กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นแผ่นดินล้านนา เฉลิมพระเกียรติครบรอบ 84 พรรษา

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นแผ่นดินล้านนา เฉลิมพระเกียรติครบรอบ 84 พรรษา

02 กรกฎาคม 2562

ชื่นชอบ 647

5,263 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

ก่อตั้งเมื่อปี 2546 ซึ่งได้นำอาคารเก่าโรงเรียนประถมของวัดศรีชุม(เดิม) ที่ถูกยุบไป ในอ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา มาปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น จัดแสดงเกี่ยวกับศิลปวัตถุทางศาสนา วัฒนธรรม วิถีชีวิต และเครื่องใช้พื้นบ้านของล้านนา ภายใต้การดูแลของเทศบาลเมืองดอกคำใต้คำว่า “ดอกคำใต้” หมายถึง ดอกไม้สีเหลืองทองที่มาจากภาคกลาง (คำ = ทอง , ใต้ = เมืองทางใต้ของภาคเหนือ ซึ่งก็คือภาคกลาง) มีลักษณะคล้ายดอกกระกิน แต่ลำต้นมีหนาม ใบมีขนาดเล็กว่าใบมะขาม ยางของต้นนำมาเป็นกาวสำหรับติดกระดาษ

 

เป็นอาคารจัดแสดง 2 ชั้น ชั้นล่างเดิมเป็นใต้ถุนโล่งของโรงเรียน มีเสาที่ทำจากไม้ ซึ่งไม่แข็งแรงนัก เทศบาลจึงปรับปรุงเป็นเสาอิฐแทน ชั้นล่างประกอบไปด้วย 3 ส่วน ส่วนแรกตรงโถงโล่งๆ มี ชื่อว่า “นาฏดุริยาการล้านนา” จัดแสดงเครื่องดนตรีล้านนา เช่น กลองแอว หรือ กลองตึ่งโหน่ง ที่เรียกว่ากลองแอว เพราะลักษณะที่พบเห็นมีลักษณะคอดกิ่ว คล้ายเอว ในอดีตใช้ละเล่นในพิธีฟ้อนเล็บของเจ้านายฝ่ายเหนือ เพื่อต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง และงานบุญต่างๆ กลองชัยยะมงคล หรือ กลองบูชา ในอดีตใช้เฉพาะในวัง นำมาใช้ตีในช่วงเวลาออกศึก ชนะศึก หรือตีเพื่อขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล ปัจจุบันใช้งานเกี่ยวกับศาสนา และงานมงคลต่างๆ

 

ส่วนที่ 2  “สมุนไพรพื้นบ้าน” มีตู้จัดแสดงตัวอย่างสมุนไพร และป้ายนิทรรศการสมุนไพรต่างๆ ตามกำแพง เริ่มด้วย “สมุนไพรใกล้บ้าน โฮงบาลใกล้ตัว” ป้ายแต่ละแผ่นจะบอกเล่าเรื่องสมุนไพรพื้นบ้านที่นำมารักษาโรคต่างๆ  และส่วนที่ 3 ชั้นล่างของพิพิธภัณฑ์ เป็น “ห้องสมุดชุมชน” ที่เปิดไว้ให้ชาวบ้านหรือผู้ที่สนใจเข้ามาใช้หาความรู้ ภายในห้องสมุดอยู่ช่วงดำเนินการ ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ เมื่อเดินขึ้นไปชั้น 2 ของพิพิธภัณฑ์ สิ่งแรกที่พบ ก็คือ “รูปกรุพระเครื่องเมืองพะเยา” ติดเต็มฝาผนัง พิพิธภัณฑ์ได้นำมาจัดแสดง เนื่องจากจังหวัดพะเยาเป็นเมืองเก่าแก่ มีอายุประมาณ 900 กว่าปี มีพระเครื่องที่มีชื่อเสียงดังๆ ส่วนใหญ่นับเป็นยอดขุนพลที่มารวมตัวกัน

 

ห้องทางซ้ายมือ ชื่อว่า “พุทธศิลป์ แผ่นดินล้านนา” จัดแสดงพระพุทธรูปและเครื่องใช้ทางพระพุทธศาสนา ส่วนใหญ่เป็นสิ่งของที่ทางวัดและชาวบ้านนำมาบริจาค บางชิ้นไม่ทราบแหล่งที่มาของวัตถุ และวัตถุยังไม่มีการลงทะเบียน ปัญหาที่พบ คือ ขาดเจ้าหน้าที่เข้ามาดูแลอย่างจริงจัง วัตถุจัดแสดงที่สำคัญ ได้แก่  พระพุทธรูปหินทราย ศิลปะลำพูน พระพุทธรูปหินหยกขาว ศิลปะพม่า พระพุทธรูปไม้ เครื่องปั้นดินเผา ชามสังคโลก อิฐ ดาบโบราณ เครื่องใช้ทางพระพุทธศาสนา พับสา ตู้ขันต่อศีล ขันแก้วทั้งสาม สัตตภัณฑ์ “พับสา” หรือใบลาน ถ้าเรียกตามภาษากลาง พับสากล่าวถึงตำรายาโบราณ ทั้งยาพิษ ยาแก้ ยาสั่ง ฯลฯ ซึ่งมีแค่คนมีอายุและพระในชุมชนเท่านั้นที่ยังสามารถอ่านได้ เพราะการใช้ภาษาล้านนาถูกปิดกั้นและสูญหายไปเมื่อช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2  พับสาส่วนใหญ่จะถูกเผาทำลาย บ้างก็นำมาบดทำเป็นยา บ้างก็นำมาทำเป็นผงในส่วนประกอบของพระเครื่อง “ขันแก้วทั้งสาม” นิยมนำมาใส่ดอกไม้ธูปเทียนบูชาพระในวิหาร เนื่องจากในอดีตคนล้านนาไม่ใช้แจกัน และคนล้านนามีความเชื่อว่า ถ้ามีคนแก่ที่เจ็บไข้ได้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นหรือใกล้ตาย คนในบ้านจะมาขมากับขันแก้วทั้งสาม “ถ้าเป็นขอให้เป็น ถ้าตายขอให้ตาย” เพื่อให้คนๆนั้นไม่ต้องอยู่ทรมาน

 

“สัตตภัณฑ์” เป็นเชิงเทียนทั้ง 7 สำหรับบูชาพระในวิหาร ปัจจุบันมหาวิทยาลัยพะเยาได้นำมาเป็นสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย ในขณะเดียวกัน สัตตภัณฑ์เหล่านี้ได้ถูกนำไปประดับตามโรงแรมในกรุงเทพฯ บางครั้งก็ถูกนำไปทำที่วางรองเท้า ซึ่งคนล้านนารู้สึกว่าช้ำและเสียใจ ที่พวกเขาไม่เห็นค่าคุณค่าทางศิลปะของล้านนา นอกจากนี้ ภายในห้องพุทธศิลป์มีภาพเก่าต่างๆ ประดับไว้ เช่น ภาพครูบาคำอ้าย อดีตเจ้าอาวาสวัดบุญเรือง ภาพวิหารวัดบุญเรือง จากภาพวิหารของวัดนี้เป็นทรงล้านนาประยุกต์ เหมือนวัดพระเจ้าตุงหลวง ซึ่งพระอุโบสถจะจัดแบบโอ่โถ่ง ห้องต่อมา “ห้องเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ภาพประดับส่วนใหญ่ เป็นภาพที่พิพิธภัณฑ์เก็บสะสม บางภาพได้มาจากการบริจาคของชาวบ้าน บางภาพก็ซื้อ ภาพที่จัดแสดง ได้แก่ ภาพพระสูติบัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภาพพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมา จ.พะเยา ครั้งแรก เมื่อปี 2501 ภาพวัดศรีโคมคำ เป็นต้น และห้องสุดท้าย “ห้องพื้นบ้าน วิถีชีวิตล้านนา” จัดแสดงชีวิตความเป็นอยู่และข้าวของเครื่องใช้ของคนล้านนา เริ่มจาก “ครัวไฟจำลอง แบบดั้งเดิมของคนล้านนา” มีหลังคาที่มุงจากใบตองตึง ประกอบไปด้วย เตาไฟ หม้อไม้นึ่งข้าว หม้อข้าวหมาก ถาดข้าว ตู้ ไห เครื่องสีข้าว เตารีดโบราณ กี่ทอผ้า ถัดมาเป็นเครื่องมือการเกษตรและการประมง เช่น สุ่ม แห กะต้ำ [เครื่องมือจับปลาชนิดหนึ่ง ที่ล่อให้ปลาเข้าไปอยู่ ] ตุ้มดักปลาไหล [เครื่องมือดักปลาไหลโดยเฉพาะ มักจะทุบหอยทุบปู หรือเศษอะไรก็ได้ที่มีกลิ่นเหม็น ใส่ให้ลอยอยู่ในตุ้มและวางไว้ข้างน้ำ ปลาไหลก็จะเข้ามากินและติดกับ]เครื่องมือสล่า ถัดมาภายในห้องเดียวกัน เป็นป้ายนิทรรรศการเล่าประวัติความเชื่อเรื่องผี คนดอกคำใต้มีความเชื่อเรื่องผีมาก การนับถือผีเป็นความเชื่อดั้งเดิมที่มีอยู่มาก่อนที่พระพุทธศาสนาจะเข้ามาเผยแพร่ ในมุมมองของคนล้านนามีความเข้าใจว่า โลกของมนุษย์กับโลกของผีทับซ้อนกันอยู่และมีความเกี่ยวข้องกัน ซึ่งมีธรรมเนียมประเพณีการเลี้ยงผี เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทีที่ท่านได้คุ้มครองให้ปลอดภัย ส่วนสุดท้ายภายในห้อง“ห้องพื้นบ้าน วิถีชีวิตล้านนา” จัดแสดง “ตุง” รูปแบบต่างๆ (ภาษากลางเรียกว่า ธง) ตุงแต่ละแบบมีรูปร่าง สี การตกแต่ง วิธีการทำ และการใช้แตกต่างกันออกไป ตุงเป็นตัวแทนส่งวิญญาณให้ถึงสวรรค์ และนำวางไว้จุดที่สูงที่สุด “ตุงสีแดง มีความหมายว่า การตายโหง” “ตุงสามหาง ใช้ในงานศพ เพื่อนำทางคนตาย เปรียบเสมือนคำสอนทางพระพุทธศาสนาเรื่อง กฎไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา” “ตุงจ้อน้อยพันดวง ใช้ในงานพิธีมงคลต้องมีจำนวน 1000 อัน เช่น งานสืบชะตา งานเจ้าน้อยตุงใจ”

บริหารจัดการ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ประเภทพิพิธภัณฑ์

วิถีชิวิต, วัฒนธรรม, ประเพณี, ภูมิปัญญา และ ศาสนา

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

-

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

วัดศรีชุม(เดิม) ตำบลดอนศรีชุม อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา 56120
โทรศัพท์ : 054-491-490 (เทศบาล)

วันและเวลาทำการ

เปิดให้บริการวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30 น. - 16.00 น.

ค่าเข้าชม

ไม่เสียค่าเข้าชม

การเดินทาง

เดินทางมาพะเยาด้วยถนนพหลโยธิน ถึงอำเภอเมืองจะมีสี่แยกตลาดแม่ต่ำ ให้เลี้ยวขวาไปอำเภอดอกคำใต้ ขับตรงมาจนถึง สภ.ดอกคำใต้ แล้วเลี้ยวว้ายเลียบแม่น้ำร่องช้าง แล้วตรงไปเข้าไป 200 เมตร จะถึงวัดศรีชุม

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

-

ข้อมูลสำหรับผู้พิการ

-

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีที่จอดรถ

5

แบ่งปัน

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง