชั้นที่ 2 อีก 1 ห้อง รวมเป็นห้องนิทรรศการทั้งหมด 5 ห้อง ได้แก่
1. ห้องภูมิเมือง (Geography) จัดแสดงเรื่องภูมิศาสตร์/ธรณีวิทยา/ทรัพยากรธรรมชาติ ของพื้นที่อุบลราชธานี ส่วนนี้มีเนื้อที่น้อยที่สุดในสี่เรื่อง
2. ห้องภูมิราชธานี (History) ว่าด้วยความเป็นมาของบ้านเมือง นับแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ไล่เรียงลำดับมาสู่สมัยประวัติศาสตร์ การสร้างบ้านแปงเมือง เจ้าเมืองในยุคต่างๆ การถูกผนวกรวมเข้าสู่ราชอาณาจักรสยาม กบฎ “ผู้มีบุญ” กระทั่งถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนสำคัญของเมืองอุบล นอกจากนั้นก็ยัง มีหัวข้อย่อยๆ เช่นประเพณีการสร้างนกหัสดีลิงค์เพื่อใช้ในการปลงศพพระเถระและเจ้าเมือง ซึ่งมีพ่อบำเพ็ญ ณ อุบล มาเล่าเรื่องให้ฟัง
3. ห้องภูมิธรรม (Religion) เป็นหัวข้อว่าด้วยเรื่องราวทางพุทธศาสนา โดยจำลองบรรยากาศของวัดหนองป่าพง พร้อมด้วยรูป เหมือนของหลวงพ่อชา ทั้งยังมีประวัติปราชญ์เมืองอุบลในฝ่ายสงฆ์ ทั้งสายวิปัสสนาธุระ (ปฏิบัติ) และคันถธุระ (ปริยัติ) กับมีวัตถุทางศาสนาเช่นคันทวย อาคารจำลอง มาจัดแสดงไว้ด้วย
4. ห้องภูมิปัญญา (Way of Wisdom) ส่วนนี้ได้รับเนื้อที่พอๆ กับภูมิราชธานี ว่าด้วยเรื่องวิถีชีวิตของชาวอีสาน ทั้งเรื่องอาหารการกิน ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ดนตรี ภาษา ประเพณีในรอบปีหรือ “ฮีตสิบสอง” รวมถึงประวัติของ “คนดีศรีอุบล” หรือปราชญ์เมืองอุบลในฝ่ายฆราวาส
5. ห้องภูมิราชภัฏ (Rajabhat Institute) จัดแสดงเรื่องราวในด้านต่างๆของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
บริหารจัดการ
ประเภทพิพิธภัณฑ์
วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ
ผ้าสำรด ทำด้วยดิ้นทอง เงิน นาค และเลื่อมลายไทย เป็นผ้าคาดเอวเวลาแต่งเครื่องยศข้าราชการ ตั้งแต่รองอำมาตย์ขึ้นไป
แผนที่
ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ
โทรศัพท์ : 0-4535-2000-29 ต่อ 1122
วันและเวลาทำการ
เปิดทุกวัน 8.30 - 16.30 น. (ปิดวันนักขัตฤกษ์)
ค่าเข้าชม
ไม่เสียค่าเข้าชม
การเดินทาง
โดยรถยนต์
ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) จนถึงจังหวัดสระบุรี แยกขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) ไปจนถึงจังหวัดนครราชสีมา จากนั้นแยกใช้ทางหลวงหมายเลข 226 ผ่านจังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ ถึงจังหวัดศรีสะเกษจากศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ มุ่งหน้าทางตะวันออก ไปตามถนน เทพา เข้าสู่หลักเมือง 800 ม. เลี้ยวขวา เข้าสู่ ถนน ขุขันธ์ 600 ม. เลี้ยวซ้าย เข้าสู่ อุบลปลายทางจะอยู่ทางซ้าย 260 ม.
เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป
เนื้อหาสำหรับเด็ก
รับบัตรเครดิต
รับจองล่วงหน้า
กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะจะต้องทำหนังสือก่อนขอเข้าเยี่ยมชม
สิ่งอำนวยความสะดวก
มีพื้นที่สำหรับจอดรถ