กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑ์ทหารช่าง

พิพิธภัณฑ์ทหารช่าง

02 กรกฎาคม 2562

ชื่นชอบ 593

7,021 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

ประวัติความเป็นมา

 

เหล่าทหารช่างถือกำเนิดมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้วแต่ยังมิได้แยกออกเป็นเหล่าอิสระ จนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 5 ทรงตั้ง “กองทหารอินยิเนีย” ขึ้นเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2418 เพื่อให้ออกไปปฏิบัติงาน ตรวจกรุยทางและปักเสาโทรเลขจากพระนคร ถึง สมุทรปราการ จากนั้นเป็นต้นมาทหารช่างได้รับการพัฒนามาตามลำดับ จนในปี พ.ศ. 2495 ก็ได้ตั้งเป็นกรมการทหารช่างขึ้นตรงต่อกองทัพบก จะเห็นได้ว่าเหล่าทหารช่างได้ก่อตั้งมาเป็นระยะเวลานานแล้ว  ในขณะเดียวกันก็ได้รวบรวมข้อมูล ทางด้านประวัติศาสตร์และวัตถุอันเกี่ยวกับกิจกรรมทหารช่างในด้านต่างๆ ไว้ในหน่วยมิใช่น้อย จึงเป็นสมควรที่หน่วยทหารช่างพึงรวบรวมและเรียบเรียงเรื่องราวขึ้นเป็นประวัติศาสตร์ของหน่วยสืบต่อไป 

 

พิพิธภัณฑ์ทหารช่างเริ่มจัดตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 โดยก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ชั่วคราวขนาด 5 x 12 เมตร ในพื้นที่ประมาณ 200 ตารางวา ขึ้น 1 หลัง และตั้งแต่เริ่มดำเนินการเป็นต้นมา งานพิพิธภัณฑ์ได้รับความสนใจจากข้าราชการและประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะหน่วยงานทหารช่างหลายหน่วยได้มอบวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือที่ชำรุดแล้วให้กับพิพิธภัณฑ์ทหารช่าง จนทำให้อาคารและพื้นที่คับแคบไม่เพียงที่จะแสดงวัตถุได้ทั้งหมด ในปีพ.ศ. 2527 จึงได้ปรับปรุงขยายพื้นที่บริเวณเดิมออกไปจนมีพื้นที่ในปัจจุบันประมาณ 2 ไร่เศษ 

 

ต่อมาได้ทำการปรับปรุงอาคารจัสแมค ซึ่งเป็นอาคาร 2 ชั้น โดยได้ทำโครงการจัดทำห้องพิพิธภัณฑ์สำหรับบุคคลสำคัญของเหล่าทหารช่าง จำนวน 4 ห้อง ได้แก่ ห้องเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์, ห้องพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงอัครโยธิน, ห้องพลเอกบรรจบ บุนนาคและห้องพลเอกประยุทธ จารุมณี

 

ในปลายปีพ.ศ. 2536 -2537 ได้มีการปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ทหารช่างอีกโดยแยกแผนงานการปรับปรุงออกเป็น บริเวณภายนอกอาคารเพื่อเตรียมจัดแสดงรถจักรไอน้ำและต่อเติมอาคารชั้นเดียวออกไปอีก เพื่อจัดแสดงเป็นห้องพิพิธภัณฑ์ต่างๆอีก จำนวน 7 ห้อง การปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ทหารช่างในแต่ละครั้ง ได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ทั้งนี้เพราะได้รับการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชาและหน่วยทหารช่างทุกหน่วย

 

ลักษณะการจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์

 

การจัดแสดงแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

 

1. พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็น 2 พื้นที่ คือ 

 

-  ส่วนที่แสดงเครื่องมือหนัก จัดแสดง เครื่องมือต่างๆที่ใช้ในการทหาร เช่น รถปั่นจั่นประกอบถังงัดดัก รถขุดราก รถบดล้อเหล็ก เรือยนต์สร้างสะพาน รถเกลี่ย รถสะพานขนาด 6 ตัน รถโยก และปืนใหญ่โบราณ เป็นต้น 

- ส่วนที่แสดงรถจักรไอน้ำ มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับทหารช่าง เนื่องจากทหารช่างเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้างรถไฟสายสำคัญๆในอดีต ซึ่งรถจักรไอน้ำที่ตั้งแสดงอยู่ภายในบริเวณพิพิธภัณฑ์ทหารช่างนี้ เป็นหนึ่งในรถจักรไอน้ำที่หลงเหลือจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทยได้นำมากำหนดเหมายเลขใหม่ทั้งหมดเป็นกลุ่ม 700 

 

2. พิพิธภัณฑ์ภายในอาคาร 2 ชั้น อาคารหลังนี้เรียกกันว่าอาคารจัสแมค ซึ่งเดิมเป็นบ้านพักของอดีตเจ้ากรมการทหารช่าง สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. 2492 ภายในจัดแสดง ดังนี้

 

ชั้นล่างของอาคาร จัดแสดงหุ่นเครื่องแบบของทหารช่างในอดีต เครื่องมือช่างบางส่วนที่ใช้ในสมัยโบราณ อาวุธปืนโบราณ ภาพวาดการปฏิบัติงานของทหารช่าง ภาพวาดสีน้ำมันการขุดเจาะถ้ำขุนตานและการวางรางรถไฟ และประวัติความเป็นมาของกรมการทหารช่าง นอกจากนี้ยังจัดแสดงเครื่องหมายสัญลักษณ์ประจำหน่วยทหารช่างต่างๆพร้อมทั้งประวัติการจัดตั้งหน่วย

 

ชั้นบนของอาคาร จัดเป็นห้องพิพิธภัณฑ์สำหรับบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับทหารช่างจำนวน 4 ห้อง ได้แก่ 

 

- ห้องพิพิธภัณฑ์จอมพลสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังสี-สว่างวงศ์ กรมพระยาภาพันธุวงศ์วรเดช

- ห้องพิพิธภัณฑ์ พลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ห้องนี้มีความสำคัญต่อเหล่าทหารช่างมาก เพราะพระองค์คือ พระบิดาของทหารช่างทรงวางฐานวิชาการของเหล่า และทรงสร้างความเจริญให้แก่เหล่าทหารช่างอย่างมากมาย

- ห้องพิพิธภัณฑ์ พลเอกประยุทธ จารุมณี

- ห้องพิพิธภัณฑ์พลเอก บรรจบ บุนนาค  ห้องพิพิธภัณฑ์นี้มีความสำคัญคือท่านเป็นนายทหารช่างคนแรกที่ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

 

3.  พิพิธภัณฑ์ภายในอาคารชั้นเดียว ซึ่งเรียกกันว่าอาคารรูปตัวแอล แบ่งการแสดงออกเป็น 7 ห้องคือ

 

1.ห้องอดีตเจ้ากรมการทหารช่าง ตั้งแต่คนแรกจนถึงคนปัจจุบัน

2. ห้องทหารช่างในอดีต ห้องนี้จัดแสดงเครื่องมือช่างเป็นบางส่วน เช่น ฆ้องทหารช่าง ขนาดต่างๆ มีดทหารช่าง เลื่อยทหารช่าง นอกจากนี้ยังแสดงรายนามนายทหารช่างชั้นผู้ใหญ่ ยศพลโท          พลเอก เพื่อเป็นเกียรติประวัติของเหล่าอีกด้วย

3. ห้องทหารช่างกับการพัฒนาประเทศและทหารช่างกับการสนับสนุนภารกิจในการป้องกันประเทศ  ดังเช่น โครงการอีสานเขียว โครงการฮารับบันบารู ยุทธการเขาค้อ

4 – 5. ห้องทหารช่างกับการช่วยเหลือประชาชน ซึ่งเน้นจัดแสดงเหตุการณ์สำคัญ เช่น การช่วยเหลืออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสู่ลุ่มแม่น้ำนครชัยศรี  การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยเนื่องจากใต้ฝุ่นเกย์ จังหวัดชุมพร  การช่วยเหลือผู้ประสบภัย ที่อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี

6 – 7. ห้องเกียรติศักดิ์ของทหารช่างไทยในกัมพูชา จัดแสดงเรื่องราวที่ประเทศไทยได้ให้การช่วยเหลือประเทศกัมพูชา โดยการส่งกำลังทหารช่างเฉพาะกิจเข้าไปช่วยฟื้นฟูบูรณะประเทศ

บริหารจัดการ

หน่วยงานราชการ

ประเภทพิพิธภัณฑ์

การทหาร และ สงคราม

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

-

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

กรมการทหารช่าง ค่ายภาณุรังษี ตำบลโคกหม้อ อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี 70000
โทรศัพท์ : 032-337267, 032-337388 ต่อ 53151
โทรสาร : 032-337267
เว็บไซต์ : http://www.engrdept.com/index0358.htm
อีเมล : kittikraimanee@gmail.com

วันและเวลาทำการ

สามารถติดต่อเข้าชมได้ในวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น.  ยกเว้น วันเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เข้าชมเป็นหมู่คณะ กรุณาติดต่อล่วงหน้า เบอร์ติดต่อ 032-337267

ค่าเข้าชม

ไม่เสียค่าเข้าชม

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

-

ข้อมูลสำหรับผู้พิการ

-

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีที่จอดรถ

4

แบ่งปัน

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง