กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   พิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่กระทรวงกลาโหม

พิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่กระทรวงกลาโหม

01 สิงหาคม 2560

ชื่นชอบ 529

12,843 ผู้เข้าชม

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

พิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่กระทรวงกลาโหม จัดแสดงกลางแจ้งด้านหน้าและด้านข้างของกระทรวงกลาโหม โดยเรียงลำดับหมวดหมู่ตามอายุและยุคสมัยของปืน เริ่มจากปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ธนบุรี  และกรุงรัตนโกสินทร์ มีทั้งหมด 40 กระบอก แต่ละกระบอกมีป้ายชื่อและประวัติจารึกลงบนแผ่นทองเหลืออธิบายความเป็นมา

 

จุดเด่นของปืนใหญ่ที่จัดแสดง คือ ลวดลายประดับที่อยู่บริเวณท้ายปืน รอบปากกระบอก และส่วนกลางกระบอก แสดงถึงรูปแบบศิลปะที่นิยมกันในยุคที่ปืนกระบอกนั้นถูกสร้างขึ้น เช่น รูปบุคคลมีปีกคล้ายกินนรแต่ศีรษะเป็นฝรั่งมีผมหยิก  รูปสิงห์ รูปคชสีห์ ลายไทยแบบที่พบได้ในสถาปัตยกรรม และหลายกระบอกประดับลวดลายแบบตะวันตก

 

ปืนที่มีความโดดเด่นที่สุด คือ ปืนพญาตานี เอกสารทางประวัติศาสตร์กล่าวถึงประวัติของปืนกระบอกนี้ว่าหล่อขึ้นในสมัยอยุธยา โดยช่างชาวจีน โดยหล่อปืนขึ้นทั้งหมด 3 กระบอก สองกระบอกแรกสำเร็จด้วยดี เหลือแต่กระบอกที่สามพยายามหล่ออยู่หลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ ช่างจึงตั้งโต๊ะเซ่นไหว้เอาชีวิตของตนถวายถ้าหล่อปืนได้สำเร็จ  ปรากฏว่าเมื่อหล่อได้แล้ว  นายช่างหล่อปืนจึงไปยืนหน้ากระบอกปืน แล้วจุดทดลองยิง

นอกจากนั้น  ปืนกระบอกนี้ยังมีขนาดใหญ่และยาวที่สุด  ใช้วัสดุสำริด  ส่วนท้ายปืนเป็นรูปสังข์ปลายงอน ที่เพลามีรูปราชสีห์  บนกระบอกปืนมีจารึกว่า "พญาตานี"  มีห่วงสำหรับยก 4 ห่วง มีรูชนวนบริเวณท้ายปืน ความยาว 6.82 เมตร ตั้งอยู่บริเวณสนามฝั่งทิศใต้

 

อีกจุดที่น่าสนใจ คือ ชื่อของปืนหลายกระบอกแสดงถึงชนชาติต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์ทางทหารกับไทย เช่น  ขอมดำดิน  ไทใหญ่เล่นหน้า  ยวนง่าง้าว  ฝรั่งร้ายปืนแม่น  จีนสาวไส้  มักกะสันแหกค่าย และมุงิดทะลวงฟัน เป็นต้น 

บริหารจัดการ

หน่วยงานราชการ

ประเภทพิพิธภัณฑ์

การทหาร และ สงคราม

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

ปืนคู่ปืนพญาตานี และ ปืนนารายณ์สังหาร

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

ศาลาว่าการกลาโหม ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
โทรศัพท์ : 02-225 8262
เว็บไซต์ : https://www.facebook.com/PRopsd

วันและเวลาทำการ

นิทรรศการภายในอาคาร วันจันทร์-ศูกร์ เวลา 08.30-16.00 น.

 

นิทรรศการกลางแจ้ง ทุกวัน

ค่าเข้าชม

ไม่เสียค่าธรรมเนียม

การเดินทาง

รถโดยสารประจำทาง : สาย 1, 3, 6, 9, 15, 19, 25, 30, 33, 39, 43, 44, 47, 53, 59, 60, 64, 65, 70, 80, 82, 91, 123, 201, 203

รถโดยสารปรับอากาศ : สาย 1, 6, 7, 8, 12, 25, 38, 39, 44

เรือโดยสาร : เรือด่วนเจ้าพระยา (ท่าช้าง)

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

สิ่งอำนวยความสะดวก

บริเวณด้านข้างกระทรวงกลาโหม

10

แบ่งปัน

กิจกรรม

23 เม.ย. 2567

25 เม.ย. 2567

23 เมษายน 2567
งานใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ ณ พิพิธภัณฑ์ศาลาว่าการกลาโหม กิจกรรม ชมสถาปัตยกรรมตะวันตกของโรงทหารหน้า รูปศิลปะแบบพาลลาเดียนที่สร้างขึ้นสมัย ร.๕ นิทรรศการและส่วนจัดแสดงเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ของศาลาว่าการกลาโหม ร่วมสัมผัสและถ่ายรูปกับปืนใหญ่กระบอกสำคัญ บริเวณด้านหน้าศาลาว่าการกลาโหม   การเข้าชม แบ่งออกเป็น 3 รอบ เวลา 09.30 น. / 11.00 น. และ 14.00 น.  จำกัดผู้เข้าชม 30 ท่าน/รอบ** สนใจลงทะเบียนจองวันและเวลาในการเข้าชมได้ตาม QR Code ในโปสเตอร์ หรือกด Link: https://docs.google.com/.../1FAIpQLSfMhtc2z1B.../viewform...   ติดต่อสอบถามทาง inbox FB:  https://www.facebook.com/profile.php?id=100068790566984&locale=th_TH
pav

/

next

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง