กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑ์เรือนคำเที่ยง สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์

พิพิธภัณฑ์เรือนคำเที่ยง สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์

27 พฤศจิกายน 2562

ชื่นชอบ 325

16,144 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

"เรือนคำเที่ยง" เป็นเรือนเครื่องสับแบบล้านนาไทยดั้งเดิม ที่เรียกกันทั่วไปว่า "เรือนกาแล" ในอดีตเรือนหลังนี้ได้สร้างขึ้นบริเวณริมฝั่งแม่น้ำปิง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.2391 ผู้สร้าง คือ นางแซ้ด เป็นลูกหลานสืบเชื้อสายธิดาเจ้าเมืองแช่ ชาวไทลื้อจากแคว้นสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ซึ่งได้ถูกกวาดต้อนมาอยู่เชียงใหม่ในยุค เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง สมัยพระเจ้ากาวิละเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ 

 

 

ลูกหลานของนางแซ้ดได้อาศัยเรือนหลังนี้เรื่อยมา จนกระทั่ง พ.ศ.2506 นางกิมฮ้อ นิมมานเหมินทร์ ผู้เป็นเจ้าของเรือนในขณะนั้นได้มองเห็นวามสำคัญและคุณค่าของศิลปะล้านนาไทยที่นับวันจะสูญสลายไปตามกาลเวลา จึงมอบเรือนเก่าแก่ของตระกูลหลังนี้ให้แก่สยามสมาคมฯ จัดตั้งเป็น พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์วิทยา 

ชื่อ "เรือนคำเที่ยง" ตั้งขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่มารดานางกิมฮ้อ คือ นางคำเที่ยง อนุสารสุนทร 

 

เรือนคำเที่ยง มีลักษณะของเรือนล้านนาโดยยกใต้ถุนสูง มีพื้นที่ประกอบด้วย ห้องนอน เติ๋น(พื้นที่อเนกประสงค์สำหรับนั่งเล่น รับรองแขก รับประทานอาหาร เป็นต้น) ชาน  ครัว  ฮ้านน้ำ  ยุ้งข้าว ภายในแต่ละห้องจัดแสดงเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวล้านนา เช่น 

  • ส่วนจัดแสดงเครื่องเซ่นไหว้ผีปู่ย่า 
  • แผ่นไม้แกะสลัก
  • ผ้ายันต์ 
  • เครื่องทองโบราณ
  • เครื่องครัว
  • ใต้ถุนเรือนจัดแสดงเกี่ยวกับเครื่องมือในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม  การทอผ้า 

บริหารจัดการ

มูลนิธิ/มูลนิธิไม่แสวงหาผลกำไร

ประเภทพิพิธภัณฑ์

ชีวประวัติ, ประวัติศาสตร์ และ โบราณคดี

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

ตาแหลว : ไม้สานศักดิ์สิทธิ์ประกอบพิธีแฮกนาของชาวเหนือ

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ เลขที่ 131 ซอยสุขุมวิท 21 ถนนอโศกมนตรี แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
โทรศัพท์ : 02-661 6470-3
โทรสาร : 02-258 3491
เว็บไซต์ : http://www.siam-society.org
อีเมล : info@siam-society.org

วันและเวลาทำการ

เปิดวันอังคาร-วันเสาร์ เวลา 09.00 - 17.00 น.

ค่าเข้าชม

คนไทย

  • ผู้ใหญ่ 50 บาท
  • เด็ก เข้าชมฟรี

ชาวต่างชาติ 100 บาท

การเดินทาง

  • รถโดยสารประจำทางสาย 38, 98, 136, 185
  • รถไฟฟ้ BTS : สถานีอโศก (ทางออกที่ 3) 
  • รถไฟฟ้า MRT : สถานีสุขุมวิท (ทางออกที่ 1)

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

ข้อมูลสำหรับผู้พิการ

ห้องน้ำสำหรับผู้พิการ

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีลานจอดรถฟรี

7

แบ่งปัน

กิจกรรม

01 พ.ย. 2567

01 ธ.ค. 2567

19 กันยายน 2567
เนื่องในวาระครบรอบ 120 ปี แห่งการก่อตั้ง สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอเชิญชมการแสดงวาไรตี้โชว์โอเปร่า ชุด “1907: Rama V European Operatic Journey” ระหว่างวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 – 1 ธันวาคม 2567  ณ หอประชุมสยามสมาคมฯ ถนนอโศกมนตรี (สุขุมวิท 21)   เนื้อหาในการแสดงได้แรงบันดาลใจมาจากโอเปร่าที่ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ทอดพระเนตร ระหว่างเสด็จพระราชดำเนินเยือนทวีปยุโรปเมื่อปี พ.ศ.2450 และปรากฏรายละเอียด อยู่ในหลายบทหลายตอนของพระราชหัตถเลขาที่พระราชทานแก่พระราชธิดา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี หรือที่ต่อมาได้รับการรวมเล่มและตีพิมพ์ในชื่อ “พระราชนิพนธ์ไกลบ้าน”   โดยคณะทำงานได้ศึกษาเอกสารทางประวัติศาสตร์หลายชิ้นเพื่อระบุชื่อเรื่องและข้อมูล เกี่ยวกับการแสดง ผ่านการค้นคว้าในฐานข้อมูลจดหมายเหตุประเทศฝรั่งเศส อิตาลี และอังกฤษ จนพบหนังสือพิมพ์และเอกสารที่เผยแพร่กำหนดการแสดงมหรสพในวันและสถานที่ ซึ่งตรงกับข้อมูลในพระราชหัตถเลขา การสืบค้นเดียวกันนี้ยังเผยให้เห็นข้อเท็จจริงอื่นๆ ที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นรายนามนักแสดง คำวิจารณ์การแสดงของสื่อมวลชน ภาพการแสดงบนเวที  ภาพออกแบบฉากและเสื้อผ้า   นอกจากท่านผู้ชมจะได้เพลิดเพลินกับบางฉากของโอเปร่าที่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็น La traviata และ Madama Butterfly แล้ว ยังจะได้รับชมบางส่วนของโอเปร่าที่หาฟังได้ยากในปัจจุบัน อย่างโอเปร่าภาษาฝรั่งเศสเรื่อง Fortunio ของ André Messager และ Ariane ของ Jules Massenet รวมไปถึงโอเปร่าภาษาอิตาเลียนเรื่อง Cristo alla Festa di Purim ซึ่งสยามสมาคมฯ ได้รับสำเนาต้นฉบับ vocal score มาจากห้องสมุดสถาบันดนตรีแห่งชาติ  Accademia Nazionale di Santa Cecilia กรุงโรม ประเทศอิตาลี   รอบการแสดง - วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน 2567 เวลา 19.00 น. - วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน 2567 เวลา 19.00 น. - วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567 เวลา 19.00 น. - วันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม 2557 เวลา 16.00 น.   ราคาบัตร ราคาบัตร 2,000 บาท (ทุกที่นั่ง ไม่ระบุที่นั่ง) รอบพิเศษเฉพาะนักเรียน นักศึกษา วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2567 เวลา 16.00 น. ราคาบัตร 600 บาท (ทุกที่นั่ง ไม่ระบุที่นั่ง)  . เปิดจำหน่ายบัตรแล้ววันนี้ ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่เว็บไซต์สยามสมาคมฯ https://thesiamsociety.org/120th-anniversary-special.../ สำรองบัตรการแสดง opera@thesiamsociety.org หรือโทรศัพท์. 02-661-6470  (เฉพาะเวลาทำการ อังคาร-เสาร์ 9.00 - 17.00 น.)
pav

/

next