แกลเลอรี
ข้อมูลพิพิธภัณฑ์
อนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจันและอุทยานค่ายบางระจัน สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่วีรชนบ้านบางระจันในการต่อสู้ แม้ว่าค่ายบางระจันจะต้องพ่ายแพ้แก่พม่า แต่วีรกรรมครั้งนั้นได้รับการจารึกอยู่ในประวัติศาสตร์ของไทยตลอดมา นามของวีรชนและค่ายบางระจันมักได้รับการยกย่อง และเป็นตัวอย่างแห่งความกล้าหาญ ความสามัคคี และความเสียสละ
ภายในอุทยาน ประกอบด้วย
1. อนุสาวรีย์วีรชน 11 ท่าน ได้แก่ นายจันหนวดเขี้ยว , ขุนสรรค์ , นายดอก , นายทองเหม็น , พันเรือง , นายโชติ , นายแท่น , นายเมือง , นายทองแก้ว , นายอิน และนายทองแสงใหญ่
2. ค่ายจำลองที่สร้างขึ้นใหม่ตามแบบโบราณ
3. อาคารศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์ และพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์
แบ่งนิทรรศการออกเป็น 4 ส่วนใหญ่ คือ
- ห้องแรก ชีวประวัติบุคคลวีรชนบ้านบางระจัน จัดแสดงภาพจำลองค่ายบางระจัน รายละเอียดเส้นทางการเดินทัพของพม่า รวมถึงยุทธวิธีในการรับมือกับทหารพม่า ตรงกลางห้องจัดแสดงภาพจำลองและประวัติวีรชนบ้านบางระจัน คนสำคัญท่านต่างๆ เช่น พระอาจารย์ธรรมโชติ , นายแท่น นายทองเหม็น , นายจันหนวดเขี้ยว บันทึกและรายละเอียดเหตุการณ์สำคัญในการรบทั้ง 8 ครั้ง ด้านในสุดของห้องจัดแสดงอาวุธและเครื่องใช้โบราณ เช่น ไหสี่หู กาน้ำ ขวานถาก ขวานโยน ฯลฯ
- ห้องนิทรรศการที่ 2 และ ห้องนิทรรศการที่ 3 “สิงห์บุรีในอดีต” (ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์) โดยจัดแสดงจากบันทึกประวัติศาสตร์และภาพการขุดค้นทางโบราณคดี รวมถึงจัดแสดงภาพจำลองข้าวของเครื่องใช้ , เกร็ดประวัติศาสตร์ และวิวัฒนาการในแต่ละยุคสมัย แบ่งเป็น
- การจัดแสดงมรดกทางวัฒนธรรมในรูปแบบของงานศิลปะที่เก่าแก่
- ประวัติความเป็นมาของหนังใหญ่วัดสว่างอารมณ์ มุมจำลองและแสดงตัวหนัง
- ประติมากรรมหัวสิงห์ในสมัยอยุธยา
- จำลองและแสดงขั้นตอนของการผลิตเครื่องปั้นดินเผาจากเตาเผาแม่น้ำน้อย
- จิตรกรรมฝาผนังวัดม่วง
- ห้องนิทรรศการที่ 4 จัดแสดงภาพจำลองวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำ โดยแบ่งพื้นที่ห้องจัดทางเดินเป็นเสมือนสะพานทอดกลับไปชมวิถีชีวิตริมฝั่งแม่น้ำแบบสมัยก่อน ในขณะเดียวกันก็เปรียบเทียบให้เห็นถึงปัจจุบันที่แม่น้ำลดความสำคัญลงไป การเดินทางเปลี่ยนใช้ถนนแทน โดยตึกรามบ้านช่องและเมืองเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
4.พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์วีรชนค่ายบางระจัน เป็นนิทรรศการถาวรเพิ่มเติม แบ่งส่วนจัดแสเดงเป็น 11 โซน ได้แก่
- โซนที่ 1 รู้จักสามัคคี ผ่านพระบรมฉายาลักษณ์และพระราชดำรัส
- โซนที่ 2 กรุงศรีอยุธยา แสดงลำดับเหตุการณ์สำคัญและหุ่นจำลองซากปรักหักพัง
- โซนที่ 3 อุโมงค์เวลาและห้องฉายภาพยนตร์
- โซนที่ 4 บางระจัน อู่ข้าวอู่น้ำ จำลองชัยภูมิของหมู่บ้าน แผนที่เส้นทางรวมพล
- โซนที่ 5 จำลองการสร้างค่าย ยุทธวิธีที่ชาวบ้านบางระจันหลอกทหารพม่ามาฆ่า
- โซนที่ 6 จำลองการฝึกรบ เรือนไทย ยุ้งข้าว และการทำเครื่องมือ ในค่าย
- โซนที่ 7 จำลองวิหารวัดโพธิ์เก้าต้น และภาพวาด 3 มิติ
- โซนที่ 8 จำลองการรบครั้งที่ 1-4 พร้อมห้องฉายภาพยนตร์ขนาดเล็ก
- โซนที่ 9 จำลองการรบครั้งที่ 5-8 พร้อมห้องฉายภาพยนตร์ขนาดเล็ก ตู้จัดแสดงอาวุธ
- โซนที่ 10 จัดแสดงประวัติวีรชนแต่ละท่าน ประวัติความเป็นมาของอุทยาน ผ่านเลเซอร์
- โซนที่ 11 ทรงดับทุกข์ในสังคมไทย ประวัติศาสตร์ผืนแผ่นดินไทย และภาพกรุงศรีอยุธยา
บริหารจัดการ
ประเภทพิพิธภัณฑ์
วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ
"อนุสาวรีย์วีรชนผู้กล้าชาวบางระจัน" เป็น อนุสาวรีย์ที่รัฐบาลและประชาชนร่วมกันสร้างขึ้น เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณของวีรชนค่ายบางระจัน โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพิธีเปิดเมื่อปี พ.ศ.2519
แผนที่
ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ
โทรศัพท์ : 036-520 030 / ฝ่ายส่งเสริมการท่องเที่ยวและกีฬา อบจ.สิงห์บุรี โทร. 095-268 4006
โทรสาร : 036-520 030
วันและเวลาทำการ
เปิดบริการทุกวัน
เวลา 08.00 - 17.00 น.
ค่าเข้าชม
ไม่เสียค่าเข้าชม
การเดินทาง
1.รถยนต์ จากกรุงเทพ ฯ สามารถไปได้ 3 เส้นทาง คือ
- ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 (ถนนสายเอเชีย) ผ่านอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดอ่างทอง จนถึงตัวเมืองจังหวัดสิงห์บุรี
- ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ผ่านอำเภอวังน้อย อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี จังหวัดลพบุรี แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 311 ผ่านอำเภอท่าวุ้ง เข้าสู่จังหวัดสิงห์บุรี
- ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ถึงอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เลี้ยวซ้ายเข้า เส้นทางหมายเลข 309 ผ่านจังหวัดอ่างทอง ไปจนถึงจังหวัดสิงห์บุรี
2.โดยรถประจำทางและรถตู้ สายกรุงเทพฯ-สิงห์บุรี ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ หมอชิต 2 ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวัน วันละหลายเที่ยว
การเดินทางในตัวจังหวัดสิงห์บุรี มีรถให้บริการจากสถานีขนส่งไปยังที่ต่างๆ ในตัวเมือง และต่างอำเภอ เช่น รถสองแถว รถสามล้อเครื่อง มอเตอร์ไซค์รับจ้าง จอดอยู่ตามจุดต่างๆ ในจังหวัด เช่น หน้าตลาดเทศบาล หน้าสถานีขนส่ง ค่าบริการมีทั้งแบบตกลงกันตามแต่ระยะทางและแบบเหมาจ่าย
เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป
เนื้อหาสำหรับเด็ก
รับบัตรเครดิต
รับจองล่วงหน้า
จดหมายขออนุญาต/โทรศัพท์แจ้งการนัดหมายก่อนล่วงหน้าเป็นเวลา 3 วันทำการ
สิ่งอำนวยความสะดวก
มีลานจอดรถ