แกลเลอรี
ข้อมูลพิพิธภัณฑ์
มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้(Museum Siam: Discovery Museum) ภายใต้สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ(สพร.) เป็นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งแรกที่เน้นการสร้างประสบการณ์สดใหม่ในการชมพิพิธภัณฑ์ จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นต้นแบบของแหล่งเรียนรู้ที่น่ารื่นรมย์ และช่วยยกระดับมาตรฐานการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ ให้กับประชาชน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนไทย เกี่ยวกับการสร้างสำนึกในการรู้จักตนเอง รู้จักเพื่อนบ้าน และรู้จักโลก
รวมถึงการสร้าง “แนวคิดและภาพลักษณ์ใหม่” ของพิพิธภัณฑ์ในสังคมแห่งการเรียนรู้ ผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่ และกิจกรรมสร้างสรรค์ เพื่อให้การเรียนรู้ประวัติศาสตร์และเรื่องราวต่างๆ เป็นไปอย่างสนุกสนานยิ่งขึ้น ซึ่งประกอบด้วย
- นิทรรศการถาวรชุด "ถอดรหัสไทย"
- นิทรรศการหมุนเวียน
- กิจกรรมการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์
นิทรรศการถาวรชุด “ถอดรหัสไทย” (DECODING THAINESS) เป็นนิทรรศการที่จะพาทุกคนไปเรียนรู้พัฒนาการ “ความเป็นไทย” เป็นสิ่งที่แสดงแสดงให้เห็นถึง “อัตลักษณ์หรือตัวตน” ซึ่งหากพิจารณาแล้ว “ไทย” ดูเหมือนจะมีความชัด แต่กลับคลุมเครือไม่ชัดเจน เนื่องจากสังคมไทยเป็นสังคมที่หลอมรวมวัฒนธรรมที่หลากหลาย
โดยนิทรรศการจะพาไปค้นหาความหมายที่แท้จริงของความเป็นไทย ผ่านการเล่าเรื่องราวความเป็นไทยในมิติต่าง อาทิ ประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม วัฒนธรรมประเพณี อาหารการกิน การแต่งกาย เป็นต้น และพัฒนาการของความเป็นไทยที่เปลี่ยนไปตามบริบทของสังคม ตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน ใช้วิธีการเล่าเรื่องผ่านสื่อพิพิธภัณฑ์ เน้นการสร้างปฏิสัมพันธ์ ตลอดจนการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยในการเล่าเรื่อง ให้ผู้ชมสามารถเข้าใจและติดตามเรื่องราวได้ง่ายมากขึ้น
นิทรรศการแบ่งเป็น 14 ห้อง ได้แก่
- ห้องไทยรึเปล่า? : เห็นหุ่นที่อยู่กลางห้องมั้ย เลดี้กาก้าใส่ชฎา เป็น “ไทย” รึเปล่า?
- ไทยแปลไทย : ห้องจัดแสดงลำดับและพัฒนาการของ “ความเป็นไทย”
- ไทยตั้งแต่เกิด : จัดแสดงลำดับเวลาและพัฒนาการของความเป็นไทย นำเสนอในรูปของการแสดงแสงสีเสียงบนโต๊ะขนาดใหญ่ ประกอบเทคนิคน่าตื่นตาตื่นใจ
- ไทยสถาบัน : เกมทดสอบไหวพริบ กับลูกเต๋า 27 ลูก 27 สัญลักษณ์ แบ่งออกเป็น 3 หมวด คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ง่ายๆแค่จับกลุ่มสัญลักษณ์บนลูกเต๋าให้ถูกหมวดหมู่
- ไทยอลังการ : จำลองท้องพระโรงของพระราชวังสมมุติแห่งหนึ่งขึ้นมา โดยมีราชบัลลังก์เป็นสิ่งสำคัญสูงสุด ด้วยเป็นที่ประทับขององค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งเปรียบดั่ง “พระอินทร์” ประทับบนยอดเขา “พระสุเมรุ” อันเป็นศูนย์กลางจักรวาลตามคติไทยโบราณ
- ไทยแค่ไหน : จัดแสดงเครื่องแต่งกาย “ชุดไทย” แต่จะไทยมาก ไทยน้อย เข้ม-จาง แค่ไหน มาดูกัน และลองย้อนกลับมาดูชุดร่วมสมัยอย่างที่คุณใส่มาวันนี้
- ไทย ONLY : ลองส่องดูสิ่งของที่จัดแสดงในตู้รอบๆห้อง ล้วนเป็นของบ้านๆที่คุ้นเคย เป็นภูมิปัญญาระดับรากหญ้า แฝงไปด้วยอารมณ์ขัน แปลกประหลาดในตรรกะ และสะท้อนวิธีคิดแก้ปัญหาแบบไทยไทยได้ดี
- ไทย INTER : ห้องนี้มีชื่อเล่นว่า “ไทยเสนอ เทศสนอง” ลองส่องดูในแต่ละตู้เราได้จับคู่สิ่งที่ไทยเสนออย่าง แต่เทศสนองกลับมาอีกอย่างไว้ให้ชมกัน
- ไทยวิทยา : ห้องนี้จำลองบรรยากาศห้องเรียน 4 ยุค โรงเรียนและแบบเรียน เป็นเครื่องมือสำคัญที่รัฐบาลทุกสมัยใช้ในการปลูกฝัง “ความเป็นไทย” ให้กับเยาวชนของชาติ มาดูกันว่าแต่ละสมัยเค้าเรียนอะไรกัน
- ไทยชิม : มากินข้าวกัน เรามีอาหารให้เลือกชม เลือกชิมหลากหลายเมนู ล้วนเป็น “อาหารไทย” ที่ต่างคุ้นชื่อคุ้นลิ้นกันดี
- ไทยดีโครต : มาเรียนรู้ต้นทางของ “ความเป็นไทย” ไม่ว่าจะเป็น งานศิลปกรรม พระปรางค์ , วิวัฒนาการของตัวอักษรไทย , ครุฑ , เรือสุพรรณหงส์ , หัวโขน , โจงกระเบน , กระทง รวมทั้งเสื้อลายดอก จากต้นทางต่างแดนสู่ผลลัพธ์ที่เป็นไทยอย่างที่คุ้นตาในปัจจุบัน
- ไทยเชื่อ : หากถามว่าคุณนับถือศาสนาอะไร คนไทยส่วนใหญ่ก็จะตอบว่า “ศาสนาพุทธ” แต่คำตอบที่ถูกน่าจะเป็น “ศาสนาไทย” มากกว่า ซึ่งเป็นส่วนผสมของความเชื่อแบบผี พราหมณ์ พุทธ มารวมกัน
- ไทยประเพณี : มีความลับอยู่ในกล่องต่างๆ ภายในมีแผ่นพับอธิบายเรื่องราวและที่มาของหัวเรื่องนั้นๆ บางกล่องมีเกมให้เล่น บางกล่องมีของให้ขยับ หรือจะจับใส่ถ่ายรูปก็ทำได้
- ไทยแชะ : ดาราหน้ากล้องทั้งหลายอย่าพลาดเลือกชุด เลือกเครื่องประดับ เลือกฉาก เลือกพร็อพให้ตรงยุค แล้วยิ้มสวยๆ 1 2 3 แชะ
บริหารจัดการ
ประเภทพิพิธภัณฑ์
วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ
เป็นห้องสมุดเฉพาะทางที่รวบรวมหนังสือและสื่อดิจิตอล ด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และพิพิธภัณฑ์วิทยา ไว้เป็นจำนวนมาก โดยเชื่อว่า นิทรรศการที่นำเสนอจะช่วยกระตุกให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และกระตุ้นให้มีการสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ในลำดับต่อไป ห้องคลังความรู้ ตั้งอยู่ที่ชั้น 2 อาคารสำนักงาน
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ(สพร.) สำนึกอย่างเต็มเปี่ยมว่าคลังโบราณวัตถุ จะต้องไม่ใช่ห้องเก็บของที่รอการถูกลืม หากแต่เป็นห้องเรียนที่มีชีวิต และจะต้องพัฒนาเป็นคลังเปิด เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้แบบจับต้องได้(Hands On) และการเรียนรู้จากโบราณวัตถุ ต่อยอดองค์ความรู้เดิม
- งานอบรม "การอนุรักษ์เชิงป้องกัน"
- การจัดทำทะเบียนโบราณวัตถุตามมาตรฐานสากล และการใช้สื่อสารสนเทศในการทำทะเบียน โดยร่วมมือกับ NECTEC
- ศูนย์อนุรักษ์เชิงป้องกันและให้คำแนะนำสำหรับเครือข่ายพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้
แผนที่
ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ
โทรศัพท์ : 02-225 2777
โทรสาร : 02-225 2775
เว็บไซต์ : http://www.museumsiam.org/
อีเมล : webmaster@ndmi.or.th
วันและเวลาทำการ
วันอังคาร-วันอาทิตย์ (ปิดให้บริการทุกวันจันทร์)
เวลา 10.00 - 18.00 น.
ค่าเข้าชม
บุคคลทั่วไป
- นักเรียน นักศึกษา(อายุ 15 ปีขึ้นไป) 50 บาท
- ผู้ใหญ่คนไทย 100 บาท
- ผู้ใหญ่ชาวต่างชาติ 100 บาท
หมู่คณะ 5 คน ขึ้นไป
- นักเรียน นักศึกษา(อายุ 15 ปีขึ้นไป) 25 บาท
- ผู้ใหญ่คนไทย 50 บาท
- ผู้ใหญ่ชาวต่างชาติ 50 บาท
เข้าชมฟรี
- เยาวชนไทยและเยาวชนต่างชาติ อายุต่ำกว่า 15 ปี
- ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
- พระภิกษุสงฆ์ นักบวช
- ผู้พิการและทุพพลภาพ
- มัคคุเทศน์ (แสดงบัตรประจำตัวที่ออกโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา)
การเดินทาง
- โดยรถยนต์: ลงทางด่วนที่ด่านยมราช แล้ววิ่งเข้าถนนหลานหลวง ถนนราชดำเนิน
ผ่านสนามหลวง ศาลหลักเมือง วัดพระแก้ว และวิ่งตรงมาถนนสนามไชย ผ่านวัดโพธิ์
มิวเซียมสยามอยู่ขวามือ
- รถโดยสารประจำทางสาย 3, 6, 9, 12, 32, 44, 47, 48, 53, 82, 524
- รถไฟฟ้า BTS: ลงสถานีวงเวียนใหญ่ ต่อรถโดยสารประจำทางสาย 82
- รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT: ลงสถานีสนามไชย (ทางออก 1)
- เรือด่วนเจ้าพระยา(ธงส้ม): ลงท่ายอดพิมาน
เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป
เนื้อหาสำหรับเด็ก
รับบัตรเครดิต
รับจองล่วงหน้า
โรงเรียน มหาวิทยาลัย หน่วยงานราชการ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร มีความประสงค์กเข้าชมเป็นหมู่คณะตั้งแต่ 20 คนขึ้นไป(ไม่เกิน 80 คน) ติดต่อ 02 225 2777 ต่อ 411
ข้อมูลสำหรับผู้พิการ
มีทางลาดและลิฟท์สำหรับผู้พิการ
สิ่งอำนวยความสะดวก
- ร้านขายของที่ระลึก Muse Shop
- ร้าน Muse Kitchen by Elefin
- ที่จอดรถ