กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาชาวบ้าน โรงเรียนท่าช้างวิทยาคม

พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาชาวบ้าน โรงเรียนท่าช้างวิทยาคม

02 กรกฎาคม 2562

ชื่นชอบ 485

3,354 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

ในช่วงที่มีการก่อตั้งโรงเรียนเมื่อ พ.ศ.2521 บริเวณที่ตั้งโรงเรียนเป็นพื้นที่ของวัดร้างที่ชาวบ้านเรียกกันในชื่อวัดท่าขุนนาง ในตอนหลังเริ่มเรียกเพี้ยนมาเป็น “วัดท่านา (ร้าง)” ทำให้เมื่อช่วงที่ก่อสร้างอาคารเรียนมีการพบโบราณวัตถุอยู่เป็นจำนวนมากโดยเฉพาะชิ้นส่วนสถาปัตยกรรม (เศษอิฐ เศษกระเบื้องหลังคา) ชิ้นส่วนพระพุทธรูป  ชิ้นส่วนพระพิมพ์ดินเผา และชิ้นส่วนภาชนะดินเผา ทางโรงเรียนมีการเก็บรวบรวมไว้แต่ยังไม่ได้มีแนวคิดที่จะจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์

 

กระทั่งในช่วง พ.ศ. 2532 – 2533 เมื่อ อ.วิฑูร อาศัยสุข ย้ายมาจาก จ.อุทัยธานี และได้รับทุนสนับสนุนให้มีการจัดแสดงวัตถุที่สะสมไว้ อ.วิฑูร ที่สอนทางด้านศิลปะ มีพื้นฐานในเรื่องของการจัดแสดงก็เริ่มจัดแสดงวัตถุที่มี และออกขอรับบริจาควัตถุต่างๆ จากชาวบ้าน ในช่วงแรกไม่ค่อยประสบความสำเร็จนัก เนื่องจากชาวบ้านยังไม่เห็นหน้าตาของพิพิธภัณฑ์ เมื่อเริ่มจัดแสดงไปแล้วช่วงเวลาหนึ่งชาวบ้านและผู้ปกครองนักเรียนจึงเริ่มนำข้าวของมาบริจาคให้จนมีจำนวนมากมายดังที่เห็นในปัจจุบัน

 

อาคารจัดแสดงปรับปรุงมาจากห้องเรียนเดิม และปัจจุบันเป็นห้องเรียนวิชาศิลปะด้วย ทำให้ปีกหนึ่งของอาคารใช้จัดแสดงผลงานทางศิลปะของนักเรียน และอุปกรณ์ในการทำงานศิลปะ

วัตถุและเนื้อหาจัดแสดง

 

การจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้แบ่งเนื้อหาและวัตถุจัดแสดงได้เป็น 9 กลุ่ม ดังนี้

โบราณวัตถุในเขตวัดท่าขุนนางเป็นส่วนแรกที่พบเมื่อเดินเข้าสู่ห้องจัดแสดง ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนของพระพุทธรูปที่พบภายในโรงเรียน และเศษอิฐ และโบราณวัตถุประเภท ชิ้นส่วนกระเบื้องเชิงชาย และเศษภาชนะดินเผาก็แยกไปจัดแสดงแยกต่างหากออกไปด้วย

 

เครื่องมือเกี่ยวกับการตีเหล็กเป็นเครื่องมือที่ชาวบ้านใช้มาตั้งแต่อดีต (เทคนิคดั้งเดิม) กระทั่งถึงเครื่องจักรสมัยใหม่ เครื่องมือดั้งเดิมประกอบด้วย ทั่งตีเหล็ก ลูกพะเนิน หรือค้อนพะเนิน (ค้อนที่ใช้ในการตี) ค้อนแต่งมีด กระบอกสูบลม (ทั้งแนวตั้งและแนวนอน) ม้าหรือเหล็กที่ใช้รองในการแต่งทรงเครื่องมือ

 

ประเภทของมีดและดาบ เป็นเครื่องมือเหล็กที่ชาวบ้านผลิตขึ้น มีทั้งแท่นแสดงดาบโบราณ-ปัจจุบัน มีดประเภทต่างๆ อาทิ มีดที่ด้ามทำจากเขาควายดำ และเขาควายขาว มีดสอยเงาะ มีดกรีดยาง  มีดปอกกล้วย มีดผ่าทุเรียน มีดปอกอ้อย และ มีดหวดหญ้า เครื่องใช้ในครัวเรือน (ชุดมีดที่ใช้ในครัวเรือน,กระต่ายขูดมะพร้าว) เครื่องใช้ในการทำเกษตร (เคียวเกี่ยวข้าวทั้งแบบไทยและพม่า, คันฉายหรือขอฉาย) เครื่องใช้ในการจับสัตว์น้ำ (สระโอกรีดปลาหลด)

 

วิถีชีวิตในสังคมเกษตรกรรมจัดแสดงข้าวของในการทำเกษตรกรรมโดยเฉพาะการทำนา และเครื่องใช้ในการดักสัตว์ขนาดเล็ก (ดักนก ดักปลา และดักหนู) เครื่องจักสานที่ใช้ในบ้าน

สมุดไทยและสมุดข่อยถือว่าเป็นวัตถุเด่นอีกประเภทหนึ่งเป็นของที่ได้รับบริจาคมาจากผู้ปกครองของเด็กๆ ในโรงเรียน ตำราเหล่านี้มีทั้งหนังสือเทศน์ ตำราเรียน และกฎหมายในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องจากในอดีตคนในชุมชนแถบนี้เป็นผู้รู้หนังสืออยู่หลายคน จึงมีตำราพวกนี้อยู่ติดบ้าน

 

ยาไทยโบราณเป็นส่วนที่จัดแสดงยาไทยแผนโบราณที่เก็บรักษาไว้ในโหลแก้วจำนวนหลายโหล บรรจุตัวยา อาทิ ฝาง ขมิ้นชัน รากบัว ชะเอม เหงือกปลาหมอ และการบูร เป็นต้น

ภาชนะประเภทต่างๆ ประกอบด้วยภาชนะดินเผาทั้งที่ขุดเจอในบริเวณใกล้เคียง (หม้อตาล, หม้อดินเผา) ไหเคลือบสีน้ำตาล เครื่องถ้วยจีน และสังคโลก เป็นต้น

ชุดเหล็กสักยันต์เนื่องจากในชุมชนเคยมีช่างสักยันต์ แต่ในภายหลังเสียชีวิตลงและลูกหลานไม่มีใครสืบต่อจึงได้มอบอุปกรณ์ทั้งหมดให้กับทางโรงเรียน มีทั้งเข็มสัก ขวดใส่หมึก และตราประทับที่เป็นลวดลายของยันต์แบบต่างๆ

 

ของใช้ในวัดเป็นเครื่องใช้ที่เกี่ยวกับพระสงฆ์และการประกอบกิจในพุทธศาสนา เช่น กระโถน ขันทองเหลือง บาตรพระ พาน และพระพุทธรูปขนาดเล็ก

บริหารจัดการ

สถานศึกษา

ประเภทพิพิธภัณฑ์

วิถีชิวิต, วัฒนธรรม, ประเพณี, ภูมิปัญญา และ ศาสนา

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

เรื่องราวเกี่ยวกับชุมชนท่าช้าง วิถีของการทำมีดรัญญิก, สมุดไทยและสมุดข่อยโบราณที่ได้รับตกทอดมาในชุมชน

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

โรงเรียนท่าช้างวิทยาคม หมู่ที่ 3 ตำบลท่าช้าง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13260
โทรศัพท์ : 035-761-274, 089-986-7773 (ผู้อำนวยการโรงเรียนท่าช้างวิทยาคม)

วันและเวลาทำการ

เปิดวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.30 น. ตามเวลาราชการ (กรุณาติดต่อล่วงหน้า)

ค่าเข้าชม

ไม่เสียค่าเข้าชม

การเดินทาง

จากถนนสายเอเชียมุ่งหน้าไปทางเหนือ เมื่อผ่านสี่แยกเข้าเมืองอยุธยาแล้ว ขับตรงมาประมาณ 9 กิโลเมตร จะเป็นสะพานข้ามแม่น้ำป่าสัก ให้กลับรถใต้สะพานข้ามแม่น้ำป่าสัก (ตามลูกศรไป อ. นครหลวง) หลังจากกลับรถแล้วให้เลี้ยวขวา ไปตามทางหลวงหมายเลข 3063 ไปประมาณ 7 กิโลเมตร จะพบสี่แยก ให้ตรงไปตามทางหลวงหมายเลข 3008 ไปประมาณ 7 กิโลเมตร สังเกตป้าย สภ. ท่าช้าง ให้เลี้ยวซ้าย (เข้าสู่เทศบาลตำบลอรัญญิก) ขับตรงไป เจอสามแยกแรกให้เลี้ยวขวา สามแยกที่สองให้เลี้ยวซ้าย (จะเห็นป้ายบอกทางไปโรงเรียนท่าช้างวิทยาคม) เลี้ยวซ้ายไปตามป้าย ประมาณ 2 กิโลเมตร จะพบโรงเรียนอยู่ทางด้านซ้ายมือ

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

-

ข้อมูลสำหรับผู้พิการ

-

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีที่จอดรถ

1

แบ่งปัน

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง