กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

07 กรกฎาคม 2565

ชื่นชอบ 4,433

48,042 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็น พิพิธภัณฑ์พระมหากษัตริย์ เดิมตั้งอยู่ ณ ใต้พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้านหน้าอาคารรัฐสภา สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ได้พระราชทานเครื่องราชภัณฑ์ส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมาจัดแสดง และเปิดให้ประชาชนเข้าชมในปี พ.ศ.2523 ต่อมาสถาบันพระปกเกล้า ได้รับโอนอำนาจการดำเนินงานพิพิธภัณฑ์มาอยู่ในความดูแลรับผิดชอบ และได้รับความอนุเคราะห์จากกรมโยธาธิการให้ใช้อาคารอนุรักษ์ 3 ชั้น ซึ่งเป็นที่ทำการของกรม จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

พิพิธภัณฑ์แบ่งเป็น 7 ส่วนจัดแสดงและให้บริการ คือ

 

ห้องจัดแสดงชั้น 1

จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ และพระจริยวัตรของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ อาทิ พระราชประวัติขณะทรงพระเยาว์ การอภิเษกสมรส การเสด็จพระราชดำเนินประพาสทั้งในและต่างประเทศ โดยจัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ส่วนพระองค์และวัตถุที่มีความเกี่ยวเนื่องไว้ให้ชม

 

ห้องจัดแสดงชั้น 2

จัดแสดงพระราชประวัติก่อนการเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เช่น เสด็จเข้ารับการศึกษา ณ ประเทศในทวีปยุโรป ทรงผนวช ทรงอภิเษกสมรส นอกจากนี้ยังแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชจริยวัตรพระราชนิยมด้านต่างๆ เช่น ดนตรี กีฬา และภาพยนตร์ รวมทั้งพระราชประวัติหลังสละราชสมบัติ จนกระทั่งเสด็จสวรรคต และประวัติอาคารพิพิธภัณฑ์

 

ห้องจัดแสดงชั้น 3

จัดแสดงเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉลองพระองค์ พระมาลาและฉลองพระบาท รวมทั้งจัดแสดงพระราชกรณียกิจสำคัญด้านต่างๆ จัดแสดงแบบจำลองสะพานพระพุทธยอดฟ้าและปฐมบรมราชานุสรณ์ ของที่ระลึกที่จัดทำขึ้นในพระราชพิธีฉลองพระนคร 150 ปี

 

ศาลาเฉลิมกรุง

เป็นห้องฉายภาพยนตร์ โดยจำลองบรรยากาศจากโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุงซึ่งรัชกาลที่ 7 ทรงโปรดเกล้าฯจำลองจัดฉายภาพยนตร์ทั้งภาพยนตร์ทรงถ่าย ภาพยนตร์เก่าร่วมรัชสมัย และภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับการปกครอง

 

นิทรรศการหมุนเวียน

จัดแสดงนิทรรศการที่มีความน่าสนใจและมีการเปลี่ยนแปลงทุกๆ 6 เดือน

 

อาคารรำไพพรรณี

จัดแสดงรถยนต์พระที่นั่ง ครั้งประทับที่ประเทศอังกฤษ บริเวณลานอเนกประสงค์ชั้น 2

 

ศูนย์ข้อมูลพระปกเกล้า

เป็นห้องสมุดเฉพาะที่รวบรวมหนังสือ เอกสาร สื่อโสตทัศน์ ไมโครฟิล์มเอกสารกระทรวงต่างๆ สำเนาพระบรมฉายาลักษณ์ สำเนาภาพยนตร์ส่วนพระองค์ รวมทั้งงานวิจัยซึ่งรวบรวมเอกสารจากประเทศต่างๆ

บริหารจัดการ

หน่วยงานอิสระ

ประเภทพิพิธภัณฑ์

ชีวประวัติ, ประวัติศาสตร์ และ โบราณคดี

พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

  • พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้มีการจัดแสดงเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉลองพระองค์ พระมาลา และฉลองพระบาทส่วนพระองค์

 

  • ห้องฉายภาพยนตร์  จำลองบรรยากาศจากโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง ที่ทำให้ผู้เข้าชมได้สัมผัสกับบรรยากาศการชมภาพยนตร์ ซึ่งจัดฉายภาพยนตร์ส่วนพระองค์และหนังหายากที่ไม่สามารถหาชมได้ทั่วไป

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

เลขที่ 2 ถนนหลานหลวง แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทรศัพท์ : 02-280 3413-4
โทรสาร : 02-281 6820
เว็บไซต์ : http://www.kingprajadhipokmuseum.com/
อีเมล : kpimuseum@kpi.ac.th

วันและเวลาทำการ

วันอังคาร-วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์, วันปีใหม่ และวันสงกรานต์)

เวลา 09.00-16.00 น.

  • ศาลาเฉลิมกรุง จัดฉายวันละ 2 รอบ เวลา 10.30 น. และ 14.30 น.

ค่าเข้าชม

ไม่เสียค่าเข้าชม

การเดินทาง

  • รถโดยสารประจำทางสาย : 2, 15, 44, 47, 59, 60, 70, 79, 157, 169, 183, 503, 509, 511, 556
  • เรือโดยสารคลองแสนแสบ : ท่าเรือสะพานผ่านฟ้าลีลาศ
  • BTS : สถานีราชเทวี ต่อเรือโดยสารคลองแสนแสบ ลงท่าเรือสะพานหัวช้าง
  • MRT : สถานีเพชรบุรี ต่อเรือโดยสารคลองแสนแสบที่ท่าเรืออโศก

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ได้ปรับรูปแบบการให้บริการการเข้าชมเป็นหมู่คณะ 

ด้วยการเพิ่มช่องทางลงนัดหมายการเข้าชมล่วงหน้าผ่านระบบออนไลน์

เพื่อความสะดวกในการลงนัดหมาย ท่านสามารถลงนัดหมายล่วงหน้าได้ตามลิงค์นี้

https://sites.google.com/.../%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B2...

หรือสแกน QR Code จากภาพด้านล่าง

**หมายเหตุ : เป็นการทดลองการใช้ระบบจองออนไลน์เป็นหมู่คณะ พิพิธภัณฑ์ฯ

 ขออภัยหากเกิดข้อผิดพลาดมา ณ ที่นี้

 

ข้อมูลสำหรับผู้พิการ

มีลิฟต์คอยให้บริการสำหรับผู้เข้าชมที่นั่งรถเข็น

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีที่จอดรถ ด้านหลังอาคารอนุรักษ์ พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

96

แบ่งปัน

กิจกรรม

03 ก.ย. 2567

07 ก.ย. 2567

03 กันยายน 2567
เชิญร่วมกิจกรรมสุด Exclusive กับภัณฑารักษ์ Behind the Exhibition with Curator นิทรรศการหมุนเวียน “เผย วัตถุเคยซ่อน” ตอน ฉลองพระเนตรและการตรวจรักษา ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ   กิจกรรม Object Analysis เพื่อความเขาใจความหมายและบริบท ทางประวัติศาสตร์ของวัตถุจัดแสดง พร้อมเสริมสร้างความคิด วิเคราะห์และการตั้งคำถาม ผู้เข้าร่วมสามารถนำแว่นตาส่วนตัว มาร่วมกิจกรรมเพื่อเรียนรู้เบื้องหลังการจัดนิทรรศการไปด้วยกัน   วันเสาร์ที่ 7 กันยายน 2567 เวลา 10.00-11.30 น. และ 13.00-14.30 น. สถานที่: นิทรรศการหมุนเวียน ชั้น 1 พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว   กิจกรรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย จำกัดจำนวนรอบละ 20 ท่าน เท่านั้น  ลงทะเบียน: https://forms.gle/XUVJguuSMqTwHNzj6 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและสำรองที่นั่งได้ที่: โทรศัพท์ 0 2280 3413 4

21 ส.ค. 2567

26 ส.ค. 2567

22 สิงหาคม 2567
 มาแล้วๆๆๆ มาชวนทุกท่านตามหา “ภาพสำคัญกับวันวานพิพิธภัณฑ์พระปกเกล้าฯ” #1  ภาพนี้คือสถานที่ใด??.ก่อนมาเป็นพิพิธภัณฑ์สถานที่ในภาพเคยเป็นอะไรมาก่อนนะ หาคำตอบได้ที่ นิทรรศการออนไลน์ “เล่าเรื่องอาคารกับวันวานรอบพิพิธภัณฑ์”  พบแล้ว Cap ภาพทันที พร้อมส่งคำตอบได้ที่ :  https://forms.gle/pKoyaWXX6ZewjmwW7  ค้นหาคำตอบได้ : https://museumbuildingandsurroundingspace.com/%e0%b8%81.../ . ร่วมสนุกได้ตั้งแต่วันที่ 21 - 26 สิงหาคม 2567  กติกาและการจับรางวัล ท่านสามารถร่วมสนุกได้ 1 ครั้งต่อ 1 เกม ผู้ที่มีสิทธิ์ลุ้นรับรางวัลคือผู้ที่ตอบถูกจากการเล่นเกมแต่ละครั้ง จับรางวัลเพียง 1 ครั้งหลังเสร็จสิ้นกิจกรรมทั้งหมด โดยกิจกรรมครั้งนี้จะจัดขึ้น 4 ครั้ง ยิ่งร่วมสนุกมากยิ่งมีสิทธิ์ลุ้นรางวัลมากขึ้น  50 ผู้โชคดีลุ้นรับฟรี " หนังสือสถาปัตย์ใต้ร่มฉัตรพระปกเกล้าและพวงกุญแจพิพิธภัณฑ์ " หลังเสร็จสิ้นกิจกรรมทั้งหมด

07 ก.ย. 2567

19 สิงหาคม 2567
  เบื้องหลังนิทรรศการกับภัณฑารักษ์: บันทึกประวัติศาสตร์ผ่านวัตถุ Behind the Exhibition with Curator ขอเชิญเข้าร่วมกิจกรรมสุดพิเศษกับภัณฑารักษ์ในนิทรรศการหมุนเวียน "เผย วัตถุเคยซ่อน" ตอน "ฉลองพระเนตร และการตรวจรักษาของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ"   กิจกรรม Object Analysis จะช่วยให้คุณเข้าใจความหมายและบริบททางประวัติศาสตร์ของวัตถุจัดแสดงอย่างลึกซึ้ง พร้อมเสริมสร้างการคิดวิเคราะห์และการตั้งคำถาม       วันเสาร์ที่ 7 กันยายน 2567 เวลา 10.00-11.30 น. และ 13.00-14.30 น.   สถานที่: นิทรรศการหมุนเวียน ชั้น 1 พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว   หมายเหตุ: สามารถนำแว่นตาส่วนตัวมาร่วมกิจกรรมได้       กิจกรรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย       จำกัดจำนวนรอบละ 20 ท่าน เท่านั้น       สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและสำรองที่นั่งได้ที่: โทรศัพท์ 0 2280 3413 4 ต่อ 111   มาร่วมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่ไม่เหมือนใคร!       ** ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม - 6 กันยายน 2567 เวลา 9.00-16.00 น. **

15 ส.ค. 2567

31 กรกฎาคม 2567
เชิญชวนทุกท่านที่สนใจเข้าร่วมสัมมนาวิชาการพระปกเกล้าศึกษา ครั้งที่ 3   เรื่อง “พลวัต สว. ไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน” ในวันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม 2567 เวลา 13.00 – 16.00 นาฬิกา ณ ห้องสามศร 2 ชั้น 4 อาคารรำไพพรรณี พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว   มาเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนร่วมกันในประเด็น เรื่องพัฒนาการทางการเมืองไทย ในมิติสถาบันทางการเมืองนั่นก็คือ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ที่มีจุดเริ่มต้น และปรับเปลี่ยนตลอดมา นับตั้งแต่ทศวรรษ 2480 จนถึงปัจจุบัน กระแสสังคมได้ให้ความสนใจกับประเด็นดังกล่าว งานสัมมนานี้จึงขอเป็นพื้นที่ที่จะร่วมสืบสาวย้อนกลับไปดูพัฒนาการของการได้มาของ สว. ที่ควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงของการเมืองไทย ที่จะทำให้มองเห็นภาพชิ้นส่วนของอดีตของการเมืองไทย และนำเสนอกระแสสังคมที่ต่างคาดหวังกับสถาบันการเมืองดังกล่าว   ลงทะเบียนได้ที่ https://forms.gle/6RC2DTJZSJmW3Gey6   ปิดรับลงทะเบียนในวันที่ 14 สิงหาคม 2567 เวลา 16.00 น.   **ท่านที่ลงทะเบียนและเข้าร่วมภายในงานจะได้รับของที่ระลึกจากทางพิพิธภัณฑ์**
pav

/

next

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง