แกลเลอรี
ข้อมูลพิพิธภัณฑ์
โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มน้ำโขง เป็นหน่วยงานที่มุ่งสร้างองค์ความรู้และผลงานทางด้านศิลปวัฒนธรรมในแถบลุ่มน้ำโขง ทั้งด้านการค้นคว้า วิจัย และผลิตงานด้านเอกสารทางวิชาการ รวมถึงการสำรวจ การจัดแสดงนิทรรศการเพื่อนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมในแถบลุ่มน้ำโขง และเผยแพร่องค์ความรู้สู่สังคม
พิพิธภัณฑ์แบ่งการจัดแสดงนิทรรศการเป็น 3 ส่วน คือ
1.นิทรรศการภายนอก ประกอบด้วย
1.1 สวนสิงค์ เป็นการจัดแสดงถึงความมีวัฒนธรรมร่วมกันของประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ผ่านตัวมอม ปูนปั้นรูปสิงห์ 5 ตัว ที่สร้างจำลองมาจากศิลปะของ 5 ประเทศ ได้แก่ จีน เมียนมาร์ ไทย ลาว และกัมพูชา โดยมอม สิงห์ และพญานาค เปรียบเสมือนผู้ปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนา ด้านหลังมีวัฒนธรรมหินตั้งจำลอง ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นก่อนการมีขึ้นของพุทธศาสนา เพื่อใช้เป็นบริเวณในการประกอบพิธีกรรมทางความเชื่อ
1.2 นิทรรศการ "ข้าวและวิถีชีวิต" สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม และ ข้าว ถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญอย่างมากในด้านการดำรงชีวิต เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม โดยมีวัตถุจัดแสดงที่น่าสนใจ ได้แก่ คุตีข้าว มองตำข้าวหรือครกกระเดื่อง เกวียน เรือระมาด
1.3 ซุ้มประตูโขงจำลอง ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างจำลองมาจากวัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง ชาวล้านนาเชื่อกันว่าการได้รอดซุ้มประตูโขงจะเสริมสร้างความเป็นศิริมงคล
1.4 ศาลาไทลื้อจำลอง จำลองศิลปะทางสถาปัตยกรรมของชาวไทลื้อ ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่สำคัญชนหนึ่งในอารยธรรมลุ่มน้ำโขง พื้นที่ส่วนนี้สามารถดัดแปลงเป็นพื้นที่จัดกิจกรรมต่างๆ ของพิพิธภัณฑ์ เช่น เทศกาลภาพยนตร์เชียงราย และ การสาธิตชงชาแบบญี่ปุ่น
2.นิทรรศการภายใน จัดแสดงเป็นห้องวิหาร ประกอบด้วย
2.1 ตุงมงคล จัดแสดงตุงสิบสิงนักษัตรล้านนา ตุงไย ตุงไทลื้อ ตุงพระพุทธเจ้า ฯลฯ ที่ได้รับการอนุเคราะห์จาก รศ.ดร.ปรีชา อุปโยคิน บริจาคให้พิพิธภัณฑ์ได้ทำการอนุรักษ์ จัดแสดง และเผยแพร่
2.2 พระธาตุจำลอง 12 องค์ จาก 4 ประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนบน ได้แก่ ประเทศไทย สสป.ลาว เมียนมาร์ และจีน
2.3 แผนผังดวงดาวล้านนา นำเสนอดวงดาวในคติความเชื่อของล้านนา บอกเล่ารูปลักษณ์ของดวงดาว ชื่อ และความหมาย
2.4 ตุงดินน้ำลมไฟ ผลงานสร้างสรรค์ของอาจารย์ทรงเดช ทิพย์ทอง เพื่อเป็นที่ระลึกงานเมือบ้านดำนางแล ครบ 100 วัน ถวัลย์ ดัชนี
รอบห้องจัดแสดงวัตถุทางวัฒนธรรมที่ได้จากการลงพื้นที่ภาคสนามและการบริจาค โดยวัตถุทางวัฒนธรรมเหล่านี้ถือเป็นเครื่องมือในการบอกเล่าวิถีชีวิตที่เกิดขึ้นจริงในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
3.นิทรรศการหมุนเวียน ปัจจุบันจัดแสดงนิทรรศการเรื่อง "สุนทรียะทางการผลิต FIELD WORK with LOVE : งานภาคสนามด้วยรัก" เป็นการจัดแสดงภาพเขียนสืบเนื่องจากการทำงานภาคสนามทางวัฒนธรรม
บริหารจัดการ
ประเภทพิพิธภัณฑ์
วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ
แผนผังดวงดาวล้านนา นำเสนอดวงดาวในคติความเชื่อของล้านนา บอกเล่ารูปลักษณ์ของดวงดาว ชื่อ และความหมาย
แผนที่
ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ
โทรศัพท์ : 0-5391 7067-8
โทรสาร : 0-5391 7067
เว็บไซต์ : https://www.facebook.com/Mekong.Museum.MFU
วันและเวลาทำการ
วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.30-15.30
ค่าเข้าชม
ไม่เก็บค่าเข้าชม
การเดินทาง
-เส้นทางนครสวรรค์-ลำปาง-พะเยา-เชียงราย จากรังสิตมาตามถนนพหลโยธิน (ทางหลวงหมายเลข 1) แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวง หมายเลข 32 ที่อำเภอวังน้อย ผ่านจังหวัดอยุธยา สิงห์บุรี ชัยนาท นครสวรรค์ กำแพงเพชร ตาก เลำปาง แล้วตรง พะเยา จนเข้าสู่เชียงราย รวมระยะทาง 830 กิโลเมตร
-เส้นทางนครสวรรค์-พิษณุโลก-แพร่-เชียงราย ใช้เส้นทางเดียวกับเส้นทางที่ 1 เมื่อไปถึงจังหวัดนครสวรรค์ ให้แยกเข้าจังหวัดพิษณุโลก อุตรดิตถ์ แพร่ พะเยา จนถึงเชียงราย ระยะทางประมาณ 804 กิโลเมตร
เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป
เนื้อหาสำหรับเด็ก
รับบัตรเครดิต
รับจองล่วงหน้า
หากต้องการเข้าเยี่ยมชมนอกเหนือจากเวลาทำการ
โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่ล่วงหน้า 3 วันทำการ
สิ่งอำนวยความสะดวก
มีลานจอดรถ