แกลเลอรี
ข้อมูลพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์ศิลปวัฒนธรรมจังหวัดเลย
ข้อมูลพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์ศิลปวัฒนธรรมจังหวัดเลย ในปี พ.ศ. 2530 เมื่อมีการก่อตั้งศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเลย ในวิทยาลัยครูเลย ได้เปิดเป็นหอวัฒนธรรมขึ้น ต่อมาได้ก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ในปีพ.ศ. 2535 ด้วยงบประมาณสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย แล้วจึงก่อตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจังหวัดเลย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 โดยอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย เมื่อปี พ.ศ. 2549 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนาทรงเสด็จมาเยี่ยมชม 6 พิพิธภัณฑ์
ได้มีการปรับปรุงพัฒนาอยู่หลายครั้ง และในปีพ.ศ. 2555 ได้ทำ การปรับปรุงและเพิ่มพื้นที่จัดแสดงชั้นล่าง จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น พิพิธภัณฑ์ศิลปวัฒนธรรมจังหวัดเลย (Museum of Art&Culture of Loei) โดยใช้ตัวย่อที่เป็นที่ รู้จักกันทั่วไปว่า MALOEI
ยุคดึกดำบรรพ์
จังหวัดเลยมีภูมิประเทศที่เป็นภูเขา 18 ที่อุดมด้วย ป่าไม้นานาพรรณ จึงมีสภาพอากาศที่หนาวเย็น จึงมีคำขวัญว่า เมืองแห่งทะเลภูเขา สุดหนาวในสยาม สภาพสูงตํ่าของภูเขาเกิดจากการยกตัวของชั้นหินจึงพบแร่ธาตุจำนวนมากและหลากหลาย ได้แก่ เหล็ก มังกานีส สังกะสี แบไรต์ ทองคำ เป็นต้น 14 และยังพบฟอสซิลของรอยตีนไดโนเสาร์ตระกูล Theropod ที่ผาเตลิ่น ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อ ที่มีชีวิตอยู่ในยุคครีเตเชียส เมื่อกว่า 140 ล้านปีก่อน นอกจากนั้นยังพบฟอสซิลอื่น ๆ ที่ภูขวาง ที่ท่าสองคอน อำเภอภูกระดึง และอีกหลายแหล่ง
ยุคก่อนประวัติศาสตร์
ดินแดนที่เป็นพื้นที่จังหวัดเลยเมื่อกว่าสองพันปีก่อน มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าเคยมีมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ อาศัยอยู่ ได้แก่ ภาพเขียนสีในถํ้า (cave art) อยู่หลาย แหล่ง เช่น ในเขตภูกระดึง ภูผาล้อม และยังพบเครื่องมือหิน โบราณ ในบริเวณภูผาล้อมและริมแม่นํ้าโขง
ยุคประวัติศาสตร์
มีการค้นพบเสมาหินยุคทวาราวดี ซึ่งมีอายุราว 1200 ปี ที่วัดปากเป่ง วังสะพุง ต่อมาเมื่อประมาณกว่า 600 ปีก่อน พ่อขุนผาเมืองนำไพร่พลอพยพจากอาณาจักรสุโขทัยผ่านพื้นที่แห่งนี้ จึงได้มีการสร้างบ้านแปงเมืองขึ้นที่ด่านซ้าย ในยุคนั้นดินแดนแห่งนี้อยู่ในอาณาเขตของอาณาจักรล้านช้าง ซึ่งมีเมืองหลวงอยู่ที่หลวงพระบาง วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนจึงได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมล้านช้าง จารึกวัดห้วยห่าว เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่ากษัตริย์ล้านช้างได้มาก่อตั้งและบูรณะวัดในพื้นที่แห่งนี้ เมื่อปีพ.ศ. 2103 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชและพระเจ้าพระมหาจักรพรรดิ ได้ร่วมกันสร้างพระธาตุศรีสองรัก เพื่อแสดงสัมพันธไมตรีระหว่างล้านช้างกับอยุธยาเพื่อร่วมกันต่อต้านอริราชศัตรูความเกี่ยวพันกับล้านช้างปรากฏในวิถีชีวิตและประเพณีของท้องถิ่น เช่น สำเนียงไทเลยกับสำเนียงหลวงพระบาง การสร้างบ้านเรือน การแต่งกายของคนท้องถิ่นและชาติพันธุ์ต่าง ๆ ได้แก่ ไทดำ ไทพวน ประเพณีผีตาโขน และการบูชาผี วรรณกรรมพื้นบ้านที่ปรากฏบนใบลาน รวมทั้งพระบางซายขาว ที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2255 ที่มีรูปลักษณ์จำลองมาจากพระบางของชาวล้านช้าง โดยมีจารึกคำว่า “เลย” ไว้ที่ฐาน เลยมีสมบัติทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ ที่มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ รวมทั้งปูชนียบุคคลและพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียง ที่เป็นความภาคภูมิใจและหวงแหนของคนเมืองเลยหรือ “ไทเลย” ทุกคน
เป็นแหล่งรวบรวมความร้ท้องถิ่นด้านศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดเลย แบ่งการนำเสนอเป็น 3 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 ห้องประชุม ใช้สำหรับการบรรยายเบื้องต้นก่อนเข้าชมพิพิธภัณฑ์ ภายในห้องประชุมยังมีตู้จัดแสดงรวบรวมเครื่องใช้ต่างๆ ของชาวเมืองเลย จัดแสดงให้ชม
ส่วนที่ 2 ห้องจัดแสดงพิพิธภัณฑ์อัตโนมัติ นำเสนอเนื้อหาผ่านสื่อจัดแสดง ได้แก่
1. ภาพเขียนสีโบราณในถ้ำ
2. เครื่องมือหินสกัด
3. งานบุณหลวง
4. รอยเท้าไดโนเสาร์
5. สมบัติเมืองเลย
ส่วนที่ 3 ห้องจัดแสดงของดีจังหวัดเลย เก็บรวบรวมสมบัติเก่าแก่ของจังหวัดเลยตั้งแต่ในอดีต ได้แก่
1. บุคคลสำคัญ
2. รูปจำลองรอยเท้าไดโนเสาร์ภูหลวง
3. เครื่องมือหินโบราณ
4. แหล่งแร่
5. แผนที่จังหวัดเลย
6. ชาติพันธุ์ของคนจังหวัดเลย
7. การแต่งกายชาวไทเลย
8. บ้านจำลอง/วิถีชีวิตชาวไทเลย
9. ศิลาจารึก
10. พระธาตุศรีสองรักจำลอง
11. ใบลาน
12. ประเพณีบายศรีสู่ขวัญและประเพณีต่างๆ
บริหารจัดการ
ประเภทพิพิธภัณฑ์
วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ
ศิลาจารึกวัดห้วยห่าว
แผนที่
ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ
โทรศัพท์ : 042-835-223-8 ext. 45128
เว็บไซต์ : http://www.maloei.com
วันและเวลาทำการ
เปิดบริการทุกวัน (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
ตั้งแต่เวลา 8.30 - 17.00 น.
ค่าเข้าชม
ไม่เก็บค่าเข้าชม
การเดินทาง
1. ทางรถยนตร์ จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านจังหวัดสระบุรี เพชรบูรณ์ เข้าเขตจังหวัดเลยที่อำเภอด่านซ้าย อำเภอภูเรือ ถึงตัวจังหวัดเลย รวมระยะทาง 536 กิโลเมตร
หรือใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ถึงจังหวัดสระบุรี นครราชสีมา ชัยภูมิ ขนแก่น ผ่านอำเภอวังสะพุงเข้าตัวจังหวัดเลย รวมระยะทาง 540 กิโลเมตร
2. รถโดยสารประจำทาง มีรถโดยสารทั้งธรรมดาและปรับอากาศ สายกรุงเทพฯ-เลย ออกจากสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ(หมอชิต 2) ทุกวัน
3. รถไฟ จากสถานีรถไฟหัวลำโพง ถึงจังหวัดอุดรธานี จากนั้นต่อรถโดยสารประจำทางอุดรธานี-เลย
4. เครื่องบิน จากสนามบินดอนเมือง เส้นทางกรุงเทพฯ-เลย
เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป
เนื้อหาสำหรับเด็ก
รับบัตรเครดิต
รับจองล่วงหน้า
กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะจะต้องทำหนังสือก่อนขอเข้าเยี่ยมชม
สิ่งอำนวยความสะดวก
มีลานจอดรถ