กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   หอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมคำ

หอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมคำ

18 กันยายน 2566

ชื่นชอบ 653

14,471 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

เป็นสถานที่จัดแสดงผลงานการเก็บรวบรวมวัตถุโบราณของหลวงพ่อพระธรรมวิมลโมลี ซึ่งหลวงพ่อได้พบซากปรักหักพังและประติมากรรมในยุคหินทรายของเมืองพะเยา อันเป็นที่มาทำให้หลวงพ่อได้เริ่มเก็บรักษาสมบัติของชาติเหล่านี้ไว้ ณ วัดศรีอุโมงค์คำ จนย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำ ในปี พ.ศ.2512 จึงย้ายโบราณวัตถุทั้งหมดมาเก็บรักษาต่อ ณ วัดแห่งนี้

ปี พ.ศ.2532 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมวัดศรีโคมคำ ทรงนำนักเรียนนายร้อย จปร. มาศึกษาวัตถุโบราณที่หลวงพ่อได้รวบรวมไว้ ทรงมีพระราชดำริที่จะให้สร้างพิพิธภัณฑ์ขึ้นเพื่อเป็นการรักษาคุณค่าของมรดกวัฒนธรรมและเก็บรักษาโบราณวัตถุให้เรียบร้อย ใช้เป็นประโยชน์ในการศึกษา และก่อให้เกิดความภาคภูมิใจของประชาชนในท้องถิ่น จึงทรงมีพระราชกระแสให้จัดหาทุนเพื่อก่อตั้งพิพิธภัณฑ์เมืองพะเยา โดยในชั้นต้นทรงมีพระราชดำริให้ทอดผ้าป่าเพื่อหาทุนทรัพย์สำหรับดำเนินการก่อสร้างและทรงรับเป็นองค์ประธานทอดผ้าป่าเพื่อหาทุนก่อตั้งพิพิธภัณฑ์เมืองพะเยา

การจัดแสดงในหอวัฒนธรรมฯ เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับวิถีชีวิต ภูมิปัญญา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี และชีวประวัติบุคคล แบ่งการจัดแสดงออกเป็น

ด้านนอก ปลูกพันธุ์ไม้พื้นเมืองและไม้หายาก เพื่อใช้เป็นแหล่งศึกษาและพักผ่อนหย่อนใจของผู้ที่เข้ามาชมและมาพักผ่อนทั่วไป

ภายในอาคาร แบ่งการจัดแสดงเป็น 13 ส่วน ได้แก่

ส่วนที่ 1 กว๊านพะเยา จัดแสดงประวัติของกว๊านพะเยาในอดีต รวมถึงวิถีชีวิตการประมงในเมืองพะเยา จุดเด่นของห้องนี้ คือ เป็นห้องที่โล่งสามารถมองทะลุกระจกใสมองเห็นภูมิทัศน์ของกว๊านพะเยาได้อย่างชัดเจน ยังมีการจำลองโครงกระดูกมนุษย์อายุราว 800 กว่าปี ซึ่งขุดค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2547 ณ เมืองโบราณเวียงลอ

ส่วนที่ 2 ลานศิลาจารึก จุดเด่นของห้องนี้ คือ หลวงพ่อพุทธเศียร เศียรพระพุทธรูปหินทรายขนาดใหญ่ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 20-21 ถือได้ว่าเป็นพระพุทธรูปหินทรายที่มีพุทธลักษณะสวยงามที่สุด ตามแบบศิลปะหินทรายสกุลช่างพะเยาในยุคต้นที่ได้รับอิทธิพลจากทางสุโขทัย นอกจากนี้ยังมีหลักศิลาจารึก ส่วนใหญ่เป็นหินทรายอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20-22

ส่วนที่ 3 พะเยาก่อนประวัติศาสตร์ จัดแสดงวัตถุโบราณในยุคหินของคนในพื้นที่จังหวัด ห้องจัดแสดงมีการใช้อิฐและกระเบื้องดินเผาตกแต่งพื้นและผนังเป็นการจำลองบรรยากาศคล้ายเมืองในยุคโบราณ

ส่วนที่ 4 พะเยายุคต้น เน้นการเผยแพร่ประวัติพะเยาในแคว้นล้านนา จัดแสดงพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ศิลปะล้านนา สกุลช่างพะเยา เป็นต้น

ส่วนที่ 5 พะเยายุครุ่งเรือง เป็นห้องจัดแสดงเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่งดงามที่สุดในบรรดาห้องทั้งหมดของหอวัฒนธรรมฯ เนื่องจากมีการจัดแสดงศิลปะและวัตถุโบราณในยุครุ่งเรืองของเมืองพะเยา ห้องนี้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าห้องพระ

ส่วนที่ 6 เครื่องปั้นดินเผา ที่ขุดค้นพบเป็นจำนวนมากในจังหวัดพะเยา อาทิ จาน ชาม ถ้วยหรือไห ที่ถูกค้นพบมากที่สุดหนึ่งในจำนวนนั้นคือ “ไหบูรณคตะ” ชาวบ้านใช้บูชาหน้าพระ ถือเป็นไหที่สวยงามที่สุดในหอวัฒนธรรมนิทัศน์ฯ

ส่วนที่ 7 พะเยายุคหลัง จัดแสดงเรื่องราวและวัตถุโบราณของพะเยาหลังถูกพม่ายึดครองและผนวกเข้ากับอาณาจักรล้านนา

ส่วนที่ 8 กบฏเงี้ยว จัดแสดงเรื่องราวเงี้ยวบุกปล้นเมืองพะเยาเมื่อปี พ.ศ.2445

ส่วนที่ 9 ประวัติพระเจ้าตนหลวง จัดแสดงภาพเก่า ฝีมือการวาดโดย จ ขันธะกิจ บิดาของสล่าแดง ซึ่งเป็นภาพเล่าเรื่องราวพระพุทธเจ้ากับพญานาคในกว๊านพะเยา และการก่อสร้างพระเจ้าตนหลวง พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์อันเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวพะเยาและชาวล้านนา

ส่วนที่ 10-11 วิถีและภูมิปัญญาพะเยากับความหวัง จัดแสดงเรื่องราวของบุคคลสำคัญของเมืองพะเยาและจัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียนเกี่ยวกับเมืองพะเยา

ส่วนที่ 12 คนกับช้าง จัดแสดงเรื่องราวของช้างในด้านต่าง ๆ ในล้านนา วิถีชีวิตของช้าง ความเชื่อ คติทางพระพุทธศาสนา นอกจากนี้ยังมีของแปลกอายุไม่ต่ำกว่า 3,000 ปี อาทิ ซากฟอสซิลช้าง 4 งา อายุราว 15 ล้านปี ซากฟอสซิลปู 2 ตัวที่กอดกันตาย

ส่วนที่ 13 คลังวัตถุโบราณ ห้องเก็บวัตถุโบราณที่ยังไม่ได้จัดเป็นหมวดหมู่ และประดิษฐาน “หลวงพ่อพระเจ้าองค์ดำ” พระพุทธรูปเนื้อสัมฤทธิ์แก่ทองคำ

     

บริหารจัดการ

วัดและชุมชน

ประเภทพิพิธภัณฑ์

วิถีชิวิต, วัฒนธรรม, ประเพณี, ภูมิปัญญา และ ศาสนา

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

1. ฉัตรทองคำ 5 ชั้น (หนัก 7 บาท 1 สลึง) ซึ่งมีผู้มีจิตศรัทธานำขึ้นทูลถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อคราวเสด็จเปิดหอวัฒนธรรมนิทัศน์ฯ เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ.2539 เพื่อจัดแสดงในหอวัฒนธรรมนิทัศน์ฯ สืบไป เป็นฉัตรที่ได้จากวัดร้าง มีลวดลายวิจิตรงดงามยิ่งนัก

2. เศียรพระพุทธรูปหินทรายขนาดใหญ่ ที่มีพุทธลักษณะสวยงามที่สุด  เป็นศิลปะหินทรายสกุลช่างพะเยายุคต้น ที่ได้รับอิทธิพลจากทางสุโขทัย อยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่  20-21 มีพุทธลักษณะออกไปทางพระพุทธรูปของสุโขทัยหมวดใหญ่ คือพระพักตร์รูปไข่ค่อนข้างยาวรี  การทำพระขนงเป็นแผ่นโค้งอย่างมาก แต่พระโอษฐ์เริ่มปรากฏลักษณะที่เป็นพื้นเมืองของช่างพะเยา 

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

หอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมคำ ตำบลเวียง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา 56000
โทรศัพท์ : 054-431 053
เว็บไซต์ : https://www.phayaonitathall.th.gs

วันและเวลาทำการ

ทุกวัน เวลา 08.30 - 16.30 น.

ค่าเข้าชม

ผู้ใหญ่                      20  บาท

เด็ก/พระ/เณร            10  บาท

ชาวต่างชาติ             40  บาท

การเดินทาง

1. รถยนต์ส่วนตัว เส้นทางที่ 1 ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเซีย) ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา-อ่างทอง-สิงห์บุรี-นครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก-ลำปาง เข้าสู่ตัวเมืองพะเยา ระยะทาง 969 กิโลเมตร

เส้นทางที่ 2 ใข้ทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเซีย) ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา-อ่างทอง-สิงห์บุรี นครสวรรค์-พิษณุโลก-แพร่ ผ่านอำเภองาว เข้าสู่ตัวเมืองพะเยา ระยะทาง 782 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 9 ชั่วโมง

2. รถโดยสารประจำทาง เส้นทางกรุงเทพฯ-พะเยา ทั้งรถโดยสารปรับอากาศและรถธรรมดาออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวัน

 

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

กรณีมาเป็นหมู่คณะกรุณาติดต่อกับเจ้าหน้าที่ก่อนล่วงหน้า

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีลานจอดรถ

6

แบ่งปัน

กิจกรรม

11 ก.ค. 2565

09 กรกฎาคม 2565
เสวนาวิชาการ 105 ปี ชาตกาล พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ วันที่ 11 กรกฎาคม 2565 เวลา 13.00 น. ณ หอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมคำ Live สดผ่านทาง Facebook: หอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา
pav

/

next

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง