กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ

พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ

16 มกราคม 2561

ชื่นชอบ 508

10,733 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มอบหมายให้ภาควิชาภาพถ่ายและเทคโนโลยีทางการพิมพ์ ดำเนินการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ (Museum of Imaging Technology) เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ และรัชมังคลาภิเษกสมโภช อีกทั้งเป็นวาระสำคัญที่การถ่ายภาพของโลกมีกำเนิดมาครบ 153 ปี ในการนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับพระกรุณาธิคุณในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์ของพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ

 

มหาวิทยาลัยได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพภายในบริเวณคณะวิทยาศาสตร์ มาตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2531 การก่อสร้างและตกแต่งภายในพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ แล้วเสร็จในกลางเดือนกรกฎาคม 2534 

 

ภายในพิพิธภัณฑ์จัดให้มีการแสดงวิวัฒนาการของกล้องถ่ายภาพและภาพถ่ายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน กล้องอิเล็กทรอนิกส์ วีดิทัศน์ การแสดงภาพถ่ายร่วมสมัย การแสดงธรรมชาติของแสงและสี ซึ่งเป็นพื้นฐานของศิลปะการถ่ายภาพ การแสดงภาพสามมิติ โฮโลแกรม การจัดแสดงภาพสไลด์อเนกทัศน์ ภาพยนตร์ด้านศิลปวัฒนธรรม และด้านการถ่ายภาพแก่ประชาชนทั่วไป รวมทั้งการจัดแสดงวิวัฒนาการและความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการพิมพ์และวัสดุพิมพ์ ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนและผู้สนใจด้านการถ่ายภาพได้มีโอกาสสัมผัสกับกระบวนการวิทยาศาสตร์ภาพถ่าย วีดิทัศน์ และการพิมพ์ตั้งแต่เยาว์วัย เพื่อช่วยกระตุ้นและเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ของเยาวชนและช่วยให้ผู้ที่สนใจด้านการถ่ายภาพ วีดิทัศน์ และการพิมพ์ได้มีโอกาสศึกษาค้นคว้า เพื่อพัฒนาเทคนิคและศิลปะเทคโนโลยีทางภาพ นอกจากนั้นพิพิธภัณฑ์ทางภาพแห่งนี้ยังทำหน้าที่เก็บรักษาและอนุรักษ์กล้องถ่ายภาพและภาพถ่ายที่มีคุณค่าให้เป็นสมบัติของประเทศไทยชั่วกาลนานอีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและศิลปวัฒนธรรม 

 

สิ่งสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด คือ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นเสมือนหนึ่งตัวแทนหรือสัญลักษณ์ของความร่วมมือที่มนุษย์มีต่อกัน เพราะการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพเป็นผลสัมฤทธิ์ได้ด้วยความพยายามของบุคลากรหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องเป็นเวลานานนับปีโดยได้รับความร่วมมือและการบริจาคสิ่งของอันหาค่ามิได้จากบริษัทผู้ผลิตฟิล์มและกล้องถ่ายภาพชั้นนำ องค์กร ตลอดจนเอกชนรายบุคคล ทั้งจากภายในและต่างประเทศทั่วโลก

 

บริหารจัดการ

สถานศึกษา

ประเภทพิพิธภัณฑ์

เกษตร, วิทยาศาสตร์, การแพทย์, เทคโนโลยี, ชีวิตและธรรมชาติ

พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

กล้องถ่ายรูปของในหลวง ร.5 และ ร.7 รวมทั้งกล้องของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

ภาควิชาภาพถ่ายและเทคโนโลยีทางการพิมพ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
โทรศัพท์ : 0-2251-1913, 0-2254-1748, 0-2254-6531
โทรสาร : 0-2255-3021, 0-2254-8530
เว็บไซต์ : http://museum.stkc.go.th/cu/photo.php

วันและเวลาทำการ

เปิดทำการทุกวัน เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 09:00-15:00 น.

ค่าเข้าชม

ไม่เสียค่าเข้าชม

การเดินทาง

สายรถประจำทางที่ผ่านมหาวิทยาลัย ด้านถนนพญาไท ได้แก่ สาย 27 29 36 36 ก 65 และ 501

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

กรณีต้องการเข้าชมเป็นหมู่คณะ กรุณาติดต่อล่วงหน้า

ข้อมูลสำหรับผู้พิการ

มีลิฟท์และรถวีลแชร์สำหรับผู้พิการ

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีลานจอดรถ

8

แบ่งปัน

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง