ข้อมูลพิพิธภัณฑ์
ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปี พ.ศ.2540 ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของชุมชนบางเจ้าฉ่าเช่นกัน ทำให้ผู้นำชุมชน และชาวบ้านบางเจ้าฉ่ารวมตัวกันเพื่อปรึกษาหารือถึงอนาคตของบางเจ้าฉ่า ชาวบ้านบางเจ้าฉ่าได้จัดประชาคมเพื่อวางแผนอนาคตร่วมกัน และริเริ่มพัฒนาโครงการต่างๆ ให้เป็นแหล่งส่งเสริมอาชีพ
ซึ่งก็ได้ความร่วมมือเป็นอย่างดีของชาวบ้าน นำไปสู่การส่งเสริมอาชีพจักสานไม้ไผ่ เดิมชุมชนบางเจ้าฉ่ามีอาชีพทำเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก และด้วยพื้นที่นี้มีต้นไผ่ขึ้นอยู่มากมาย และมีทุกรอบรั้วเสมือนเขตแดนของบ้าน อาชีพจักสานไม้ไผ่จึงเป็นอาชีพเสริม แต่ในปัจจุบันอาชีพจักสานได้พัฒนากลายเป็นอาชีพหลักของชาวบ้านไปแล้ว ปัจจุบันได้รับการพัฒนารูปแบบให้หลากหลายมากขึ้น จนมีผู้สนใจจากภายนอก กลายเป็นสินค้าผลิตภัณฑ์ของชุมชน OTOP ที่มีคุณภาพดีสามารถส่งออกต่างประเทศได้
ทั้งนี้ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์มีการจัดแสดงหลักฐานในการใช้ไม้ไผ่มาตั้งแต่สมัยโบราณ กับวิถีชีวิตชาวบ้าน ตั้งแต่เกิดจนตาย ตลอดจนเครื่องมือทำมาหากินต่างๆ ของชาวบางเจ้าฉ่าด้วย
บริหารจัดการ
ประเภทพิพิธภัณฑ์
วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ
กระบุงจักสานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและร่องรอยวัฒนธรรมไม้ไผ่และการจักสานอายุกว่า 4,000 ปี ที่ปรากฏหลักฐานบนภาชนะดินเผาที่มีร่องรอยจักสานลายขัดสอง ซึ่งค้นพบตามสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี รวมถึงภาคกลาง ลุ่มแม่น้ำป่าสัก และบ้านเชียง เป็นต้น
แผนที่
ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ
โทรศัพท์ : 035 644 091, ประธาน นายสุรินทร์ นิลเลิศ 081587 4226
โทรสาร : 035 644 091
เว็บไซต์ : http://www.thaitambon.com/
วันและเวลาทำการ
เปิดทุกวัน เวลา 07.30-18.00 น. (ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
ค่าเข้าชม
ไม่เสียค่าเข้าชม
การเดินทาง
เดินทางมาถึงที่ว่าการอำเภอโพธิ์ทอง และตรงมาตามเส้นทางสายเสนา-ชัณสูตร อีกประมาณ 5.5 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าวัดยางทอง ประมาณ 1.5 กิโลเมตร พิพิธภัณฑ์ฯ อยู่ตรงบริเวณด้านหลังของศูนย์ 3 วัยสานสายใยชุมชนตำบลบางเจ้าฉ่า
เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป
เนื้อหาสำหรับเด็ก
รับบัตรเครดิต
รับจองล่วงหน้า
กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะจะต้องทำหนังสือก่อนหรือโทรนัดขอเข้าเยี่ยมชม (แจ้งล่วงหน้าก่อนเจ็ดวัน)
ข้อมูลสำหรับผู้พิการ
ไม่มีข้อมูลสำหรับผู้พิการ
สิ่งอำนวยความสะดวก
มีพื้นที่สำหรับจอดรถ