ข้อมูลพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยาแห่งนี้เกิดขึ้นจากการสะสมผลงานวิจัยของคณาจารย์ในคณะวิทยาศาสตร์ ด้วยตระหนักดีว่า มหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นมหาวิทยาที่พัฒนาขึ้นมาจากวิทยาลัยวิชาการศึกษา การที่จะส่งตัวเองให้เท่าเทียมกับมหาวิทยาลัยเก่า หรือมหาวิทยาลัยในระดับนานาชาติได้นั้น ต้องมีการสร้างเอกลักษณ์ที่เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ จากประสบการณ์ของคณาจารย์ในคณะที่ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพมากว่า 30 ปี ทำให้สามารถค้นพบว่า การศึกษาเกี่ยวกับเห็ดรา เป็นทางเลือกที่ดีอันหนึ่ง สำหรับมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ด้วยเหตุผลที่ว่า เป็นกลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่มีผู้เชี่ยวชาญทั้งในระดับประเทศ และต่างประเทศน้อยมาก อีกทั้งสิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้มีประโยชน์ต่อวิถีชีวิตของชุมชนและในประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพของเห็ดราสูงมาก จึงเป็นเรื่องท้าทายสำหรับนักวิจัยหน้าใหม่ จรากการดำเนินงานมากว่า 30 ปี ทำให้ได้ตัวอย่างเห็ด ไม่น้อยกว่า 2,000 ชนิด และยังมีอีกไม่น้อยกว่า 2,000 ชนิด ที่ยังไม่สามารถจัดจำแนกได้ ทางคณะวิทยาศาสตร์จึงได้จัดทำพิพิธภัณฑ์เห็ดมีฤทธิ์ทางขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจาก คุณแฟรงกี้ ชาน ได้จัดระดมทุนทั้งจากต่างประเทศ ในประเทศ และเงินส่วนตัว เพื่อจัดสร้างพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ โดยหวังว่า พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะได้เป็นศูนย์การเรียนรู้ของคนรุ่นต่อๆ ไป การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยาแห่งนี้สำเร็จลงได้ด้วยการสนับสนุนของคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ (รองศาสตราจารย์ จีระพรรณ สุขศรีงาม และรองคณบดี (ดร.เนรมิตร มรกต) นอกจากนี้ยังมีบุคลากรต่างๆ รวมทั้งนิสิต ที่ได้ร่วมแรงร่วมใจในการจัดทำพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ต่อมา จึงได้ตั้งคณะกรรมการพิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยาขึ้น เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2551 โดยมีอาจารย์ ดร.อุษา กลิ่นหอม เป็นประธานโครงการ ดังคำสั่งที่ 827/2551 และได้รับความร่วมมือเป็นเบื้องต้นจากอาจารย์ภาควิชาชีววิทยาและภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ เป็นผู้ร่วมดำเนินงานและได้ร่วมงานอย่างต่อเนื่องและปฏิบัติตามพันธกิจด้านต่างๆ ตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2551 เป็นต้นมา
พิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยา ได้จัดแสดงตัวอย่างเห็ดชนิดต่างๆ โดยได้มีการจำลองแหล่งที่อยู่อาศัยของเห็ดชนิดต่างๆ ซึ่งตัวอย่างเห็ดที่จัดแสดงและเก็บรักษาไว้มีทั้งในลักษณะของตัวอย่างแห้ง และตัวอย่างดอง
นอกจากนี้ พิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยายังได้มีการให้บริการทางด้านวิชาการแก่นิสิต นักศึกษา และผู้ที่สนใจ ทั้งในเรื่องของการให้ยืมตัวอย่างเพื่อการศึกษาวิจัย หรือให้คำแนะนำต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่มีข้อสงสัยในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับเห็ด รวมถึงเป็นแหล่งเรียนรู้ของเยาวชนในพื้นที่และบริเวณใกล้เคียง
ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์เห็ดฯ ได้รับการจดทะเบียนเป็น International Herbarium Index โดยมีรหัส คือ MSUT ซึ่งสามารถขอยืมตัวอย่างและขอความร่วมมือจากพิพิธภัณฑ์อื่นทั่วโลกที่อยู่ในฐานข้อมูล สามารถสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://sweetgum.nybg.org/ih/herbarium.php?irn=154359 ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์เห็ดฯ มีความร่วมมือกับสถาบันวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นอย่างดี เช่น The Field Museum, Chicago ประเทศสหรัฐอเมริกา
บริหารจัดการ
ประเภทพิพิธภัณฑ์
วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ
ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์เห็ดฯ ได้รับการจดทะเบียนเป็น International Herbarium Index โดยมีรหัส คือ MSUT ซึ่งสามารถขอยืมตัวอย่างและขอความร่วมมือจากพิพิธภัณฑ์อื่นทั่วโลกที่อยู่ในฐานข้อมูล
สามารถสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://sweetgum.nybg.org/ih/herbarium.php?irn=154359
ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์เห็ดฯ มีความร่วมมือกับสถาบันวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นอย่างดี เช่น The Field Museum, Chicago ประเทศสหรัฐอเมริกา
แผนที่
ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ
โทรศัพท์ : 0-4375-4247-8 ต่อ 1179
เว็บไซต์ : http://www.mushroom.msu.ac.th
วันและเวลาทำการ
เปิดจันทร์-ศุกร์ 8.30-16.30 น.
ค่าเข้าชม
ไม่เสียค่าเข้าชม
การเดินทาง
จากกรุงเทพ ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ต่อด้วยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพจาก) ผ่านจ.สระบุรี จ.นครราชสีมา เลี้ยวขวาไปทางหลวงหมายเลข 23 (ถนนแจ้งสนิท) ผ่าน อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น เข้าสู่เขต จ.มหาสารคาม ผ่าน อ.กุดรัง อ.บรบือ เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมาย?เลข 23 (ถนนแจ้งสนิท) ผ่าน อ.เมืองมหาสารคาม เลี้ยวขวาที่สามแยกกาฬสินธุ?์(ทางหลวงหมายเลข 208) ไปตามทางหลวงหมายเลข 213 (ถนนถีนานนท์) ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำชี จากนั้นเลี้ยวซ้ายหลังจากลงสะพานเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข2202(ถนนท่าขอนยาง) ตรงไปเรื่อยๆเข้าสู่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พิพิธภัณฑ์จะอยู่ในคณะวิทยาศาสตร์ ชั้น 2 ห้อง 300
เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป
เนื้อหาสำหรับเด็ก
รับบัตรเครดิต
รับจองล่วงหน้า
กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะจะต้องทำหนังสือก่อนขอเข้าเยี่ยมชม
สิ่งอำนวยความสะดวก
มีพิ้นที่สำหรับจอดรถ