กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑ์เล่นได้

พิพิธภัณฑ์เล่นได้

19 มิถุนายน 2562

ชื่นชอบ 695

8,088 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

 

พิพิธภัณฑ์เล่นได้ เกิดจากการทำงานร่วมกันของชุมชนและนักพัฒนาสังคม(กลุ่มคนเฒ่าคนแก่) ที่นำความรู้ภูมิปัญญาของผู้สูงอายุ ออกมาถ่ายทอดสู่การพัฒนาเด็กและเยาวชน ผ่านภูมิปัญญาพื้นบ้าน เป็นเครื่องมือที่เรียกว่า ของเล่นพื้นบ้าน จนพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านภูมิปัญญา โดยมีคุณวีระพงษ์ กังวานนวกุล หรือ คุณเบิ้ม เป็นผู้ผลักดัน โดยได้รับความสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลป่าแดดในการสร้างอาคาร และชุมชนได้มอบที่สาธารณประโยชน์ เพื่อให้เป็นพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ของคนทุกเพศทุกวัย ตามวัตถุประสงค์

 

ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์ มีลักษณะเป็นศูนย์บริการข้อมูลการท่องเที่ยวชุมชน ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ในชุมชน และบ้านที่เป็นแหล่งผลิตสินค้าชนิดต่างๆ รวมถึงได้จัดแสดงของเล่นพื้นบ้านออกเป็น 7 ตู้การเรียนรู้ ให้เด็กๆ มานั่งเล่นเรียนรู้ สร้างจินตนาการ และสนุกไปกับของเล่น ประกอบด้วย

ตู้ที่ 1 "ฝูงสัตว์มีชีวิตด้วยจินตนาการ" เพื่อฝึกการสร้างจินตนาการด้วยของเล่น ที่ใส่กลไกในสัตว์ประเภทต่างๆ เช่น สัตว์ล้อ สัตว์วิ่ง และสัตว์ชัก

ตู้ที่ 2 "ลูกข่างไม้หลากหลากชนิด" เป็นของเล่นที่โปรดปรานของเด็กผู้ชาย หมุนได้โดยอาศัยการปั่น เช่นลูกข่างโว้ ลูกข่างสตางค์ ลูกข่างสะบ้า

ตู้ที่ 3 "ทั้งหมุน ทั้งบิน" จัดแสดงของเล่นที่อาศัยการสังเกตมาประดิษฐ์ เช่น กำหมุน จานบิน โหวด

ตู้ที่ 4 "ตีลังกา ลีลาเยี่ยม" จัดแสดงของเล่นที่มีท่าทางการกระโดดตีลังกาไปมา เช่น อมรเทพ บาร์สูง

ตู้ที่ 5 "เกมส์เชาวน์ปัญญาฝึกไหวพริบ" จัดแสดงของเล่น ที่เล่นจนลืมเวลาเช้าเวลาเย็น เช่น พญาลืมแลง พญาลืมงาย

ตู้ที่ 6 "เรียงร้อย สร้อยโมบาย ได้สมาธิ" จัดแสดงของเล่นที่ฝึกหัดการร้อยเชือกจากไม้แกะสลักรูปสัตว์ต่างๆ

 

ตู้ที่ 7 "จำลองวิถีชีวิตในอดีต" จัดแสดงของเล่นที่เล่าเรื่องราววิถีชีวิต เช่น ครกมอง ควายกินหญ้า และคนเลื่อยไม้

นอกจากของเล่นที่นำมาจัดแสดง ปัจจุบันของเล่นพื้นบ้านจากกลุ่มคนเฒ่าคนแก่ได้กลายเป็นสิ่งที่สร้างรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุในชุมชน ทั้งนี้พิพิธภัณฑ์ยังมีความร่วมมือกับชุมชนป่าแดดและชุมชนบริเวณรอบๆ สร้างเป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนให้กับเด็กๆ ทั้งหมด 6 แหล่งเรียนรู้ ดังนี้

1.พิพิธภัณฑ์เล่นได้ กลุ่มคนเฒ่าคนแก่ แหล่งเรียนรู้เพื่อการสืบสานและถ่ายทอดภูมิปัญญาการทำของเล่นพื้นบ้าน และเพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับเด็ก

2.ศูนย์อนุรักษ์และเพาะพันธุ์แมลงปีกแข็ง แหล่งเรียนรู้เพื่อการศึกษาวงจรชีวิตของด้วงกว่าง เพื่ออนุรักษ์และขยายพันธุ์แมลงต่อไป

3.ศูนย์ศึกษาป่าชุมชน แหล่งเรียนรู้และศึกษาวัฒนธรรมประเพณี การดูแลรักษาป่า การจัดการทรัพยากรเพื่อความยั่งยืน

4.หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง แหล่งเรียนรู้เพื่อศึกษาวิถีแห่งความพอดีและการพึ่งพาตนเองดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

5.กลุ่มทอผ้า แหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตด้านการทอผ้า เพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมใช้ผ้าพื้นเมือง

6.โบราณสถานและพิพิธภัณฑ์ดอยเวียงดอยวง แหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ อายุ 3,000 ปี

 

บริหารจัดการ

วัดและชุมชน

ประเภทพิพิธภัณฑ์

วิถีชิวิต, วัฒนธรรม, ประเพณี, ภูมิปัญญา และ ศาสนา

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

48 หมู่ 3 ตำบลป่าแดด อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย 57180
โทรศัพท์ : 0-5370-8070, 089-999-8537

วันและเวลาทำการ

ทุกวัน  เวลา 09.00 – 16.00 น.(ส่วนของอาคารพิพิธภัณฑ์)

ในส่วนของชุมชนเวลาตามสะดวกหรือทำการนัดหมาย

ค่าเข้าชม

ไม่เก็บค่าเข้าชม

การเดินทาง

1.โดยรถยนต์ สามารถเดินทางได้ 2 เส้นทาง ได้แก่ 
-เส้นทางนครสวรรค์-ลำปาง-พะเยา-เชียงราย จากรังสิตมาตามถนนพหลโยธิน (ทางหลวงหมายเลข 1) แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวง หมายเลข 32 ที่อำเภอวังน้อย ผ่านจังหวัดอยุธยา สิงห์บุรี ชัยนาท นครสวรรค์ กำแพงเพชร ตาก เลำปาง แล้วตรง พะเยา จนเข้าสู่เชียงราย รวมระยะทาง 830 กิโลเมตร

-เส้นทางนครสวรรค์-พิษณุโลก-แพร่-เชียงราย ใช้เส้นทางเดียวกับเส้นทางที่ 1 เมื่อไปถึงจังหวัดนครสวรรค์ ให้แยกเข้าจังหวัดพิษณุโลก อุตรดิตถ์ แพร่ พะเยา จนถึงเชียงราย ระยะทางประมาณ 804 กิโลเมตร 


2.รถโดยสารประจำทาง มีรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศเส้นทางกรุงเทพฯ – เชียงราย, กรุงเทพฯ – แม่สาย, กรุงเทพฯ – เชียงแสน, กรุงเทพฯ – เชียงของ ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ(หมอชิต) ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวันๆละหลายเที่ยว

 
3.โดยเครื่องบิน มีบริการเที่ยวบินประจำระหว่างกรุงเทพฯ-เชียงราย ทุกวัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ    1 ชั่วโมง

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะทำจดหมายขออนุญาต/โทรศัพท์แจ้งการนัดหมายก่อนล่วงหน้าเป็นเวลา 7 วัน

สามารถจัดกิจกรรมเฉพาะเฉพาะให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีลานจอดรถ

7

แบ่งปัน

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง