กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑ์แมลง กรมวิชาการเกษตร

พิพิธภัณฑ์แมลง กรมวิชาการเกษตร

30 พฤศจิกายน 2566

ชื่นชอบ 576

16,955 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

พิพิธภัณฑ์แมลง กรมวิชาการเกษตร นับเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เก่าแก่ที่สุดและมีจำนวนแมลงมากที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่   ณ ตึกจักรทอง กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ

 

ประวัติของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดนัก ในด้านการเริ่มต้นรวบรวมตัวอย่าง แต่พบว่าเมื่อ พ.ศ.2313 Fabricius ชาวเดนมาร์ก ได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ Clerome arcesilaus ให้กับผีเสื้อของประเทศไทย และในปี พ.ศ.2469 Mr.W.R.S. Ladell ชาวอังกฤษเข้ามารับราชการในกระทรวงเกษตราธิการ ได้เก็บรวบรวมตัวอย่างทั้งแมลงทั่วไป และแมลงที่เป็นศัตรูพืช ตัวอย่างแมลงทั้งหมดที่ได้รวบรวมไว้ในครั้งนั้นถือว่า เป็นพื้นฐานในการเริ่มต้น การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์แมลงเป็นครั้งแรกของประเทศไทย

 

การเก็บตัวอย่างแมลงในสมัย Mr.W.R.S. Ladell ยังไม่จัดเป็นระบบเช่นในปัจจุบัน โดยจัดเก็บไว้ในหีบไม้วางเรียงซ้อนกันบนโต๊ะหรือใช้ไม้คอร์กปูเต็มลิ้นชัก และขีดเส้นแบ่งช่องๆ ปักแมลงเป็นแถวและมีป้ายชื่อกำกับ ต่อมาเมื่อ ม.ร.ว.จักรทอง ทองใหญ่ ได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าแผนกในปี พ.ศ.2478 ได้ปรับปรุงวิธีการจัดเก็บมาเป็นแบบ “Tray System” โดยแยกแมลงแต่ละชนิดใส่กล่อง จัดเก็บเรียงเข้าลิ้นชัก ลิ้นชักละ 4 แถว มีชื่อวิทยาศาสตร์(scienctific name) ติดไว้ข้างกล่อง และมีชื่อสกุล (generic name) ติดบนแผ่นไม้ ซึ่งใช้คั่นหมู่กล่องในแต่ละแถว อีกทั้งได้เปลี่ยนเข็มที่ใช้ปักแมลงเป็นแบบไม่เป็นสนิม (stainless steel) พร้อมทั้งได้มีการบันทึกข้อมูลด้านชีววิทยาและวิธีการเลี้ยงลงในสมุด “Breeding Lot” (BL)

 

นอกจากนี้ ม.ร.ว.จักรทอง ทองใหญ่ ยังเป็นผู้เริ่มต้นศึกษาอนุกรมวิธานของแมลงทับวงศ์ Buprestidae และแมลงชนิดอื่นๆ หากไม่สามารถจำแนกชื่อได้จะส่งไปที่ Imperial Institute of Entomology, British Museum (Natural History) ประเทศอังกฤษ ส่วนแมลงที่มีชื่อวิทยาศาสตร์จะจัดเก็บเข้าตู้เรียงตามอักษรของชื่ออันดับ(order) วงศ์(family) สกุล(genus) และชนิด(species) ปัจจุบันตัวอย่างแมลงเหล่านั้นยังคงอยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ แมลงบางชนิดเป็นแมลงที่มีค่าและหายากยิ่ง และบางชนิดไม่สามารถจับเพิ่มเติมได้อีก

 

พิพิธภัณฑ์แมลง เป็นหัวใจของงานวิจัยด้านกีฏวิทยาของประเทศ เพราะข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ เช่น ชื่อวิทยาศาสตร์ พืชอาหาร เขตการแพร่กระจาย ฯลฯ ของแมลงแต่ละชนิด มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่องานวิจัยด้านกีฏวิทยาแขนงอื่นๆ สำหรับพิพิธภัณฑ์แมลง กรมวิชาการเกษตร นอกจากจะเป็นแหล่งข้อมูลแมลงภายในประเทศแล้วยังเป็นศูนย์กลางงานด้านกีฏวิทยาระหว่างประเทศทั่วโลก

 

สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช มีนโยบายในการเก็บรักษาและพัฒนาพิพิธภัณฑ์แมลงให้ได้มาตรฐาน และมีการดำเนินงานเหมือนพิพิธภัณฑ์แมลงใหญ่ๆ ในต่างประเทศ ทั้งนี้ เพื่อช่วยงานวิจัยด้านอารักขาพืชให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันเป็นการสืบทอดเจตนารมณ์ของนักกีฏวิทยารุ่นแรกๆ ที่ได้ทุ่มเทความรู้ความสามารถ โดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยากในการสร้าง พิพิธภัณฑ์แมลง อีกทั้งได้ตระหนักถึงความสำคัญของ "พิพิธภัณฑ์แมลง" แห่งนี้ว่า ไม่เพียงแต่เป็นสมบัติล้ำค่าของกรมวิชาการเกษตรเท่านั้น แต่ยังคงเป็นสมบัติลำค้าของชาติที่ต้องรักษาไว้ด้วย”

 

พิพิธภัณฑ์แมลงแบ่งเป็น 2 ประเภท

พิพิธภัณฑ์แมลง – วิชาการ

มีการจัดระบบการเก็บ-รักษา ตามหลักมาตรฐานสากล แต่ไม่เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าชม ยกเว้นผู้ที่ติดต่อเพื่อขอปฏิบัติงานวิจัยเฉพาะกลุ่มแมลง มีความสำคัญดังนี้

(1) มีตัวอย่างแมลงที่จำแนกชนิดแล้ว 8,000 ชนิด กว่า 520,000  ตัวอย่าง สำหรับนักวิชาการ นักวิจัย ได้ศึกษา ค้นคว้า ตรวจสอบเชิงวิชาการ ทั้งแมลงศัตรูพืช แมลงที่มีประโยชน์และแมลงที่เป็นโทษ แมลงหายาก-ใกล้สูญพันธุ์ และแมลงที่สูญพันธุ์ไปแล้ว

(2) มีตัวอย่างแมลงต้นแบบ (type specimen) กว่า 100 ชนิด สำหรับนักอนุกรมวิธานแมลง ทั้งในและต่างประเทศได้ใช้ศึกษา ค้นคว้า เปรียบเทียบ

(3) มีข้อมูลแมลงที่พร้อมในการจัดทำบัญชีรายชื่อแมลงศัตรูพืช (pest list) และการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช (pest  risk analysis)  สำหรับนักวิชาการและผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการนำเข้า-ส่งออกสินค้าเกษตร

(4) มีบริการตรวจวิเคราะห์แมลง แก่เกษตรกรและบุคคลทั่วไปที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับแมลง

(5) มีนักอนุกรมวิธานแมลง ที่พร้อมให้คำปรึกษา / แนะนำในเรื่องแมลง

               

พิพิธภัณฑ์ – นิทรรศการแมลง

เปิดเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2545 สำหรับให้บุคคลทั่วไปเข้าชมความสวยงามและความรู้ทั่วๆไปเกี่ยวกับแมลง มีรายละเอียดดังนี้

(1) มีการบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาและการเจริญเติบโตของแมลง ระบบนิเวศวิทยาของแมลง โดยนำตัวอย่างแมลงจริงจัดแสดงในสภาพใกล้เคียงความเป็นอยู่ในธรรมชาติ อย่างสวยงาม น่าสนใจ

(2) มีการจัดแมลงอย่างเป็นระบบหลากหลายอันดับอย่างสวยงาม ชวนให้ติดตามชม รวมทั้งแมลงกินได้แมลงที่มีประโยชน์และแมลงที่เป็นโทษ แมลงหายาก-ใกล้สูญพันธุ์ และแมลงที่สูญพันธุ์ไปแล้ว

(3) มีแมลงที่มีชีวิต น่าเรียนรู้ น่าสนใจ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนให้ชมตลอดเวลา

 

นอกจากนี้ พิพิธภัณฑ์แมลง เป็นศูนย์ข้อมูลเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพของแมลงในประเทศไทย ให้บริการจำแนกชนิดแมลงแก่หน่วยงานต่างๆ เกษตรกรและประชาชนทั่วไป ดังนั้น หากท่านมีปัญหาต้องการทราบชื่อแมลง หรือมีแมลงระบาด หรือพบแมลงติดไปกับสินค้าเกษตรที่ส่งออกหรือนำเข้า โปรดติดต่อได้ที่ กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร 50 ถ.พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กทม. 10900 โทร. 0-2579-3053, 0-2579-4128

 

พิพิธภัณฑ์แมลง

แบ่งเป็น 2  ส่วน

1.ส่วนแมลงมีชีวิต

นำเสนอแมลงหลากหลายชนิด ทั้งชนิดแปลกๆ น่าตื่นตา แมลงสังคม ด้วง/หิ่งห้อย ตัวเต็มวัยหิ่งห้อย ตั๊กแตนกิ่งไม้ การเลี้ยงจิ้งหรีด เพื่อแสดงให้เห็นรูปร่างลักษณะ สีสัน ตลอดจนพฤติกรรมของแมลงที่มนุษย์สามารถพบเห็นได้ แต่อาจไม่เคยได้สังเกต และวีดีทัศน์แสดงวงจรชีวิต พฤติกรรม และความหลากหลายของชนิดแมลง

 

2. ส่วนแมลงไม่มีชีวิต

2.1 นำเสนอในรูปแบบพิพิธภัณฑ์

นำเสนองานพิพิธภัณฑ์แมลง กรมวิชาการเกษตร ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์แมลงที่เก็บรวบรวมแมลงมากที่สุดในประเทศไทย แสดงให้บุคคลทั่วไปได้รับรู้ว่าจะใช้ประโยชน์อะไรจากพิพิธภัณฑ์แมลงได้อย่างไร ประกอบด้วย

  • การบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาและการเจริญเติบโตของแมลง  ระบบนิเวศวิทยาของแมลง โดยนำตัวอย่างแมลงจริงจัดแสดงในสภาพใกล้เคียงความเป็นอยู่ในธรรมชาติ อย่างสวยงาม น่าสนใจ
  • การจัดหมวดหมู่แมลงอย่างเป็นระบบหลากหลายอันดับอย่างสวยงาม ชวนให้ติดตามชมรวมทั้งชนิดแมลงกินได้ แมลงที่มีประโยชน์ เช่น ตัวห้ำ และตัวเบียน แมลงที่เป็นโทษ เช่น ต่อหัวเสือ ด้วงน้ำมัน แมลงหายาก-ใกล้สูญพันธุ์ และแมลงที่สูญพันธุ์ไปแล้ว

2.2 ส่วนบริการ

นำเสนองานบริการตรวจวิเคราะห์แมลง หนึ่งในบริการที่มีผู้ใช้บริการจากพิพิธภัณฑ์แมลง กรมวิชาการเกษตร และเพื่อให้ผู้เข้าชมได้รู้จักแมลงที่เป็นประเด็นปัญหาในด้านเกษตร

  • จัดโต๊ะนักวิชาการ มีแว่นขยาย/กล้องจุลทรรศน์เพื่อตรวจแมลง
  • จัดแสดงเอกสารทั้งหมดที่พิพิธภัณฑ์แมลงจัดพิมพ์/เอกสารพืชสวนโลก
  • สาธิตการจัดรูปร่างแมลง

2.3 สื่อทักษะแมลงแสนสนุก

เป็นมุมให้ความรู้แก่เด็กๆที่เข้าชมหรือผู้สนใจ โดยจะนำเสนอเป็นมุมเอกสาร/การ์ตูนที่เกี่ยวกับแมลง การตัด ปั้น ต่อ (แมลง) และการสาน ถักทอแมลง เช่น การสานตั๊กแตนจากใบมะพร้าว

2.4 ทุกเรื่องราวแมลงถามไถ่กันได้

เป็นมุมที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมได้พบกับนักวิชาการ เพื่อคุย/ถามปัญหา/แลกเปลี่ยนความรู้ด้านแมลง

 

บริหารจัดการ

หน่วยงานราชการ

ประเภทพิพิธภัณฑ์

เกษตร, วิทยาศาสตร์, การแพทย์, เทคโนโลยี, ชีวิตและธรรมชาติ

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

แมลงหายากใกล้สูญพันธ์ุ

ด้วงไทรโลไบท์

 

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

50 ถ.พหลโยธิน สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทรศัพท์ : 025795583
โทรสาร : 029405396
เว็บไซต์ : https://www.facebook.com/insectmuseumthailand/
อีเมล : pprd@doa.in.th

วันและเวลาทำการ

เปิดวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 9.00-16.00 น.

(ปิดวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์)

ค่าเข้าชม

ไม่เสียค่าเข้าชม

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

กรณีเข้าชมในนามหน่วยงานหรือสถานศึกษา โปรดติดต่อที่หมายเลขโทรศัพท์ 025795583

23

แบ่งปัน

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง