กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ อพวช.

พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ อพวช.

06 กุมภาพันธ์ 2566

ชื่นชอบ 67

14,194 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

 

พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้รับการพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๔๖ เพื่อให้บริการความรู้ และให้เห็นถึงประโยชน์ ความสำคัญของเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศต่อการดำรงชีวิตประจำวันและการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ  ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงนิทรรศการที่เล่าเรื่องราววิวัฒนาการของเทคโนโลยีการสือสารนับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงยุคปัจจุบัน  และเบื้องหลังวิวัฒนาการทั้งหมดคือ ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์นั่นเอง ซึ่งทั้งหมดนี้ถูกนำเสนอด้วยเทคนิค แสง สี เสียง อันทันสมัย ประกอบชิ้นงาน เครื่องเล่นทางวิทยาศาสตร์  สื่อประสมเชิงตอบโต้ เสริมด้วยกิจกรรมการเรียนรู้หลายประเภท  เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ไปกับการเรียนรู้ภายในพิพิธภัณฑ์.

 

  • โซน 1 ประตูสู่วิวัฒนาการเทคโนโลยีสารสนเทศ

ก้าวเข้าสู่เรื่องราวแห่งวิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นหนึ่งในฟันเฟืองสำคัญที่ช่วยผลักดันให้มนุษย์มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นนับแต่อดีต ปัจจุบันและจะเป็นเช่นนี้ต่อไปในอนาคต

Highlight : นักเล่าเรื่องแห่งนวัตกรรมถ่ายทอดเรื่องราวของการสื่อสารต่าง ๆ ผ่านใบหน้า ด้วยเทคนิคแสง สี เสียง อันทันสมัย

 

  • โซน 2 การสื่อสารยุคก่อนประวัติศาสตร์

พบกับจุดเริ่มต้นแห่งการสื่อสารที่แสดงให้เห็นศักยภาพของมนุษย์ในการคิดค้น หาวิธีการ เครื่องมือต่างๆ ในการเอาชนะข้อจำกัดต่าง ๆ เพื่อบรรลุภารกิจในการสื่อสาร โดยมนุษย์ในสมัยนั้นไม่อาจรู้ได้ว่า สิ่งที่คิดค้นนั้น ได้กลายเป็นก้าวแรกสู่เทคโนโลยีสารสนเทศที่ช่วยเปลี่ยนโลกถัดจากนี้ไปแบบก้าวกระโดด

Highlight : การบันทึก เป็นการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารอย่างหนึ่ง ในอดีต มนุษย์คิดค้นวิธีและอุปกรณ์การบันทึกไว้หลากหลายชนิด

 

  • โซน 3 การสื่อสารยุคอิเล็กทรอนิกส์

ตื่นตาตื่นใจไปกับเทคโนโลยีการสื่อสารที่เกิดขึ้นหลังการค้นพบไฟฟ้าและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่ง เปรียบเสมือนกุญแจไขกล่องนวัตกรรมด้านการสื่อสาร อุปกรณ์สื่อสารที่ถูกพัฒนาขึ้นเหล่านี้ได้ ย่อโลกการสื่อสารให้เล็กลงและมีคุณภาพมากขึ้นทั้งภาพและเสียง จนอาจกล่าวได้ว่าในยุคนี้ ระยะทางอาจเป็นเพียงอุปสรรคเล็ก ๆ ด้านการสื่อสารเท่านั้น

Highlight : สนุกกับการ ย้อนอดีตไปดูว่าโทรศัพท์ยุคแรก ๆ ทำงานอย่างไร ก่อนจะมาเป็นโทรศัพท์ทันสมัยในยุคปัจจุบัน และร่วมสัมผัสประสบการณ์การทำงานในห้องบันทึกรายการโทรทัศน์ พร้อมเรียนรู้ว่า ภาพ เสียง สี จากที่หนึ่งมาปรากฏในโทรทัศน์ของเราได้อย่างไรและ เรียนรู้การทำงานทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง กว่าจะมาเป็นรายการโทรทัศน์ที่เราชม

 

  • โซน 4 การคำนวณ

เรียนรู้ “ระบบการคำนวณ” ที่ทำให้คณิตศาสตร์เปรียบเสมือนสิ่งมหัศจรรย์ที่ทำให้มนุษย์คาดการณ์เหตุในอนาคตได้ใกล้เคียงความจริงมาก เช่น เหตุภัยพิบัติต่างๆ การเคลื่อนที่ของวัตถุในอวกาศ ศาสตร์นี้ยังเป็นหัวใจสำคัญของ “ความเป็นอัจฉริยะ” ในประดิษฐกรรมเปลี่ยนโลกที่ชื่อว่า “คอมพิวเตอร์ “ อีกด้วย

Highlight

- ชมต้นแบบเครื่องคำนวณยุคแรก สู่ความปราดเปรื่องของ “คอมพิวเตอร์” แล้วฟันเฟืองทำงานอย่างไรจึงช่วยมนุษย์คำนวณตัวเลขมากมายได้

- รู้จักกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก ทำงานด้วยหลักการทางคณิตศาสตร์ ที่เรียกว่า “ลอจิกเกต” ซึ่งเปรียบเสมือนส่วนหนึ่งของสมองภายในเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากมาย 

 

  • โซน 5 คอมพิวเตอร์

ชมวิวัฒนาการเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ใช้ระบบคำนวณแบบแรงมนุษย์สู่ระบบอัตโนมัติ พร้อมรู้จักส่วนประกอบต่าง ๆ ที่ล้วนเป็นปัจจัยสู่ความอัจฉริยะของคอมพิวเตอร์

Highlight : เรียนรู้ชุดคำสั่งเบื้องหลังการทำงานอันซับซ้อนของคอมพิวเตอร์ และได้เห็นวิวัฒนาการของภาษาคอมพิวเตอร์ที่มีความเรียบง่ายมากขึ้นเรื่อย ๆ 

 

  • โซน 6 เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต

รู้จักประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อชีวิตมนุษย์ในด้านต่าง ๆ ที่เราอาจคาดไม่ถึง ทั้งการแพทย์ การศึกษา การคมนาคม การสื่อสาร ผ่านชิ้นงานสื่อประสมหลากแบบ 

Highlight : สัมผัสประสบการณ์จำลองการขับรถโดยใช้ระบบนำทาง ที่ช่วยพาเราสู่จุดหมายปลายทาง

 

 

บริหารจัดการ

รัฐวิสาหกิจ

ประเภทพิพิธภัณฑ์

เกษตร, วิทยาศาสตร์, การแพทย์, เทคโนโลยี, ชีวิตและธรรมชาติ

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ เทคโนธานี เลขที่ 39 หมู่ 3 ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ : 02-577-9999
โทรสาร : 02-577-9911
เว็บไซต์ : http://www.nsm.or.th/
อีเมล : info@nsm.or.th

วันและเวลาทำการ

เปิดให้บริการ 

  • วันอังคาร-ศุกร์ เวลา 9.30-15.00 น.
  • วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 9.30-17.00 น.

ปิดวันจันทร์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0 2577 9999 ต่อ 2122-2123

 

ค่าเข้าชม

1. ค่าเข้าชม 3 พิพิธภัณฑ์ สำหรับผู้ใหญ่ 100 บาท (ทั้งชาวไทย/ต่างชาติ)

  • พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
  • พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา
  • พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ

 

2. ค่าเข้าชม 1 พิพิธภัณฑ์ สำหรับผู้ใหญ่ 200 บาท (ทั้งชาวไทย/ต่างชาติ)

  • พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า

 

3. ค่าเข้าชม บัตรรวมทั้ง 4 พิพิธภัณฑ์ สำหรับผู้ใหญ่ 300 บาท (ทั้งชาวไทย/ต่างชาติ)

4. ฟรี ค่าเข้าชมสำหรับเด็ก นักเรียน นักศึกษาระดับปริญญาตรี (อายุไม่เกิน 24 ปี โปรดแสดงบัตร) และผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป

การเดินทาง

รถโดยสารประจำทางที่ผ่านหน้าปากทางคลองห้า (เส้นรังสิต - นครนายก) สาย ปอ. 538

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

กรณีจองเข้าชมแบบหมู่คณะ สามารถจองเข้าชมล่วงหน้าได้ที่ 02-577 9999 ต่อ 2122 – 2123

5

แบ่งปัน

กิจกรรม

25 ก.ค. 2566

27 ก.ค. 2566

24 กรกฎาคม 2566
การสื่อสารวิทยาศาสตร์มาเกี่ยวข้องอย่างไร กับ พิพิธภัณฑ์?? มิวเซียมไทยแลนด์ ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์แห่งชาติ  องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ(อพวช.)   . ชวนฟังเรื่อง "การสื่อสารวิทยาศาสตร์ ในมิติพิพิธภัณฑ์"  โดย ดร.ชนินทร์ สุริยกุล ณ อยุธยา : ผู้อำนวยการกองสื่อสารวิทยาศาสตร์ อพวช. วันพฤหัสบดีที่ 27 กรกฏาคม 2566 เวลา 14.00-15.00 น.  กดแจ้งเตือน เพจ Museum Thailand ไว้แล้วมาเจอกันนะครับ

25 พ.ค. 2566

22 ก.ค. 2566

25 พฤษภาคม 2566
เปิดรับสมัคร IT Special Workshop for Kids เดือน มิถุนายน – กรกฎาคม 2566 สำหรับเด็ก อายุ 5 – 9 ขึ้นไป  หลักสูตร 3 ชั่วโมง รับเกียรติบัตรเมื่อทำกิจกรรมครบ ณ พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ NSM   วันพุธที่ 7 มิ.ย. 2566 Coding GeoMath นักโค้ดสมองกล..หุ่นยนต์สร้างภาพ (9 ปีขึ้นไป) วันเสาร์ที่ 10 มิ.ย. 2566 จัดลำดับความคิด..ยอดนักวิทย์ตัวจิ๋ว (5-7 ปี) STEM Structure นักคิด..ภารกิจสั่นสะท้านเมือง (7 ปีขึ้นไป) วันพุธที่ 21 มิ.ย. 2566 Walker Robot นักสร้างหุ่นยนต์เดินได้ (9 ปีขึ้นไป) วันเสาร์ที่ 24 มิ.ย. 2566 Circuit Mission ภารกิจวิศวกรไฟฟ้าตัวน้อย (7 ปีขึ้นไป) Drone Multirotor ภารกิจวิศวกรอากาศยาน (9 ปีขึ้นไป) วันพุธที่ 5 ก.ค. 2566 นักเขียนโปรแกรมสุดล้ำ..นำวัดค่าคุณภาพอากาศ (9 ปีขึ้นไป) วันเสาร์ที่ 8 ก.ค. 2566 ตัวน้อยนักวิทย์ ฝึกคิดเป็นระบบ (5-7 ปี) Relay Robot นักสร้างหุ่นยนต์ยอดนักเตะ (9 ปีขึ้นไป) วันพุธที่ 19 ก.ค. 2566 Genius Robot นักโค้ดสมองกล..สร้างหุ่นยนต์อัจฉริยะ (9 ปีขึ้นไป) วันเสาร์ที่ 22 ก.ค. 2566 นักประดิษฐ์โคมไฟ DIY ด้วยเครื่อง Laser CNC (9 ปีขึ้นไป) นักดิจิทัลรุ่นเยาว์...ก้าวสู่โลก Metaverse (7 ปีขึ้นไป)   ค่าลงทะเบียน : 300 บาท/เรื่อง/คน (สมาชิก NSM ลด 10%) รับเพียง 30 คน/เรื่อง ดูรายละเอียดและการสมัคร https://www.nsm.or.th/nsm/th/node/45005 สอบถาม โทร. 0 2577 9999 ต่อ 2103

09 พ.ค. 2566

28 พ.ค. 2566

09 พฤษภาคม 2566
สร้างกิจกรรมเสริมศึกษาอย่างไร ให้เรียนรู้อย่างเพลิดเพลิน ถ่ายทอดเทคนิคการพัฒนา กิจกรรมเสริมศึกษาในพิพิธภัณฑ์ ให้ตอบสนองความต้องการ ของผู้ใช้บริการที่หลากหลาย พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้ปฏิบัติงาน  และนักการศึกษาผู้มากประสบการณ์ ใน Workshop: กิจกรรมเสริมศึกษาในพิพิธภัณฑ์   สำหรับ:  นักศึกษา ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ภัณฑารักษ์ บุคลากรด้านพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ตามอัธยาศัย ผู้ที่สนใจต้องการพัฒนากิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้   หลักสูตร 2 วัน : วันที่ 8-9 มิถุนายน 2566 **พร้อมรับเกียรติบัตร** ณ ห้อง IT Auditorium พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ  หากต้องการที่พักใกล้ อพวช. กรุณาติดต่อ 02 577 9999 ต่อ 2123 กิตติศักดิ์   ค่าลงทะเบียน: บุคคลทั่วไป 3,200 บาท (สมาชิก NSM ท่านละ 2,880 บาท) ดูรายละเอียดเพิ่มเติมและการสมัคร คลิก https://www.nsm.or.th/nsm/th/node/44972  หมดเขตรับสมัคร: วันที่ 28 พฤษภาคม 2566

07 ก.ค. 2565

31 ก.ค. 2565

07 กรกฎาคม 2565
HELLO, WORLD! มาสนุกกับโลกดิจิทัลกันนะ นิทรรศการ Digital Pops : ดิจิทัลเทคโนโลยีเพื่อสังคมที่ยั่งยืน   ท่องโลกคอมพิวเตอร์ ตรรกศาสตร์ และอัลกอลึทึมอย่างสนุกสนาน ค้นพบความมหัศจรรย์ของควอนตัมคอมพิวเตอร์ เขียนโปรแกรมบังคับหุ่นยนต์เพื่อปฏิบัติภารกิจ เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัล   ภายในนิทรรศการ ประกอบด้วย 7 โซน ดังนี้ 1. คอมพิวเตอร์(Computer) : การพัฒนา หลักการทำงาน องค์ประกอบ และ IBM 1620 คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของประเทศไทย 2. ตรรกศาสตร์ และอัลกอริทึม (Logic and Algorithm) 3. การเข้ารหัส(Coding) : Unplugged Coding, Computer Coding, เลขฐานสอง, ปัญญาประดิษฐ์ Machine Learning 4. การเขียนโปรแกรม(Programming) : ภาษาของคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ การเขียนโปรแกรม 5. คอมพิวเตอร์เชิงควอนตัม(Quantum Computer) 6. ทักษะความเข้าใจเทคโนโลยีดิจิทัล(Digital Literacy) : ทักษะดิจิทัล 9 ด้าน Blockchain กฎหมาย สังคมดิจิทัล IoT (Internet of Things) 7. ฮัลโหล, เวิลด์ (Hello, World) คำทักทายสะเทือนโลก   พร้อมให้เข้าชมแล้ววันนี้ ณ พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ อพวช. คลองห้า ปทุมธานี พิกัด https://goo.gl/maps/63yv1SAQoxDHgcMA9 พิพิธภัณฑ์เปิดให้บริการ วันพุธ-ศุกร์ เวลา 9.30-16.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 9.30-17.00 น. ปิดวันจันทร์-อังคาร   *ติดตามวันเวลาเปิดให้บริการพิพิธภัณฑ์ได้ที่ Facebook : พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ อพวช. สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2577 9999 ต่อ 2122-2123

30 ต.ค. 2564

14 ตุลาคม 2564
The First Time ever ครั้งแรกกับ อพวช. ที่เปิดให้ผู้เข้าชมร่วมผจญภัยในพิพิธภัณฑ์ กับนักวิชาการแบบใกล้ชิด ที่ปกติแล้วไม่เปิดให้เข้าชม กับกิจกรรม ❝Exclusive Tour with Curator❞ ต้อนรับการกลับมาเปิดพิพิธภัณฑ์ !!!   พบประสบการณ์สุดพิเศษ โปรแกรมที่ 1: Collection Tour เปิดคลังมหาสมบัติในพิพิธภัณฑ์ให้คุณได้สัมผัสแบบใกล้ชิด  เข้าชมวัตถุตัวอย่างและวัสดุอุเทศ ที่ปกติแล้วจะไม่ได้เปิดให้เข้าชม  พร้อมถ่ายภาพสุดชิคกับตัวอย่าง Collection เปิดกิจกรรมทุกวันเสาร์ที่ 16 / 23 / 30 ตุลาคม 64 วันละ 2 รอบเวลา ได้แก่ 10:00 – 11:30 น. / 14:00 – 15:30 น. จำนวน 12 คนต่อรอบ ณ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ (ตึกลูกเต๋า)   โปรแกรมที่ 3: หนึ่งวันบนดาวอังคาร (A Day On Mars) ผจญภัยและสัมผัสประสบการณ์เสมือนจริงบนดาวเคราะห์สีแดง เปิดกิจกรรมทุกวันเสาร์ที่ 16 / 23 / 30 ตุลาคม 64 เวลา 10:00 – 11:30 น. จำนวน 12 คนต่อรอบ ณ พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ   หมายเหตุ: กิจกรรมนี้มีค่าใช้จ่ายต่อรอบต่อพิพิธภัณฑ์ ดังนี้ ผู้ใหญ่ 300 บาท/คน/โปรแกรม เด็ก 200 บาท/คน/โปรแกรม จำกัดจำนวนคนในการเข้าร่วมกิจกรรม   การจองเข้าชม (จองล่วงหน้าเท่านั้น) ลิงก์ https://forms.gle/V1zq1cKdna1rLXgB8 สำนักบริการผู้เข้าชม โทร. 0 2577 9999 ต่อ 2140 หรือ 2123 E-mail nsm_mkt@nsm.or.th   หมายเหตุ : กรุณารอรับข้อความยืนยันการสมัครผ่านทาง E-mail หรือโทรศัพท์ ก่อนการชำระเงิน เจ้าหน้าที่จะยืนยันการสมัครไม่เกิน 1 วันทำการ ตามลำดับการลงทะเบียนในการจอง ชำระเงินล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วันก่อนวันที่เข้าร่วมกิจกรรม
pav

/

next

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง