กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   หอเกียรติยศ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา

หอเกียรติยศ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา

17 ตุลาคม 2561

ชื่นชอบ 491

4,418 ผู้เข้าชม

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

หอเกียรติยศ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา  นายกรัฐมนตรีคนที่21  เกิดขึ้นจากความร่วมแรงร่วมใจของประชาชนชาวสุพรรณบุรี ที่ได้ร่วมกันบริจาคเงินในการก่อสร้าง โดยไม่ใช้งบประมาณของทางราชการ  ออกแบบโดยกรมศิลปากร  มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาด้านประวัติศาสตร์การเมืองไทย และการเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตให้แก่เยาวชน  โดยได้รับอนุญาตให้ยืมสิ่งของ เอกสาร ตลอดจนวัสดุครุภัณฑ์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ส่วนตัวของนายบรรหาร ศิลปอาชา และครอบครัวมาร่วมจัดแสดง ซึ่งกรมศิลปากรได้สำรวจและจัดทำทะเบียนวัตถุ เพื่อคัดเลือกวัตถุที่มีคุณค่าในการศึกษาค้นคว้ามาจัดแสดงอย่างเหมาะสมและถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยการจัดแสดงมี 2 ชั้น ดังนี้

 


ชั้นที่ 1 เหตุการณ์ชีวิตในวัยเยาว์จนถึงก่อนดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี  

ห้อง 1 จำลองบรรยากาศของร้าน “ย่ง หยู ฮง” ในตลาดสุพรรณบุรีเมื่อประมาณ พ.ศ.2487 ซึ่งเป็นร้านที่บิดา - มารดาของเด็กชายบรรหารใช้เป็นสถานที่พักอาศัยและจำหน่ายสินค้า แสดงสภาพชีวิตความเป็นอยู่และหน้าที่รับผิดชอบที่เด็กชายบรรหารในวัย 12 ปี มีต่อครอบครัว

 

ห้อง 2 แสดงการเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ของนายบรรหาร ศิลปอาชา ในวัย 17 ปี โดยมีการจำลองการเดินทางด้วยเรือเมล์แดงจากสุพรรณบุรีถึงกรุงเทพฯ และคำอธิษฐานของนายบรรหารที่ให้ไว้กับศาลเจ้าพ่อหลักเมืองก่อนออกเดินทาง

 

ห้อง 3 แสดงเรื่องราวชีวิตของนายบรรหารขณะช่วยพี่ชายประกอบกิจการ กระทั่งประกอบธุรกิจเป็นของตนเองโดยตั้งบริษัทก่อสร้างชื่อ “สหะศรีชัยก่อสร้าง” ขึ้น

 

ห้อง 4 จัดแสดงช่วงเวลาสำคัญในชีวิตของนายบรรหารก่อนเข้าสู่เส้นทางการเมือง อาทิ อุปสมบท แต่งงาน และแสดงกิจการต่างๆ ที่นายบรรหารช่วยเหลือและพัฒนาจังหวัดสุพรรณบุรี

 

ห้อง 5 จัดแสดงเหตุการณ์สำคัญช่วง 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งทำให้นายบรรหารก้าวเข้าสู่เส้นทางการเมือง

 

ห้อง 6 จัดแสดงบทบาทสำคัญในการบริหารราชการแผ่นดินขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีและรัฐมนตรีช่วยกระทรวงต่างๆ  อาทิ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย ฯลฯ ระหว่าง พ.ศ.2519-2535

 

ห้อง 7 จัดแสดงช่วงชีวิตทางการเมืองของนายบรรหารในฐานะสมาชิกพรรค รองเลขาธิการพรรค เลขาธิการพรรค และหัวหน้าพรรคชาติไทย กระทั่งการเลือกตั้งทั่วไปในปี พ.ศ.2538 ซึ่งได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล

 

 

 

ชั้นที่ 2  ช่วงชีวิตระหว่างได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ห้อง 1 จัดแสดงพระราชพิธีสำคัญ 2 พิธี ซึ่งจัดขึ้นในช่วงรัฐบาลของ ฯพณฯ บรรหาร คือ งานพระราชพิธีถวายเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และงานพระราชพิธีกาญจนาภิเษก

 

ห้อง 2 จัดแสดงโครงการพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่ง ฯพณฯ บรรหาร ได้สนองเบื้องพระยุคลบาท อาทิ โครงการเขื่อนปากพนัง โครงการแก้มลิง การสร้างสะพานพระราม 8 ฯลฯ

 

ห้อง 3 จัดแสดงนโยบายและผลงานของรัฐบาล ฯพณฯ บรรหาร ซึ่งมีส่วนช่วยพัฒนาประเทศให้เจริญรุดหน้า

 

ห้อง 4 และ ห้อง 5 จัดแสดงนโยบายและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับนานาชาติ รวมถึงจัดแสดงของที่ระลึกที่ ฯพณฯ บรรหาร ได้รับมอบระหว่างการเดินทางไปเยือนประเทศต่างๆ และจากการต้อนรับผู้นำประเทศที่เดินทางมาเยือนประเทศไทย

 

ห้อง 6 จัดแสดงบทบาทของ ฯพณฯ บรรหาร ในฐานะผู้นำรัฐบาลกับการประชุมระดับนานาชาติ ทั้งที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมและการเดินทางไปร่วมประชุมในประเทศต่างๆ

 

ห้อง 7 จัดแสดงเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ ฯพณฯ บรรหาร และคุณหญิงแจ่มใส ศิลปอาชา ได้รับพระราชทาน รวมถึงเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับจากต่างประเทศ

 

บริหารจัดการ

กรมศิลปากร

ประเภทพิพิธภัณฑ์

ชีวประวัติ, ประวัติศาสตร์ และ โบราณคดี

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

ศูนย์ราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ถนนสุพรรณบุรี-ชัยนาท ตำบลสนามชัย อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี 72000
โทรศัพท์ : 035-535 119
โทรสาร : 035-535 120
เว็บไซต์ : http://www.finearts.go.th/suphanburiarchives/site-map/2015-01-06-08-58-15

วันและเวลาทำการ

  เปิดทำการ ทุกวันอังคาร - วันอาทิตย์ ระหว่างเวลา 09.00น. - 16.00น.

ค่าเข้าชม

ไม่เก็บค่าเข้าชม

การเดินทาง

โดยรถยนต์  จากกรุงเทพ  ใช้เส้นทางถนนบางบัวทอง-สุพรรณบุรี(ทางหลวงหมายเลข 340) เมื่อถึงตัวเมืองจังหวัดสุพรรณบุรี ใช้ถนนทางหลวงหมายเลข 340 (ถนนสุพรรณบุรี-ชัยนาท) จนเห็นศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรีด้านซ้ายมือ ให้ตรงไปอีกประมาณ 1.5 กิโลเมตร แล้วกลับรถ หอเกียรติยศ ฯพณฯ บรรหาร จะอยู่ในศูนย์ราชการกรมศิลปากร

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะจะต้องทำหนังสือก่อนขอเข้าเยี่ยมชม

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีพื้นที่สำหรับจอดรถ

6

แบ่งปัน

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

เรื่องเล่าในจังหวัดสุพรรณบุรี