กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้อุตุนิยมวิทยา

พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้อุตุนิยมวิทยา

05 กรกฎาคม 2564

ชื่นชอบ 522

13,490 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้อุตุนิยมวิทยา

 

ประวัติความเป็นมา

การดำเนินงานด้านพิพิธภัณฑ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา  เริ่มต้นขึ้นเนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ ของพระบาทสมเด็จพระปริมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ซึ่งตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม 2530 (หนังสือพิพิธภัณฑ์อุตุนิยมวิทยา, 2530) กรมอุตุนิยมวิทยาได้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงมีพระราชกรณียกิจบำเพ็ญประโยชน์แก่ประเทศชาติและพสกนิกรในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตุนิยมวิทยา และทรงนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม ดังจะเห็นได้จากการที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้จัดส่งแผนที่อากาศ  ภาพถ่ายจากดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา และข่าวพยากรณ์อากาศ  ทูลเกล้าฯ ถวายที่พระราชวังสวนจิตรลดาเป็นประจำ  

 

โดยเฉพาะถ้าเป็นเวลาที่พายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้ามามีผลกระทบต่อลมฟ้าอากาศในประเทศไทยด้วยแล้ว พระองค์จะให้ราชองครักษ์ปรึกษา สอบถามกับกรมอุตุนิยมวิทยา เพื่อทราบการเคลื่อนไหวของพายุ และจะทรงรับสั่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เตรียมการช่วยเหลือ และป้องกันภัยพิบัติอย่างเร่งด่วน ดังนั้น กรมอุตุนิยมวิทยา จึงได้จัดตั้ง พิพิธภัณฑ์อุตุนิยมวิทยา ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์

  • เพื่อเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 5 รอบ และพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก เมื่อปี พ.ศ.2530
  • เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่และส่งเสริมความรู้ด้านอุตุนิยมวิทยา

โดยใช้งบประมาณจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อุตุนิยมวิทยา จากงบประมาณกรมอุตุนิยมวิทยา รวมกับเงินบริจาคของข้าราชการ ลูกจ้างกรมอุตุนิยมวิทยา บริษัท ห้างร้าน และประชาชน รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 517,534.50 บาท (ห้าแสนหนึ่งหมื่นเจ็ดพันห้าร้อยสามสิบสี่บาทห้าสิบสตางค์)

 

วันที่ 19 และ 27 ธันวาคม พ.ศ.2532 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้ กรมอุตุนิยมวิทยา ย้ายที่ทำการ อุปกรณ์ทางเทคนิค และบ้านพักออกจากที่ราชพัสดุไปสร้างใหม่ที่บางนา ซึ่งมีส่วนราชการกรมอุตุนิยมวิทยาบางนาอยู่เดิมแล้ว ตามที่กระทรวงการคลังเป็นผู้เสนอ

 

สำหรับที่ดินที่เป็นที่ตั้งกรมอุตุนิยมวิทยา ถนนสุขุมวิททั้งแปลงให้กระทรวงการคลัง(กรมธนารักษ์) รับไปดำเนินการสร้างสวนสาธารณะ เพื่อทูลเกล้าถวายในโอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ มีพระชนมายุ 60 พรรษา ในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2535 ซึ่งเป็นผลให้ต้องย้ายอาคารพิพิธภัณฑ์อุตุนิยมวิทยาจากที่ทำการเดิม มาจัดตั้ง ณ ที่ทำการใหม่ด้วย โดยใช้อาคารที่ทำการของส่วนราชการกรมอุตุนิยมวิทยาบางนาที่มีอยู่เดิม เป็นอาคาร 2 ชั้น โดยใช้ชั้นที่ 1 จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์อุตุนิยมวิทยา ซึ่งเนื้อหาและสิ่งจัดแสดงจะเป็นไปในรูปแบบของการทำอุปกรณ์และเครื่องมืออุตุนิยมวิทยาที่เคยใช้ในอดีตนำมาจัดแสดง  รวมถึงการนำเอกสารและตำราวิชาการในสมัยก่อน ตลอดจนภาพถ่ายเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับอุตุนิยมวิทยาในอดีตมาจัดแสดงด้วย  การเปิดให้เข้าชมพิพิธภัณฑ์อุตุนิยมวิทยาในขณะนั้น  ส่วนมากจะเปิดให้เข้าชมเฉพาะเวลาที่มีคณะบุคคลเข้าศึกษาดูงานหรือเยี่ยมชมกิจการ เนื่องจากไม่มีเจ้าหน้าที่ดูแลประจำพิพิธภัณฑ์และข้อจำกัดด้านอาคารสถานที่ โดยเน้นการใช้วัตถุมาจัดแสดงพร้อมคำอธิบายไว้เป็นส่วนๆ ทำให้ผู้ชมไม่สามารถประมวลผลองค์ความรู้และความเข้าใจในภาพรวมได้ นอกจากนี้ ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของสภาพอาคาร พื้นที่และองค์ประกอบการใช้สอยไม่เอื้อต่อการจัดแสดงตามหลักการใช้สอยทางด้านพิพิธภัณฑ์  รวมถึงไม่มีพื้นที่จัดกิจกรรมอื่นๆ ได้

 

เมื่อปี พ.ศ.2549  กรมอุตุนิยมวิทยาจึงได้จัดทำโครงการเพื่อปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ขึ้นมาใหม่ ชื่อว่า “โครงการพิพิธภัณฑ์แห่งการเรียนรู้อุตุนิยมวิทยา” และดำเนินการแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2550  โดยใช้พื้นที่จากเดิมและปรับปรุงต่อเติมภายนอกอาคาร  เพื่อเตรียมจัดทำเป็นโรงฉายภาพยนตร์  เนื่องจากงบประมาณไม่เพียงพอดำเนินการให้เสร็จสมบูรณ์ทั้งหมด จึงไม่ได้ดำเนินการต่อในส่วนของโรงภาพยนตร์ แต่เปิดให้บริการเฉพาะส่วนจัดแสดงในอาคารทั้ง 2 ชั้น ตั้งแต่ปี พ.ศ.2552 เป็นต้นมา โดยใช้ชื่อว่า “พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้อุตุนิยมวิทยา”

 

ความหมายของคำว่า “อุตุนิยมวิทยา”

             อุตุ     แปลว่า ฤดู

             นิยม          แปลว่า  กำหนด

             วิทยา          แปลว่า  วิชาความรู้

 

“อุตุนิยมวิทยา”(Meteorology)  หมายความว่า วิชาที่กล่าวถึงเรื่องราวของบรรยากาศ รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศกับพื้นโลก มหาสมุทร และสิ่งมีชีวิตโดยทั่วไป วิชานี้เกี่ยวข้องกับลักษณะทางกายภาพ ทางเคมีและการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศ จุดมุ่งหมายของวิชานี้อยู่ที่การศึกษาให้เข้าใจในเรื่องราวของบรรยากาศ การพยากรณ์อากาศให้เป็นไปโดยสมบูรณ์ถูกต้องและแม่นยำ (ปทานุกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับประชาชน, 2558)

 

รูปแบบการจัดแสดง

 

เน้นในเรื่องของสาระ ความรู้ เข้าใจง่าย และสนุกสนานเพลิดเพลิน โดยแต่ละห้องจะให้ผู้เข้าชมได้สัมผัสและมีส่วนร่วมในการแสดงนั้นๆ อาทิ อุปกรณ์ เครื่องมือ การตรวจวัดทางอุตุนิยมวิทยาชนิดต่างๆ แผ่นดินไหว สภาวะโลกร้อน และการค้นหาคำตอบที่เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางอุตุนิยมวิทยา และที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น  แบ่งเป็น

 

ห้องที่ 1 โลกแห่งอุตุนิยมวิทยา  เป็นเรื่องของวิวัฒนาการความรู้อุตุนิยมวิทยา ว่ามีที่มาอย่างไรจนได้เป็นศาสตร์สาขาหนึ่งและก่อตัวเป็นองค์กรระหว่างประเทศ ในห้องนี้ได้นำเสนอแนวคิด “การเดินทางความรู้อุตุนิยมวิทยา” เมื่อต้องผจญกับความกลัว ความเดือดร้อนจากปรากฏการณ์ธรรมชาติเป็นเวลานาน มนุษย์จึงเริ่มสังเกตเหตุการณ์จากธรรมชาติทั้ง ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว จากพืช และพฤติกรรมของสัตว์ มาใช้เป็นลางบอกเหตุ และหันมาศึกษาธรรมชาติ อย่างจริงจัง ทั้งด้าววิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ทำให้มนุษย์ค้นพบสิ่งใหม่ที่ก่อให้เกิดจุดเปลี่ยนของแนวความเชื่อเดิมๆ เรื่อยมาจนถึงยุควิทยาศาสตร์ ที่สามารถบอกปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล เปลี่ยนแปลงความกลัวเป็นองค์ความรู้ และสามารถนำปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆ มาใช้ประโยชน์ หรือ ป้องกันตัวเองจากอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆได้

  • พ.ศ. 160-222 (350 ปี ก่อนคริสตศักราช) อริสโตเติล อธิบาย ปรากฏการณ์บนท้องฟ้าด้วยฟิสิกส์พื้นฐาน ความร้อนแห้งเคลื่อนที่ในอากาศ ทำให้เกิดฝนฟ้าคะนอง ฟ้าแลบ และลม ส่วนความเย็นชื้น ทำให้เกิดเมฆฝน หิมะ ลูกเห็บ และเมฆ
  • พ.ศ. 1955-2062 ลิโอนาโด ดาวินชี สังเกตความเคลื่อนที่ของกระแสลมสองกระแสที่ตรงข้ามกันว่า ทำให้เกิดจากการรวมตัวกันของก้อนเมฆ
  • พ.ศ. 2017-2185 กาลิเลโอ ประดิษฐ์ เครื่องวัดอุณหภูมิที่เรียกว่า “ปรอท” ให้สำรวจอุณหภูมิมนุษย์และสภาพอากาศ
  • พ.ศ. 2295 เบนจามินแฟรงคลีน คิดค้นสายล่อฟ้าจุดเริ่มต้นของการใช้แนวความคิดทางวิทยาศาสตร์ ในการป้องกันภัยธรรมชาติ และได้ชื่อว่าเป็นเทพเจ้ากรีกองค์ใหม่ ที่สามารถขโมยไฟจากสวรรค์มาใช้
  • พ.ศ. 2482-2488 สงครามโลกครั้งที่ 2 ชาว “อังกฤษ” ประดิษฐ์ เรดาร์ตรวจสภาพบรรยากาศ สหรัฐอเมริกา พัฒนาเรดาร์เพื่อใช้ในการศึกษาลักษณะและทิศทางการเคลื่อนที่ของพายุเฮอริเคน
  • พ.ศ. 2488 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทุ่นลอย ถูกประดิษฐ์ขึ้นเพื่อเก็บข้อมูลในพื้นที่ห่างไกล เช่น มหาสมุทรและส่งโดยอัตโนมัติ ถือเป็นการเติมเกร็ดความรู้ในด้านอุตุนิยมวิทยาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
  • พ.ศ. 2503 1 เมษายน 2503 การศึกษาด้านอุตุนิยมวิทยาก้าวไกลอย่างมหาศาลเมื่อสหรัฐอเมริกาปล่อยดาวเทียมสำรวจอากาศดวงแรก ชื่อ ไทรอส(TIROS ย่อมาจาก Television Infared Observation Satellite) ขึ้นสู่อวกาศโดยมีเครื่องมือเทคโนโลยีตรวจอากาศเต็มรูปแบบ

 

 

ห้องที่ 2 บ้านนักพยากรณ์  พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร กับพระปรีชาสามารถด้านอุตุนิยมวิทยา “น่าจะมีลู่ทางที่จะคิดค้นหาเทคนิคหรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ด้านการดัดแปลงสภาพอากาศ มาช่วยให้เกิดการก่อ และรวมตัวของเมฆให้เกิดฝน”

พระราชดำริ พ.ศ.2499 เป็นที่ประจักษ์ชัดต่อปวงชนชาวไทยว่า องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสอดส่องความเป็นอยู่ของประชาชนทุกหย่อมหญ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ ที่อาจมีผลกระทบอย่างรุนแรงและกว้างขวาง พระองค์ทรงมีพระอัจฉริยภาพในการประเมินสถานการณ์ล่วงหน้าอย่างแม่นยำ โดยทรงวิเคราะห์ข้อมูลอุตุนิยมวิทยา ข้อมูลเรดาร์ ดาวเทียมและคำพยากรณ์อากาศทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ ประกอบเข้ากับสภาพภูมิศาสตร์ในแต่ละท้องถิ่น ทรงเป็น เอตทัคคะ(ผู้ที่ยอดเยี่ยมในทางใดทางหนึ่งเป็นพิเศษ) ทรงเมตตา แนะนำวิธีการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ ถึงแม้ต้องลงทุนบ้าง แต่ก็คุ้มเมื่อเทียบกับผลที่ช่วยลดความสูญเสียมหาศาลที่อาจเกิดขึ้นนับเป็นอเนกอนันตคุณต่อกรมอุติยมวิทยา หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและสังคมทุกหมู่เหล่า

 

นายพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ 
ผู้ให้กำเนิดอุตุนิยมวิทยาไทย พ.ศ.2449


เริ่มดำเนินงานในกรมทดน้ำ กระทรวงเกษตราธิการ เมื่อ พ.ศ. 2466 และต่อมาปลายปีได้จัดตั้ง เป็นแผนกอุตุนิยมศาสตร์ และสถิติกองรักษาน้ำ กรมทดน้ำ (ปัจจุบันคือกรมชลประทาน)

 

 

ห้องที่ 3 แผ่นดินและผืนน้ำ  “แผ่นดินไหวในประเทศไทย”

รอยเลื่อน คือ รอยแตกที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง หรือ เคลื่อนตัวของเปลือกโลก ทำให้เกิดรอยแตกร้าวบนผิวดินซึ่งการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกแต่ละครั้ง เป็นสาเหตุของ “แผ่นดินไหว” เชื่อไหมว่า มนุษย์ตัวเล็กๆ อย่างเราทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้ การสร้างเขื่อนใกล้กับบริเวณรอยเลื่อน การขุดเจาะภูเขา การทำเหมืองแร่ การระเบิดต่างๆ การทำงานของเครื่องจักร และการจราจร สิ่งเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุสำคัญที่มนุษย์กำลังเขย่าพื้นโลกส่งผลทำให้เกิด ภัยพิบัติ กระทบกับชีวิตมนุษย์เองโดยตรง

สึนามิ คือ คลื่นในทะเล คลื่นยักษ์ที่เกิดจากการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรงในน้ำ อาจมีสาเหตุมาจาก แผ่นดินไหวใต้ทะเล ผิวโลกใต้ทะเลทรุดตัว อุกกาบาตขนาดใหญ่ตกใส่ทะเล หรือการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้ทะเล พลังงานมหาศาลจากสาเหตุเหล่านี้ จะถูกถ่ายเทไปยังน้ำทะเล ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของคลื่นสึนามิ ความเร็วของคลื่นสึนามิจะสัมพันธ์กับความลึก คือระดับน้ำยิ่งลึกมาก คลื่นยิ่งเคลื่อนที่เร็วมาก อาจมีความเร็วมากถึง 950 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความสูงของคลื่นจะไม่มากแต่เมื่อคลื่นเข้าใกล้ชายฝั่งจะลดความเร็วลง ความสูงของคลื่นจะสูงขึ้นหลายเมตร สามารถสร้างความเสียหายบริเวณตามแนวชายทะเล ได้แก่บ้านเรือน สิ่งปลูกสร้าง ทรัพย์สิน เป็นต้น

 

 

ห้องที่ 4 ไขปริศนาแห่งท้องฟ้า

ชั้นบรรยากาศ “บรรยากาศ” เราขาดกันไม่ได้ อากาศจากพื้นดินจนสูงขึ้นไปในท้องฟ้า เรียกว่า “บรรยากาศ” ถึงแม้เราจะมองไม่เห็นแต่บรรยากาศกลับมีความสำคัญกับมนุษย์และสิ่งมีชีวิต บนโลกมากมาย จนเราอาจคาดไม่ถึง “ฤดูกาล ความแตกต่างจาก 23.5 องศา” เพียง 23.5 องศาของแกนโลก ที่เอียงทำมุมกับเส้นตั้งฉากกับ แนวระนาบของการโคจรรอบดวงอาทิตย์ใน 1 ปี ทำให้ทุกพื้นที่ของโลกได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่แตกต่างกัน เราเรียกความต่างนี้ว่า “ฤดูกาล”

 

 

ห้องที่ 5 ส่วนผสมของสภาพอากาศ

อากาศมีน้ำหนัก น้ำหนักของอากาศ ก็คือ ความกดอากาศหรือเป็นแรงกดของอากาศทั้งหมดที่อยู่เหนือระดับผิวโลก โดยกดทับในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ความกดอากาศในแต่ละพื้นที่จะมีค่าเปลี่ยนแปลงตามเวลา ความหนาแน่นของโมเลกุลในอากาศ ซึ่งความกดอากาศจะลดลง เมื่ออยู่ในระดับความสูงที่มากขึ้น จำง่ายๆคือ “ยิ่งสูงความกดอากาศยิ่งต่ำ” นั่นเอง

เมฆ คือละอองน้ำ หรือเกล็ดน้ำแข็งเล็กๆ จำนวนหลายล้านหยดที่รวมตัวกัน เป็นกลุ่มลอยตัวอยู่ในชั้นบรรยากาศซึ่งเราสามารถมองเห็นกลุ่มละอองน้ำเหล่านั้นด้วยตาเปล่า

แล้วเมฆเหล่านั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะไอน้ำในอากาศ ลอยสูงขึ้นไปกระทบกับความเย็น บนชั้นบรรยากาศจนเกิดการกลั่นตัวโดยไอน้ำจะกลั่นตัวที่ผิวอนุภาคเล็กๆ ของฝุ่นละออง ,ควัน หรือ อนุภาคเกลือ เกิดเป็นหยดน้ำเล็กๆ ที่เรียกว่าละอองน้ำ (หรือเกล็ดน้ำแข็งเล็กๆ) จำนวนมากมาย เมื่อละอองน้ำหลายล้านหยดรวมตัวกันจะเกิดเป็นก้อนกลุ่มละอองน้ำ ที่เราเรียกว่าเมฆ นั่นเอง

 

 

ห้องที่ 6 ห้องปฏิบัติการของนักอุตุนิยมวิทยา

การตรวจอากาศ และการสื่อสารข้อมูลอุตุนิยมวิทยา ประเทศไทยมีศูนย์ตรวจสอบสภาพอากาศในรัศมีทุกๆ 150 กิโลเมตร ซึ่งศูนย์เหล่านี้ต้องส่งข้อมูลหลักๆ ทุก 6 ชั่วโมงเพื่อใช้ในการวิเคราะห์สภาพอากาศ แต่ข้อมูลตรวจอากาศภายในประเทศอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะใช้ในการพยากรณ์อากาศของประเทศไทย จึงต้องอาศัยการสื่อสารข้อมูลผลการตรวจอากาศจากต่างประเทศมาประกอบการพยากรณ์อากาศด้วย

สารประกอบทางอุตุนิยมวิทยา คือ ข้อมูลที่ต้องการตรวจวัดเพื่อการพยากรณ์อากาศ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่มีความสัมพันธ์กับลักษณะอากาศที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ได้แก่ ความกดอากาศ ลม อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ เมฆ หยาดน้ำฟ้า รังสีดวงอาทิตย์ การระเหยของน้ำ ทัศนะวิสัย

 

บริหารจัดการ

หน่วยงานราชการ

ประเภทพิพิธภัณฑ์

เกษตร, วิทยาศาสตร์, การแพทย์, เทคโนโลยี, ชีวิตและธรรมชาติ

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

นิทรรศการความรู้ด้านอุตุนิยมวิทยาและภัยธรรมชาติ โดยการนำเสนอผ่านเทคโนโลยีทันสมัย สนุกและเข้าใจง่าย

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

เลขที่ 4353 ถนนสุขุมวิท แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร
โทรศัพท์ : 02-366 9301 ต่อ 6101 - 6102
อีเมล : tmdpr@hotmail.com

วันและเวลาทำการ

เปิดให้บริการทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ (ยกเว้นวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์)

เวลา 09.00 น. - 16.00 น.

 

**สอบถามรายละเอียด หรือ ติดต่อเข้าชมได้ที่**

กลุ่มประชาสัมพันธ์ ชั้น 1 อาคาร 50 ปี อุตุนิยมวิทยา

โทรศัพท์ 02 366 9301 ต่อ 6100 – 6102

ค่าเข้าชม

ฟรี

การเดินทาง

พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้อุตุนิยมวิทยา ตั้งอยู่ภายในบริเวณกรมอุตุนิยมวิทยา ติดกับสถานีรถไฟฟ้า BTS สถานีบางนา 

  • การเดินทางรถโดยสารประจำทางสาย 2  23  25  102  129  142  365  511  536  1141
  • รถไฟฟ้า BTS ลงสถานี บางนา    

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

**สอบถามรายละเอียด หรือ ติดต่อเข้าชมได้ที่**

กลุ่มประชาสัมพันธ์ ชั้น 1 อาคาร 50 ปี อุตุนิยมวิทยา

โทรศัพท์ 02 366 9301 ต่อ 6100 – 6102

5

แบ่งปัน

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง