กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย

02 กรกฎาคม 2562

ชื่นชอบ 705

15,692 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย เป็นสถานที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุและศิลปวัตถุที่ได้มาจากวัดสำคัญและแหล่งโบราณคดีในจังหวัดลำพูน จำนวนกว่า 3,000 ชิ้น แบ่งเป็น 4 หมวดหมู่ ได้แก่

            ยุคก่อนประวัติศาสตร์ พบหม้อลายเชือกทาบขูดขีดเป็นรูปงูไขว้ไปมา กระบอกธนู ขวานหินกะเทาะ ขวานหินขัด ที่มีอายุกว่า 4,000 ปี กับกลุ่มโครงกระดูกที่ขุดค้นพบ ณ บ้านวังไฮ คนกลุ่มนี้รู้จักประเพณีฝังศพด้วยการอุทิศสิ่งของให้ผู้ตายไว้ใช้ในปรโลก รู้จักทำการเกษตรกรรม ตั้งหลักแหล่ง มีการติดต่อสัมพันธ์กับภายนอก เห็นไดจากการพบลูกปัด สร้อยกำไลในหลุมศพทำด้วยหอยทะเล หินควอทซ์ สำริด ซึ่งชาวต่างชาตินำมาแลกเปลี่ยนค้าขาย

            ยุคทวารวดีต่อเชื่อมกับยุคหริภุญไชย หริภุญไชยมีปฐมกษัตริย์พระนามว่า “จามเทวี” ผู้นำเอาอารยธรรมแบบทวารวดีจากเมืองละโว้ ขึ้นมาสถาปนา พบโบราณวัตถุที่ทำด้วยหินทราย ปูนปั้น ดินเผา สำริด ศิลปกรรมสมัยหริภุญไชยที่มีอัตลักษณ์พิเศษ คือ เน้นพระพักตร์พระพุทธรูปเป้นทรงสี่เหลี่ยม พระขนงต่อกันเป็นปีกกา พระเนตรโปนเหลือบต่ำ พระโอษฐ์แย้มแบบแสยะ มีไรพระมัสสุ พระนาสิกใหญ่ นิยมเรียกว่า “พระมีหนวด” ลักษณะหน้าตาสมึงทึงแสดงฤทธิ์อำนาจตามคติพุทธแบบมหายาน

            ยุคล้านนา โบราณวัตถุสมัยล้านนา มีอายุราวกลางพุทะศตวรรษที่ 19-25 มีรูปอบบศิลปะที่เริ่มมีความเป็น “ไทย” เช่น ต้นกำเนิดพระพุทะศิงหิงค์ หรือที่คนทั่วไปนิยมเรียกว่า “พระเชียงแสนสิงห์หนึ่ง” มีลักษณะพระพักตร์อิ่มเอิบ อมยิ้ม พระเนตรกุ้มต่ำคล้ายกลีบบัว ประทับนั่งขัดสมาธิราบและขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย พระอังสาใหญ่ บั้นพระเอวเล็ก ชายสังฆาฏิสั้น นอกจากนี้ ยังมีศิลปกรรมกลุ่มที่แสดงลักษณะพื้นเมืองประจำท้องถิ่น อาทิ สกุลช่างพะเยา ช่างล้านช้างหรือล้านนาตะวันออก เป็นต้น

            ยุคฟื้นฟูล้านนา มีการผสมผสานกันระหว่างศิลปะไทยแบต่างๆ โดยมากเป็นงานหัตถศิลป์ประณีตร์ศิลป์ที่ใช้สำหรับถวายพระ ทำด้วยวัสดุมีค่า เช่น ดอกไม้เงินดอกไม้ทอง ช้างม้าจำลอง เครื่องแกะสลักต่างๆ อาทิ สัตตภัณฑ์ ตุงกระด้าง คันทวย พระแผง ฯลฯ อันแสดงถึงการสืบทอดเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมล้านนายุคฟื้นฟูภายใต้กลุ่มช่างฝีมือชาวไทลื้อ ไทยอง และการผสมผสานเอาศิลปแบบรัตนโกสินทร์จากภาคกลางมาใช้อย่างกลมกลืน

บริหารจัดการ

กรมศิลปากร

ประเภทพิพิธภัณฑ์

ชีวประวัติ, ประวัติศาสตร์ และ โบราณคดี

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

ศิลาจารึกที่พบในจังหวัดลำพูน พะเยา และเชียงราย เป็นศิลาจารึกสมัยหริภุญไชย ซึ่งจารึกด้วยภาษามอญ มีอายุเก่าสุดอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

122 ถนนอินทยงยศ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน 51000
โทรศัพท์ : 053-511 186
โทรสาร : 053-530 536
เว็บไซต์ : http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/hariphunchai

วันและเวลาทำการ

วันพุธ - วันอาทิตย์

เวลา 09.00-16.00 น.

ค่าเข้าชม

  • ชาวไทย  20 บาท
  • ชาวต่างประเทศ  100 บาท
  • นักเรียน นักศึกษาในเครื่องแบบ ภิกษุ สามเณร และนักบวชในศาสนาต่างๆ ไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชม

การเดินทาง

1.โดยรถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง นครสวรรค์ กำแพงเพชร ตาก ลำปาง จนถึงจังหวัดลำพูน ระยะทางประมาณ 670 กิโลเมตร

2.โดยรถประจำทาง มีรถประจำทางปรับอากาศ สายกรุงเทพฯ-ลำพูน ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต 2) ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 8-9 ชั่วโมง

3.โดยรถไฟ มีรถไฟออกจากสถานีรถไฟหัวลำโพงไปจังหวัดลำพูน ทุกวัน

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะจะต้องทำหนังสือก่อนขอเข้าเยี่ยมชม

ข้อมูลสำหรับผู้พิการ

มีทางลาดและห้องน้ำสำหรับผู้พิการ

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีลานจาดรถ

8

แบ่งปัน

กิจกรรม

07 ส.ค. 2563

30 กรกฎาคม 2563
ขอเชิญเข้าร่วมกิจกรรมบรรยายพิเศษประกอบนิทรรศการ ภายใต้โครงการเครือข่ายมรดกศิลปวัฒนธรรม กรมศิลปากร ปี ๒๕๖๓ เรื่อง "ผ้าเนื่องในพุทธศาสนาการอนุรักษ์เพื่อสืบสานความศรัทธา" วันศุกร์ที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๓ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. ณ ห้องประชุมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน   **เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ จึงขอจำกัดผู้เข้าร่วมรับฟัง เพียง ๖๐ ท่าน กรุณาแจ้งรายชื่อเข้าร่วมฟังทางหมายเลขโทรศัพท์ ๐๕๓-๕๑๑ ๑๘๖ ในวันเวลาราชการ หรือ Facebook Fanpage พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย ลำพูน

25 พ.ค. 2561

10 พฤษภาคม 2561
โครงการเผยแพร่ความรู้ "หริภุญไชยอยากเล่า" เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี ๒๕๖๑ ครุยเจ้าหลวง จากราชสำนักสยามสู่ประเทศราช   โดย  อาจารย์ประภัสสร  โพธิ์ศรีทอง (นักประวัติศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญผ้าอินเดีย) การจัดแสดง การจัดเก็บ และดูแลรักษาผ้าโบราณ โดย  คุณพวงพร  ศรีสมบูรณ์ (นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ กรมศิลปากร)   วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๑ เวลา ๐๘.๐๐ - ๑๗.๐๐ น. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย   สำรองที่นั่งได้ที่ กล่องข้อความ Page พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย ลำพูน หมายเลขโทรศัพท์ ๐๕๓ - ๕๑๑ ๑๘๖ เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์    

23 ก.พ. 2561

29 มกราคม 2561
โครงการเผยแพร่ความรู้ "หริภุญไชย อยากเล่า" เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ปี ๒๕๖๑ หัวข้อบรรยาย "ข้อมูลใหม่ เมืองหละปูน จากหลักฐานจารึกและเอกสารโบราณ วันศุกร์ที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๑๓.๓๐ - ๑๗.๐๐ น. ณ ห้องประชุม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย ***************************************************************************** ๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น.     ลงทะเบียนและรับเอกสาร ๑๓.๐๐ - ๑๓.๓๐ น.     พระเทพรัตนนายก เจ้าคณะจังหวัดลำพูน  กล่าวสัมโมทนียกถา ๑๓.๓๐ - ๑๔.๓๐ น.     การบรรยายเรื่อง "เล่าความหลัง" การสำรวจ สืบค้น ข้อมูลจารึกเมืองลำพูน ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๕  โดย นายเทิม มีเต็ม นักภาษาโบราณ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมศิลปากร ๑๔.๓๐ - ๑๕.๓๐ น.     การบรรยายเรื่อง "ข้อมูลใหม่ จารึกเมืองลำพูนจากฐานพระพุทธรูปบุเงิน" โดย นางสาวชรพร  อังกูรชัชชัย นักภาษาโบราณชำนาญการ กรมศิลปากร ๑๕.๓๐ - ๑๕.๔๕ น.     พักรับประทานอาหารว่าง ๑๕.๔๕ - ๑๗.๐๐ น.     การบรรยายเรื่อง "ข้อมูลใหม่ เมืองหละปูน จากหลักฐานจารึกและเอกสารโบราณ" โดย ดร.ชัปนะ ปิ่นเงิน  สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่     หมายเหตุ กำหนดการและเวลาอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม  
pav

/

next

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง