ข้อมูลพิพิธภัณฑ์
เตาเผาแม่น้ำน้อย เป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาขนาดใหญ่ที่สุดในสมัยกรุงศรีอยุธยา ระหว่าง พ.ศ.1914-2310 ผลิตภัณฑ์ที่พบมาก คือ ไห , ไหสี่หู , อ่าง , ครก , กระปุก , ขวด , ช่อฟ้า , กระเบื้องปูพื้น , กาน้ำ , กระสุนปืนใหญ่ , ท่อน้ำดินเผา , ประติมากรรมลอยตัวรูปสัตว์ต่างๆ
ลักษณะตัวเตาเป็นแบบระบายความร้อนฝานเฉียงขึ้น ก่อด้วยอิฐยาว 14 เมตร กว้าง 5.6 เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางของปล่องควันไฟยาว 2.15 เมตร ตัวเตาคล้ายเรือประทุน จึงเรียกว่า "เตาประทุน" แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
- ตอนหน้า เป็นห้องเผาเชื้อเพลิงหรือห้องไฟ อยู่ระดับต่ำที่สุด ด้านหน้าเตามีช่องใส่ไฟที่เป็นทางเข้าสำหรับลำเลียงภาชนะเข้าเตาเผา ลำเลียงภาชนะที่เผาสุกแล้วออกจากเตา
- ตอนกลาง เป็นห้องวางภาชนะ มีกำแพงกั้นไฟสูง ถมพื้นยกสูงขึ้น เริ่มจากขอบกำแพงกั้นไฟค่อยๆลาดเอียงขึ้นสู่ปล่องระบายควันไฟในมุมเงย 15 องศา ห้องวางภาชนะมีพื้นที่รวม 3/4 ของความยาวเตาทั้งหมด หลังคาเตาก่ออิฐเป็นวงโค้ง สันนิษฐานว่าจะสามารถจุผลิตภัณฑ์ได้คราวละไม่น้อยกว่า 800-1000 ชิ้น
- ตอนหลัง เป็นปล่องระบายควันไฟ มีแผนผังรูปไข่ยาวประมาณ 2.70 เมตร กว้าง 2.15 เมตร ก่อด้วยอิฐเรียงซ้อนกัน
ปัจจุบัน กรมศิลปากร ได้จัดสร้างเป็น พิพิธภัณฑ์เตาแม่น้ำน้อย ขึ้น เป็นอาคารขนาดใหญ่เชื่อมต่อกัน 2 หลัง
- หลังแรก เป็นอาคารโปร่งโล่งคลุมเตาเผาไว้ 2 เตา ยกพื้นรอบตัวเตาเผา เพื่อให้ผู้เข้าชมสามารถเดินชมตัวเตาเผาได้ บริเวณทางเดินมีนิทรรศการที่ให้ข้อมูลโดยสังเขปของแหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อยทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- อาคารหลังที่ 2 จัดแสดงแบบจำลองเตาเผาแม่น้ำน้อย และตัวอย่างเครื่องปั้นดินเผาที่พบในแหล่งนี้
บริหารจัดการ
ประเภทพิพิธภัณฑ์
วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ
- ไหสี่หู
- กระสุนปืนใหญ่
- ท่อน้ำดินเผา
แผนที่
ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ
โทรศัพท์ : ฝ่ายส่งเสริมการท่องเที่ยวและกีฬา อบจ.สิงห์บุรี โทร. 036-520 030 / 036-521 512
วันและเวลาทำการ
เปิดทุกวัน เวลา 08.30-16.30น.
ค่าเข้าชม
ไม่เก็บค่าเข้าชม
การเดินทาง
1.โดยรถยนต์ จากกรุงเทพ ฯ สามารถไปได้ 3 เส้นทาง คือ
- ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 (ถนนสายเอเชีย) ผ่านอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดอ่างทอง จนถึงตัวเมืองจังหวัดสิงห์บุรี
- ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ผ่านอำเภอวังน้อย อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี จังหวัดลพบุรี แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 311 ผ่านอำเภอท่าวุ้ง เข้าสู่จังหวัดสิงห์บุรี
- ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ถึงอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เลี้ยวซ้ายเข้า เส้นทางหมายเลข 309 ผ่านจังหวัดอ่างทอง ไปจนถึงจังหวัดสิงห์บุรี
2.โดยรถประจำทางและรถตู้ สายกรุงเทพฯ-สิงห์บุรี ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ หมอชิต 2 ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวัน วันละหลายเที่ยว
การเดินทางในตัวจังหวัดสิงห์บุรี มีรถให้บริการจากสถานีขนส่งไปยังที่ต่างๆ ในตัวเมือง และต่างอำเภอ เช่น รถสองแถว รถสามล้อเครื่อง มอเตอร์ไซค์รับจ้าง จอดอยู่ตามจุดต่างๆ ในจังหวัด เช่น หน้าตลาดเทศบาล หน้าสถานีขนส่ง ค่าบริการมีทั้งแบบตกลงกันตามแต่ระยะทางและแบบเหมาจ่าย
เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป
เนื้อหาสำหรับเด็ก
รับบัตรเครดิต
รับจองล่วงหน้า
กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะจะต้องทำหนังสือก่อนขอเข้าเยี่ยมชม
สิ่งอำนวยความสะดวก
มีพื้นที่สำหรับจอดรถ