กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑ์กลุ่มชาติพันธุ์ล้านนา

พิพิธภัณฑ์กลุ่มชาติพันธุ์ล้านนา

11 สิงหาคม 2561

ชื่นชอบ 537

5,746 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

ประกอบด้วย เรือนอนุสารสุนทร เป็นสถาปัตยกรรมเรือนล้านนาที่สร้างตามแบบของเรือนคำเที่ยง ซึ่งตระกูลชุติมา และตระกูลนิมมานเหมินท์ ได้สร้างเรือนกาแลหลังนี้ขึ้น เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านเรือนโบราณล้านนา และอาคารเทพรัตนราชสุดา ซึ่งเป็นอาคารที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานนามอาคาร และเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดในวันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2551 เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาด้านต่าง ๆ อาคารแบ่งออกเป็น 4 ชั้น ดังนี้

 

ชั้น 1 ห้องศูนย์ข้อมูลภูมิปัญญาล้านนา, ห้องครัวไทย, ประชาสัมพันธ์, สำนักงาน, ศูนย์ใบลานศึกษา

 

ชั้น 2 กลุ่มชาติพันธุ์ไทยวน-ลัวะ, ไทเขิน-ไทยอง, ไทใหญ่-ไทลื้อ, ห้องประชุมเอื้องสายม่านพระอินทร์, ห้องประชุมเล็ก, ห้องอักษรไท, ห้องภูษาอาภรณ์

 

ชั้น 3 ภูมิปัญญาล้านนา อาทิ ภาษาและวรรณกรรมล้านนา ศิลปหัตถกรรม เครื่องปั้นดินเผา เครื่องเงิน เครื่องเขิน ดนตรีและนาฏศิลป์พื้นบ้าน, แพทย์แผนไทยล้านนาหรือที่เรียกกันว่า “หมอเมือง”, ห้องเกียรติคุณ รวบรวมเกียรติประวัติและความเป็นมาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ. 2467 ซึ่ง พ.ต. เจ้าราชภาติกวงศ์ (คำตัน ณ เชียงใหม่) ได้อุทิศที่ดินเนื้อที่ประมาณ 40 ไร่ให้กับโรงเรียนฝึกหัดครู (มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่) และประวัติ ผู้บริหารตั้งแต่ เจ้าชื่น สิโรรส ครูใหญ่คนแรก จนถึงผู้บริหาร คนปัจจุบัน

 

ชั้น 4 องค์ความรู้เกี่ยวกับพุทธศาสน์และเครื่องสักการะล้านนา, เส้นทางการเดินทัพห้องสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จากเชียงใหม่ไปยังเมืองนาย ประเทศพม่า

 

บริหารจัดการ

สถานศึกษา

ประเภทพิพิธภัณฑ์

วิถีชิวิต, วัฒนธรรม, ประเพณี, ภูมิปัญญา และ ศาสนา

พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

-

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

สถาบันล้านนาศึกษา สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เลขที่ 202 ถ.ช้างเผือก ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์ : 053-885860, 053-885880
โทรสาร : 053-885860, 053-885880
เว็บไซต์ : http://www.culture.cmru.ac.th/web60/our-service

วันและเวลาทำการ

เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 9.00-16.30 น. เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ 

ค่าเข้าชม

ไม่เสียค่าเข้าชม

การเดินทาง

จากถนนมณีนพรัตน์ ตรงไปก่อนถึงประตูช้างเผือกเล็กน้อย ให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนช้างเผือก ตรงไปอีกประมาณ 1.5 กิโลเมตร จะเห็นมหาวิทยาลัยอยู่ทางด้านขวา หรือจากถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ เชียงใหม่-ลำปาง ถ้ามาจากลำปาง พอถึงสี่แยกข่วงสิงห์ซึ่งตัดกับถนนช้างเผือก ให้เลี้ยวซ้ายไปอีกประมาณ 650 เมตร มหาวิทยาลัยจะอยู่ทางด้านซ้ายมือ

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

กรณีต้องการเข้าชมเป็นหมู่คณะ กรุณาติดต่อล่วงหน้า

ข้อมูลสำหรับผู้พิการ

-

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีที่จอดรถ

3

แบ่งปัน

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง