กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑ์การป่าไม้ สถาบันประชารัฐพิทักษ์ป่า

พิพิธภัณฑ์การป่าไม้ สถาบันประชารัฐพิทักษ์ป่า

08 กุมภาพันธ์ 2566

ชื่นชอบ 554

6,115 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

 

พิพิธภัณฑ์การป่าไม้

          พิพิธภัณฑ์ก่อตั้งครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2541 เดิมเป็นโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ไม้สักสืบเนื่องจากจังหวัดแพร่ ได้มีคำสั่งที่ 436/2541 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2541 แต่งตั้งคณะทำงาน ดำเนินงานพิพิธภัณฑ์ไม้สัก ตามยุทธศาสตร์จังหวัดแพร่ โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เป็นประธาน ผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้ เป็นเลขานุการ และคณะทำงาน มีอดีตผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้ 4 ท่าน เป็นคณะที่ปรึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับการทำไม้สักในอดีต และเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดแพร่

            เมื่อปี พ.ศ.2547 จึงได้ขยายอาคารพิพิธภัณฑ์เพิ่มอีก 2 อาคาร และได้สร้างเป็นแหล่งเรียนรู้ดังนี้คือ

          พิพิธภัณฑ์ 1 (MuseumI) แสดงประวัติโรงเรียนป่าไม้ อุปกรณ์การเรียนการสอน ป้ายชื่อโรงเรียนป่าไม้ยุคต่าง ๆ

          พิพิธภัณฑ์  2 (MuseumII) หรือพิพิธภัณฑ์ไม้สัก แสดงภาพการทำป่าไม้ในอดีต เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับการทำไม้ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากไม้ เรื่องราวเกี่ยวกับไม้สัก ตัวอย่างไม้ชนิดต่าง ๆ

          พิพิธภัณฑ์ 3 (MuseumIII) แสดงภาพประวัติการทำไม้ของบริษัทอิสต์เอเชียติค และภาพที่เกี่ยวข้องขณะที่บริษัทฯได้รับสัมปทานไม้สักในจังหวัดแพร่

          จุดเด่นของพิพิธภัณฑ์ป่าไม้คือ มีประวัติศาสตร์ ความเป็นมาที่น่าสนใจจึงเป็นสถานที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวโดยเฉพาะชาวยุโรปที่เข้ามาเยี่ยมเป็นจำนวนมากทุกปี ที่สำคัญคือ เป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ให้กับนักเรียน นักศึกษา ประชาชนที่สนใจ จึงเป็นสถานที่อันทรงคุณค่า

 

ประวัติบริษัทอิสต์เอเชียติ๊ก

                   เมื่อแรกก่อตั้งบริษัทฯ มีสำนักงานอยู่ 2 แห่ง คือ กรุงโคเปนเฮเกน และกรุงเทพฯ เท่านั้น
โดยสำนักงานที่กรุงเทพฯ  เน้นที่ธุรกิจนำเข้าและการทำป่าไม้  ซึ่งได้มาจากสัมปทานเดิมของบริษัท
Anderson Co.Ltd. และทำธุรกิจส่งออกไม้ การดำเนินธุรกิจเดิมของ Anderson Co. Ltd. โดยบริษัทอิสต์เอเชียติ๊กในกรุงโคเปนเฮเกน เป็นไปตามสาระสำคัญในการก่อตั้งบริษัท ว่าบริษัทฯ จะยังคงดำเนินธุรกิจของ Anderson Co. Ltd. ต่อไป ในกรุงเทพฯ และกรุงโคเปนเฮเกน และนี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมบริษัทอิสต์เอเชียติ๊กในประเทศไทยจึงถือเอา พ.ศ. 2427 (ค.ศ.1884) เป็นปีแห่งการก่อตั้งบริษัทฯ และทำการเฉลิมฉลอง 100 ปี ในปี พ.ศ.2527 (ค.ศ. 1984)

                   บริษัทฯ ได้ขยายธุรกิจออกไปอย่างรวดเร็ว ภายในเวลาไม่กี่ปี บริษัทฯได้กลายเป็นบริษัทชิปปิ้ง บริษัทการค้าและมีกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคของโลก ซึ่งการดำเนินธุรกิจของบริษัทอิสต์เอเชียติ๊ก ในประเทศไทยสอดคล้องและสนับสนุนโดยตรงกับการพัฒนาประเทศไทย

                   อุตสาหกรรมของประเทศไทยมีการพัฒนาต่อเนื่องกันมาหลายปี กิจกรรมของบริษัทฯ ได้เปลี่ยนจากการค้าสินค้าเกษตรมาเป็นการขยายตัวสู่ธุรกิจอุตสาหกรรม เช่น การค้าเคมีภัณฑ์และเครื่องจักรกลชั้นสูง พร้อมด้วยการบริการด้วยเทคนิคขั้นสูง และคุณภาพมาเป็นแรงสนับสนุนการดำเนินธุรกิจ ปัจจุบันบริษัทอิสต์เอเชียติ๊ก (ประเทศไทย) ได้ร่วมทุนกับบริษัทอื่น ๆ ดำเนินธุรกิจกับสินค้าเกษตรและเคมีภัณฑ์ ธุรกิจสี และธุรกิจอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์และการเพาะพันธุ์ไม้

 

ประวัติบริษัท อิสต์เอเชียติค ในจังหวัดแพร่

                    การทำไม้ของไทยในอดีต ราษฎรต่างตัดฟันเอาไปใช้สอย หรือทำการค้าขายโดยเสรี ต่อมาเกิดมีการสงวนสิทธิ์ประเภทป่าไม้สัก โดยเจ้าผู้ครองนครของฝ่ายเหนือมีสิทธิ์เป็นเจ้าของและจะอนุญาตให้ใครทำไม้สักเป็นสินค้าได้ โดยเรียกเก็บเงินส่วยค่าตอบแทน

                   ต่อมา พ.ศ. 2385 ชาวอังกฤษในประเทศพม่า ได้มาขอตัดฟันไม้สัก และยินยอมชำระเงินให้แก่พระยาเมืองเชียงใหม่ ซึ่งมีเขตแดนปลายเมืองเชียงใหม่ ลำพูน และตาก โดยนำล่องเรือแม่น้ำสาละวินของประเทศพม่า จนเกิดเป็นกรณีพิพาทกันเองเมื่อปี พ.ศ. 2390 จึงมีการหยุดพักการทำไม้

                   ในประเทศไทย  จึงเริ่มมีชาวต่างชาติสนใจที่จะค้าขายไม้จากรัฐบาลไทย ดังนั้น ในปี พ.ศ.2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติรักษาเมือง พ.ศ. 2417 ว่าด้วยการอนุญาตทำป่าไม้สักและเปลี่ยนแปลงอำนาจในการอนุญาตตัดฟันไม้สักจากเจ้าผู้ครองนครเป็นของรัฐบาล พ.ศ. 2426 จึงเริ่มมีบริษัทจากต่างชาติเข้ามาลงทุนทำไม้ในประเทศไทยตั้งแต่นั้นมา

                   บริษัท East Asiatic & Co.Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทของประเทศเดนมาร์กเริ่มเข้ามาทำสัมปทานการทำไม้สัก ในจังหวัดแพร่ โดยพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น เป็นผู้ได้รับพระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้ทำสัญญาเช่าที่ดิน เพื่อเป็นที่ทำการของบริษัท ในจังหวัดแพร่ เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2449 และกัปตันรอบินส์ กุลเบิก ผู้จัดการบริษัท East Asiatic & Co.Ltd.  ได้มาทำสัญญาเช่าสถานที่  เพื่อก่อตั้งจำนวนเนื้อที่  6 ไร่  ตั้งอยู่ในตำบล  ในกำแพงเวียง แขวงอำเภอเมือง  แขวงเมืองแพร่  มณฑลพายัพ  ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ 33 ถนนคุ้มเดิม อำเภอเมือง จังหวัดแพร่  และบริษัทได้ปลูกสร้างอาคารใน บริเวณพื้นที่เช่าขึ้น(ปัจจุบันคงเหลืออยู่ 3  หลัง) นำมาจัดแสดงเป็นพิพิธภัณท์ การป่าไม้ ทั้ง 3 หลัง

                   พื้นที่เขตป่าสัมปทานของบริษัท คือทางฝั่งแม่น้ำยมตะวันออก หรือฝั่งขวาของจังหวัดแพร่  ต่อมาเมื่อบริษัทได้หมดสัมปทานลง รัฐบาลได้ตั้งกองโรงเรียนป่าไม้ขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2478 รัฐบาลจึงได้ใช้พื้นที่เดิมของบริษัทเป็นสถานที่ก่อตั้งโรงเรียนป่าไม้ และเปิดทำการสอนครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2479 โดยมีหลวงวิลาสวันวิท (เมธ  รัตนประสิทธิ์) เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้คนแรก

 

ประวัติการจัดการป่าไม้ในประเทศไทย

กิจการป่าไม้สักในอดีต

               กิจการป่าไม้ หรือประวัติศาสตร์ด้านป่าไม้ในประเทศไทย อาจกล่าวได้ว่าเริ่มต้นและพัฒนามาจากการทำไม้ หรือการตัดฟันชักลากไม้สักในทางภาคเหนือของประเทศ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ.2383 โดยมีชาวจีน พม่า และเงี้ยว (ไทยใหญ่) ขออนุญาตจากเจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ ในหัวเมืองทางเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง ให้เข้าไปตัดฟันไม้สักออกจากป่า โดยเสียเงินค่า ตอไม้ ให้แก่เจ้าผู้ครองนครที่เป็นเจ้าของป่า หลังจากที่รัฐบาลไทยได้ตกลงทำสนธิสัญญาบาวริ่ง (Bowring Treaty) เพื่อการติดต่อค้าขายกับอังกฤษ ในพ.ศ.2398 ชาวอังกฤษและคนในบังคับ

 

              ต่อมา พ.ศ.2385 ชาวอังกฤษในประเทศพม่า ได้มาขอตัดฟันไม้สักและยินยอมชำระเงินให้แก่พระยาเมืองเชียงใหม่ มีเขตแดนปลายเมืองเชียงใหม่ ลำพูน และตาก โดยนำล่องทางแม่น้ำสาละวินของประเทศพม่า จนเกิดกรณีพิพาทกันเอง เมื่อ พ.ศ.2390 จึงมีการหยุดชะงักการทำไม้พม่า

สภาพเจ้าของป่า

               ในอดีต ไม้สักของไทยเป็นที่รู้จักกันเฉพาะกลุ่มของบุคคลชั้นสูง และผู้ดีมีเงิน โดยมีพ่อค้าจีนขออนุญาตทำไม้สักจากผู้ครองนครฝ่ายเหนือออกมาจำหน่ายภายในประเทศเป็นจำนวนไม่มากนัก ชื่อเสียงของไม้สักไทย เริ่มเป็นที่รู้จักแพร่หลายไปยังชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะชาวอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ.2414 เมื่อ มร.แอนเดอร์ซัน (Captain H.N.Andersen) กัปตันเรือชาวเดนมาร์ค ได้รวบรวมซื้อไม้สักจากชาวจีนนำบรรทุกเรือสำเภาไทยชื่อ ทูลกระหม่อม จนเต็มระรางแล้วนำไปขายที่เมืองลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ ได้กำไรเกือบ 100 เท่า ชื่อเสียงของไม้สักไทยจึงได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วไปในหมู่ชาวยุโรปซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากในภาคเหนือ

               ในปี พ.ศ.2426 รัฐบาลไทยได้เริ่มอนุญาตให้ชาวยุโรปเข้ารับสัมปทานทำไม้สักในประเทศไทยได้และช่วงเดียวกันหลังจาก พ.ศ.2428 เป็นต้นมา พม่าก็ได้ปิดป่าสักไม่ให้มีการทำไม้ เนื่องจากสภาพป่าสักเสื่อมโทรมลงมากจากการทำไม้ของบริษัทต่างชาติความต้องการไม้สักในหมู่ประเทศยุโรปจึงมีมากขึ้น ทำให้บริษัทต่างชาติเริ่มเข้ามาลงทุนทำไม้สักเพิ่มขึ้น บริษัท บริติชบอร์เนียว ได้รับสัมปทานทำไม้สักใน พ.ศ.2432 บริษัท บอมเบย์เบอร์มา (Bombay Burma Trading Corporatimg,Co. Ltd.) ของอังกฤษ ซึ่งเป็นบริษัทใหญ่และมีอิทธิพลมากในประเทศพม่าเข้ามาใน พ.ศ.2432 ต่อจากนั้น ก็มีบริษัทสยามฟอเรสต์ (Siam Forest Company,Co.Ltd.) หรือบริษัท แองโกลไทย จำกัดในปัจจุบัน บริษัทอีสต์เอเชียติค (East Asiatic Coltd) ของเดนมาร์ค ในพ.ศ.2437 บริษัทหลุยส์ เลียวโนเวนส์ (Louis T.Leonowens Co.Ltd.) ซึ่งแยกมาจากบริษัท บริติช บอร์เนียว

                ก่อนปี พ.ศ.2438 ใน 5 นครภาคเหนือของประเทศสยาม คือ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน สมัยเจ้าผู้ครองนคร ป่าไม้ในภาคเหนือ อุดมสมบูรณ์ด้วยไม้สัก เจ้าผู้ครองนครมีอำนาจออกสัมปทานทำไม้สักได้เองเป็นเรื่องที่บริษัท บอมเบย์เบอร์ม่า กำลังจะส่งคนมาหาความรู้ รัฐบาลสยามได้ทราบจึงรู้สึกวิตก เพราะการที่ประเทศพม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษเพราะการทำไม้สักของบริษัทบอมเบย์เบอร์ม่าในสมัยนั้นเป็นต้นเหตุ จึงได้ว่าจ้างชาวอังกฤษผู้ชำนาญการป่าไม้ พร้อมด้วยนักเรียนไทย 4 คน ขึ้นไปตรวจสอบป่าไม้สักภาคเหนือ โดยรัฐบาล (สมัยรัชกาลที่ 5) จะรับเอากิจการป่าไม้ตลอดจนเรื่องภาษีอากรมาจากเจ้าผู้ครองนคร โดยให้เจ้าผู้ครองนครได้รับค่าทดแทนตามสมควร ซึ่งเจ้าครองนครได้รับทราบ คำชี้แจงพระบรมราโชบายโดยเจ้าจอม ดารารัศมี แล้วก็เห็นพ้องด้วย (ผลสำเร็จในการชี้แจงในครั้งนี้ เจ้าจอมฯจึงได้รับพระราชทานยศเป็น พระราชชายา) พ.ศ. 2439 ต่อมามีบริษัทของคนไทย คือ บริษัทล่ำซำ และบริษัทกิมเซ่งหลีได้รับสัมปทานทำไม้สักจากป่าต่างๆ จากเจ้าเมืองเพิ่มขึ้น การทำไม้สักจึงได้ขยายออกไปถึง จังหวัดอื่นๆ ที่มีไม้สักอยู่

 

            การได้ทำสัมปทานไม้สักเพิ่มขึ้น  ทำให้เกิดการแก่งแย่งการทำไม้ในแต่ละแปลงสัมปทาน มีการขัดผลประโยชน์ระหว่างบริษัทต่อบริษัท และบริษัทต่อเจ้าเมืองต่างๆ จึงเกิดเรื่องร้องทุกข์ และฟ้องร้องไปยังรัฐบาลอยู่บ่อยๆใน พ.ศ. 2438 2439 รัฐบาลจึงได้จ้างผู้เชี่ยวชาญป่าไม้ชาวอังกฤษ ซึ่งมาสำรวจและวางโครงการการจัดการป่าไม้ในประเทศพม่า ให้แก่รัฐบาลอังกฤษ ชื่อ มร.เอช สเลด (H. Slade) มาสำรวจการทำไม้และปัญหาต่างๆในการให้สัมปทานทำไม้แก่บริษัทต่างๆ ในภาคเหนือของประเทศ ในวันที่ 18 กันยายน 2439 รัฐบาลจึงได้จัดตั้งกรมป่าไม้ขึ้น มีสำนักงานอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ (ตัวอาคารที่ทำการสำนักงานบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่)ในปัจจุบัน) มีวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครองป่าไม้ บำรุงส่งเสริมความอุดมสมบูรณ์ของป่าและจัดวางโครงการจัดการป่าไม้ ตามหลักวิชาการอย่างถูกต้อง

สภาพเจ้าของป่า

          ในอดีต ไม้สักของไทยเป็นที่รู้จักกันเฉพาะกลุ่มของบุคคลชั้นสูง และผู้ดีมีเงิน โดยมีพ่อค้าจีนขออนุญาตทำไม้สักจากผู้ครองนครฝ่ายเหนือออกมาจำหน่ายภายในประเทศเป็นจำนวนไม่มากนัก ชื่อเสียงของไม้สักไทย เริ่มเป็นที่รู้จักแพร่หลายไปยังชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะชาวอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ.2414 เมื่อ มร.แอนเดอร์ซัน (Captain H.N.Andersen) กัปตันเรือชาวเดนมาร์ค ได้รวบรวมซื้อไม้สักจากชาวจีนนำบรรทุกเรือสำเภาไทยชื่อ ทูลกระหม่อม จนเต็มระรางแล้วนำไปขายที่เมืองลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ ได้กำไรเกือบ 100 เท่า ชื่อเสียงของไม้สักไทยจึงได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วไปในหมู่ชาวยุโรปซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากในภาคเหนือ

           ในปี พ.ศ.2426 รัฐบาลไทยได้เริ่มอนุญาตให้ชาวยุโรปเข้ารับสัมปทานทำไม้สักในประเทศไทยได้และช่วงเดียวกันหลังจาก พ.ศ.2428 เป็นต้นมา พม่าก็ได้ปิดป่าสักไม่ให้มีการทำไม้ เนื่องจากสภาพป่าสักเสื่อมโทรมลงมากจากการทำไม้ของบริษัทต่างชาติความต้องการไม้สักในหมู่ประเทศยุโรปจึงมีมากขึ้น ทำให้บริษัทต่างชาติเริ่มเข้ามาลงทุนทำไม้สักเพิ่มขึ้น บริษัท บริติชบอร์เนียว ได้รับสัมปทานทำไม้สักใน พ.ศ.2432 บริษัท บอมเบย์เบอร์มา (Bombay Burma Trading Corporatimg,Co. Ltd.) ของอังกฤษ ซึ่งเป็นบริษัทใหญ่และมีอิทธิพลมากในประเทศพม่าเข้ามาใน พ.ศ.2432 ต่อจากนั้น ก็มีบริษัทสยามฟอเรสต์ (Siam Forest Company,Co.Ltd.) หรือบริษัท แองโกลไทย จำกัดในปัจจุบัน บริษัทอีสต์เอเชียติค (East Asiatic Coltd) ของเดนมาร์ค ในพ.ศ.2437 บริษัทหลุยส์ เลียวโนเวนส์ (Louis T.Leonowens Co.Ltd.) ซึ่งแยกมาจากบริษัท บริติช บอร์เนียว

           ก่อนปี พ.ศ.2438 ใน 5 นครภาคเหนือของประเทศสยาม คือ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน สมัยเจ้าผู้ครองนคร ป่าไม้ในภาคเหนือ อุดมสมบูรณ์ด้วยไม้สัก เจ้าผู้ครองนครมีอำนาจออกสัมปทานทำไม้สักได้เองเป็นเรื่องที่บริษัท บอมเบย์เบอร์ม่า กำลังจะส่งคนมาหาความรู้ รัฐบาลสยามได้ทราบจึงรู้สึกวิตก เพราะการที่ประเทศพม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษเพราะการทำไม้สักของบริษัทบอมเบย์เบอร์ม่าในสมัยนั้นเป็นต้นเหตุ จึงได้ว่าจ้างชาวอังกฤษผู้ชำนาญการป่าไม้ พร้อมด้วยนักเรียนไทย 4 คน ขึ้นไปตรวจสอบป่าไม้สักภาคเหนือ โดยรัฐบาล (สมัยรัชกาลที่ 5) จะรับเอากิจการป่าไม้ตลอดจนเรื่องภาษีอากรมาจากเจ้าผู้ครองนคร โดยให้เจ้าผู้ครองนครได้รับค่าทดแทนตามสมควร ซึ่งเจ้าครองนครได้รับทราบ คำชี้แจงพระบรมราโชบายโดยเจ้าจอม ดารารัศมี แล้วก็เห็นพ้องด้วย (ผลสำเร็จในการชี้แจงในครั้งนี้ เจ้าจอมฯจึงได้รับพระราชทานยศเป็น พระราชชายา) พ.ศ. 2439 ต่อมามีบริษัทของคนไทย คือ บริษัทล่ำซำ และบริษัทกิมเซ่งหลีได้รับสัมปทานทำไม้สักจากป่าต่างๆ จากเจ้าเมืองเพิ่มขึ้น การทำไม้สักจึงได้ขยายออกไปถึง จังหวัดอื่นๆ ที่มีไม้สักอยู่

 

            การได้ทำสัมปทานไม้สักเพิ่มขึ้น  ทำให้เกิดการแก่งแย่งการทำไม้ในแต่ละแปลงสัมปทาน มีการขัดผลประโยชน์ระหว่างบริษัทต่อบริษัท และบริษัทต่อเจ้าเมืองต่างๆ จึงเกิดเรื่องร้องทุกข์ และฟ้องร้องไปยังรัฐบาลอยู่บ่อยๆใน พ.ศ. 2438 2439 รัฐบาลจึงได้จ้างผู้เชี่ยวชาญป่าไม้ชาวอังกฤษ ซึ่งมาสำรวจและวางโครงการการจัดการป่าไม้ในประเทศพม่า ให้แก่รัฐบาลอังกฤษ ชื่อ มร.เอช สเลด (H. Slade) มาสำรวจการทำไม้และปัญหาต่างๆในการให้สัมปทานทำไม้แก่บริษัทต่างๆ ในภาคเหนือของประเทศ ในวันที่ 18 กันยายน 2439 รัฐบาลจึงได้จัดตั้งกรมป่าไม้ขึ้น มีสำนักงานอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ (ตัวอาคารที่ทำการสำนักงานบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่)ในปัจจุบัน) มีวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครองป่าไม้ บำรุงส่งเสริมความอุดมสมบูรณ์ของป่าและจัดวางโครงการจัดการป่าไม้ ตามหลักวิชาการอย่างถูกต้อง

( มร.เอส  สเลด ได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณจนถึงปี พ.ศ.2444 รวมระยะเวลา 4 ปีครึ่ง
จึงได้กราบถวายบังคมลาออก ในระหว่างที่บริหารราชการแผ่นดินในตำแหน่งเจ้ากรมป่าไม้ ได้ปฏิบัติที่สำคัญอีกอย่างคือ กำหนดให้มีการตากไม้สักให้แห้งก่อนตัดฟัน 2 ปี ตามหลักวิชาการป่าไม้ กำหนดขนาดต่ำสุดของไม้สักที่จะสัมปทานไว้ด้วย ได้จัดตั้งด่านป่าไม้กาโด ขึ้นที่เมืองมะละแหม่ง ประเทศพม่าเพื่อจัดการกับไม้สักไทยที่ล่องแม่น้ำสาละวินของพม่าได้จัดตั้งด่านป่าไม้ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ในปี 2441 แทนด่านป่าไม้เดิม ที่ตั้งอยู่ จังหวัดชัยนาท / ได้เริ่มส่งนักเรียนไทยไปศึกษาวิขาการป่าไม้ ณ ต่างประเทศ )

          การยกเลิกสัมปทานของชาวต่างประเทศพ.ศ. 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงก่อตั้งกรมป่าไม้ ครั้งแรก มี มร. เอส เสลด เป็นเจ้ากรมป่าไม้คนแรกจึงได้เป็นผู้จัดการเรื่องการอนุญาต การทำไม้

             พ.ศ.2497 สัมปทานป่าไม้สักของบริษัทต่างประเทศได้หมดลงทุกป่า พ.ศ.2440 2443 รัฐบาลได้ดำเนินการเจรจา และได้รับโอนกรรมสิทธิ์พื้นที่ป่าและการอนุญาตให้สัมปทานทำไม้จากเจ้าเมืองต่างๆให้มาเป็นสมบัติของของแผ่นดินเพื่อรัฐบาลจะได้ดำเนินกิจการป่าไม้สักทองรัฐบาลได้ยินยอมจ่ายเงินส่วนแบ่งค่าตอไม้ส่วนหนึ่งของที่เก็บได้ทุกปีให้แก่เจ้านายฝ่ายเหนือที่เคยได้รับอยู่

การจัดการป่าไม้โดยการจัดการจากรัฐบาล

          พ.ศ. 2443 เป็นต้นมา รัฐบาลได้ประกาศพระราชบัญญัติและกฎหมายป่าไม้ต่างๆ เกี่ยวกับระเบียบการทำไม้ การตั้งด่านภาษี เป็นต้น ได้มีการปรับปรุงแก้ไขสัญญาอนุญาตทำป่าไม้สักกับบริษัทต่างๆให้รัดกุมเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด และถูกต้องตามหลักวิชาการมากยิ่งขึ้นทั้งให้สัญญาอนุญาตป่าไม้ สัญญาละ 6 12 ปี ต่อมาได้ขยายสัญญาออกเป็นสัญญาละ 15 ปี ตามหลักการจัดป่าสัก โดยวางโครงการตัดฟัน 30 ปี เริ่มต้นใน พ.ศ. 2451 ต่อมาใน พ.ศ. 2453 โดยย้ายที่ทำการกรมป่าไม้จากจังหวัดเชียงใหม่มาอยู่ที่กรุงเทพฯ (และได้ย้ายสังกัดจากกระทรวงมหาดไทยไปขึ้นกับกระทรวงเกษตรธิการ หรือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในปัจจุบัน เมื่อ พ.ศ. 2464)

          ปี 2449 ได้มีการทดลองปลูกสร้างสวนสักโดยอาศัยชาวไร่ (Tuangya cystem) ซึ่งเป็นวิธีที่ประเทศพม่านำมาใช้ได้ผล จึงนำมาใช้ที่จังหวัดแพร่ ในปี 2451ได้มีการเปลี่ยนแปลงรอบตัดฟันไม้สัก (Felling cycle)ซึ่งเดิมกำหนดไว้ 12 ปี และอนุญาตให้ทำครั้งละ 6 ปี มาเป็นรอบตัดฟัน 30 ปี และกำหนดให้ทำครั้งละ 15 ปี พ.ศ. 2453 รัฐบาลได้ริเริ่มปลูกสร้างสวนสัก

          ต่อมาปี 2455 กรมป่าไม้ได้ริเริ่มทำไม้สักออกมาจำหน่ายเอง ที่ป่าแม่แฮด จังหวัดแพร่ และ พ.ศ.2461 ได้จัดตั้งกองกานไม้ขึ้นที่จังหวัดลำปาง เพื่อดำเนินการกานไม้สักที่อนุญาตให้ทำออกเสียเอง แทนที่จะให้ผู้รับอนุญาตเป็นผู้สับกานดังเช่นที่เคยกระทำมา

          พ.ศ.2456 ได้เริ่มขยายการควบคุมการทำไม้กระยาเลย และของป่า ประกาศใช้ พ.ร.บ. รักษาป่า พ.ศ.2456 ในมณฑลนครสวรรค์

          พ.ศ.2456 กรมป่าไม้ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลให้เข้าทำไม้ในป่าแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ มีการทำรายงานกิจการจัดเป็นประวัติกรมป่าไม้ที่ทำขึ้นครั้งแรกเป็นภาษาอังกฤษ

          สมัยที่เศรษฐกิจของประเทศที่ตกต่ำเป็นอย่างมาก งานส่วนใหญ่จึงเป็นไปในด้านปรับปรุงเกี่ยวกับเศรษฐกิจเป็นส่วนใหญ่ คือ ได้มีการเปลี่ยนแปลงการเก็บภาษีค่าตอ มาเป็นการเก็บค่าภาคหลวงตามปริมาตรไม้คิดเป็นตัน (1 ตัน = 50 ลูกบาศก์ฟุต) เมื่อปี 2476

          ต่อมาเมื่อประเทศไทยได้ประกาศใช้มาตราเมตริกเป็นมาตรฐานในการชั่ง ตวง วัด การเก็บค่าภาคหลวงไม้จึงได้คิดจากหน่วยเมตรลูกบาศก์ แทนการคิดเป็นตันดังที่เคยกระทำมา

 

          คำว่าค่าภาคหลวง ใช้ภาษาอังกฤษว่า Royalty หรือ Royal duty หมายถึง ภาษีที่รู้จักเก็บที่ได้รับอนุญาตให้นำทรัพยากรธรรมชาติออกมาใช้ เช่น ไม้จากป่าธรรมชาติ แร่ธาตุ ปิโตรเลียม เป็นต้น

ในปี พ.ศ. 2481 ได้ผลักดันให้พระราชบัญญัติคุ้มครอง และสงวนป่า พ.ศ. 2481 ออกมาบังคับใช้ นับว่าเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์ป่าไม้ของไทย เพราะได้มีความพยายามเสนอกฎหมายฉบับนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2483 รัฐบาลได้เปลี่ยนแปลงนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินได้มอบการบริหารส่วนท้องถิ่นให้ขึ้นกับจังหวัด ส่วนการบริหารทางวิชาการคงขึ้นกับกรมป่าไม้ ปีนี้ ป่าไม้ภาคลำปางได้เชิญชวนปลูกต้นไม้วันชาติ 24 มิถุนายน 2481ขยายไปทั่วประเทศ

ระยะเวลาบริหารราชการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2484 2490 เป็นช่วง 70 ปีหลังจากตั้งกรมป่าไม้ และ เป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับกิจการป่าไม้ของชาติอยู่หลายประการ

          พ.ศ. 2484 ประกาศใช้ พ.ร.บ. ป่าไม้ 2484 และมีโครงการริเริ่มปลูกสร้างสวนป่าไม้สัก

          พ.ศ. 2485 ตั้งสถานีวนกรรมห้วยไร่ อำเภอสูงเม่น (อำเภอเด่นชัย) จังหวัดแพร่ หนองแก และ พุแค รวม 3 แห่ง

          พ.ศ. 2490 คณะกรรมการและสมาชิก สมาคมโรงเลื่อยจักรได้ตกลงเป็นเอกฉันท์ให้จัดทำเกณฑ์แยกชิ้นไม้ สำหรับไม้สักแปรรูปขึ้นโดยได้รับความช่วยเหลือ จาก พระยาอนุมัติวนรักษ์ ในฐานะที่ปรึกษาฝ่ายเทคนิคของสมาคม

 

          พ.ศ. 2490 ได้มีการจัดตั้ง องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ เพื่อรับงานทำไม้แทนกองทำไม้ของกรมป่าไม้ มีหน้าที่คือ ทำไม้สักออกมาจำหน่ายในนามของรัฐบาล ทำไม้กระยาเลย ริเริ่มอุตสาหกรรมป่าไม้ทุกรูปแบบ รวมทั้ง ช่วยเหลือรัฐในด้านการปลูกสวนป่าด้วย 

 

 

บริหารจัดการ

หน่วยงานราชการ

ประเภทพิพิธภัณฑ์

ชีวประวัติ, ประวัติศาสตร์ และ โบราณคดี

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ


วันและเวลาทำการ

วันจันทร์ - วันศุกร์  เวลา 08.30 - 16.30

ค่าเข้าชม

ไม่เก็บค่าธรรมเนียม

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

หากมีความประสงค์เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เป็นคณะ ในวันเวลาราชการหรือ นอกวันเวลาราชการ

เห็นควรทำหนังสือถึง ผู้อำนวยการสถาบันประชารัฐพิทักษ์ป่า

6

แบ่งปัน

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง