แกลเลอรี
ข้อมูลพิพิธภัณฑ์
“มิวเซียม ปะพวน ที่ปากพลี” เป็นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ ดำเนินการโดย สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ(มิวเซียมสยาม) ร่วมกับศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชวัดฝั่งคลอง จังหวัดนครนายก เพื่อยกระดับพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านท้องถิ่นให้เป็นต้นแบบพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ในระดับภูมิภาค และเป็นแหล่งท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ด้านชาติพันธุ์ของจังหวัดนครนายก
จัดแสดงนิทรรศการชื่อว่า "ชาติพันธุ์ตำนานพวน : ตำนานรักเจ้าจอมกับนางกอย" ภายใต้แนวคิด "วิถีไทยพื้นบ้านในวิถีสากล" บอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิต ความเชื่อ ประเพณีและวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ของชาวไทยพวนในอำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก
ชั้น 1 ประกอบด้วย
- โถงต้อนรับ จัดแสดงเรื่องพวน ชวนรู้
- นิสัยใจคอชาวพวน , คำทักทายพวน , เมนูเด็ดชาวพวน
- อาณาจักรพวนสู่ชาติพันธุ์พวน
- การเคลื่อนย้ายจากเชียงขวาง สู่สยาม
- ป่าลึกลับและถ้ำลึกลับ แสดงเรื่องราวเรื่องราวตำนานความรักที่มีอุปสรรคของเจ้าจอมกับนางกอยการผจญภัยหาร่องรอยผ่านความเป็น “ชาวพวน” ของกอยให้ได้ เพื่อทั้งสองจะได้มีโอกาสครองรักร่วมกันตลอดไป
- พิธีบายศรีสู่ขวัญ เป็นประเพณีอย่างหนึ่งของคนไทยและคนลาว ด้วยความเชื่อที่ว่าทุกคนเกิดมาพร้อมกับสิ่งนามธรรมอย่างหนึ่งที่เรียกกันว่า “ขวัญ” ซึ่งมีหน้าที่รักษาประคับประคองชีวิตและติดตามเจ้าของไปทุกหนแห่ง การทำพิธีสู่ขวัญจึงเป็นการเชิญขวัญที่หนีหายไปให้เข้ามาอยู่กับตัว และเชื่อว่าเป็นการส่งเสริมพลังใจให้เข้มแข็ง มีสติและไม่ประมาท
- กระท่อมชาวพวน สร้างขึ้นมาตามแบบบ้านชาวพวน มีลักษณะเป็นเรือนผูก คือ สร้างด้วยไม้ไผ่ ใช้การสับฟากเป็นเรือน มัดด้วยเถาวัลย์ มุงหลังคาด้วยหญ้าคา ใต้ถุนสูงใช้เป็นคอกสัตว์ เช่น คอกวัวควาย หรือการตีไม้ระแนง หรือริ้วไม้ไผ่เพื่อเลี้ยงไก่ บางครัวเรือนใช้พื้นที่ใต้ถุนตั้งกี่ทอผ้า หรือมีแคร่สำหรับนั่งหรือนอนพักผ่อนในเวลากลางวัน หรือไว้รับแขกภายในเรือนมีอุปกรณ์สำหรับหุงหาอาหารต่างๆ
ชั้น 2 ประกอบด้วย
- พวนอยู่ไหน การเข้าสู่สยามของชาวพวน ในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจนถึงช่วงที่ไทยได้รวบรวมเอาชาวพวนที่เหลือจากการปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์
- พวนนครนายก พระเจ้าอยู่หัวในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ทรงมีบทบาทนำชาวลาว (รวมถึงชาวพวน) ให้มาอยู่ป่าดงตะวันออกของกรุงเทพฯ คือ แถบเมืองปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา พนมสารคาม พนัสนิคม และเมืองปากพลี เป็นต้น
- อัตลักษณ์พวน
- ลักษณะรูปร่างและการแต่งกาย
- ภาษาพวน
- ประเพณีพวน ฮีต ๑๒ คอง ๑๔
- อาหารพวน
- บ้านเรือนชาวพวน
- ต้นกำเนิดชุมชนพวนปากพลี
- การตั้งบ้านนามเมือง ของพวนปากพลี
- พวนปากพลี เป็นแบบไหน? ลักษณะเด่นของพวนปากพลี คือ นับถือพุทธ เชื่อเรื่องผี ยึดมั่นประเพณี
- พวนปากพลี
- กินอะไร ที่ใช่พวน
- ทำอะไร วิสัยพวน
- รื่นเริงแบบไหน สไตล์พวน
- พวนปากพลี ชวนเที่ยว อาทิ
- เจดีย์ย่อมุมและรอยพระพุทธบาทจำลอง วัดเกาะหวาย
- ศูนย์ภูมิปัญญามนุษย์ วัดปทุมวงษาวาส
- บ้านเรือนไทยพวนโบราณ ตำบลเกาะหวาย
- แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวพวน บ้านป้าสุรีย์
- วัดศรีมงคล: ไขภาพปริศนาธรรม ชมประตูบานเฟี้ยมแกะสลักด้วยไม้อย่างสวยงาม และนิทรรศการเฮียนฮู้ รู้บ๊านพวนที่จัดแสดงด้วยระบบดิจิตอล
- ศูนย์เรียนรู้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงบ้านต้นไม้
- ลัดดาฟาร์มแพะกับแกะ บ้านหนองหัวลิงใน
- สะพานไม้ไผ่ดอนยายแมะ บ้านเนินหินแร่
- พิพิธภัณฑ์บ้านไทยพวน บ้านหนองแสง
- ชมนกเหยี่ยวหูดำ ตำบลท่าเรือ
- เที่ยวสัญจร นครนายก อาทิ
- วัดท่าช้าง
- วัดใหญ่ทักขิณาราม(วัดใหญ่ลาว)
- วัดทองหลาง
- วัดพราหมณี
- มัสยิดปากีสถาน มัสยิดมาฮั้ลลิลคอยร๊อต (บ้านนา)
- วัดนักบุญเปาโล หรือวัดนักบุญเปาโลกลับใจ (บ้านนา)
- อุโมงค์ไม้ไผ่ วัดจุฬาภรณ์วนาราม
- บ้านก๋งยี่
- เรื่องอดีตนครนายก
- นครนายก: เส้นทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญในอดีต
- นครนายก เคยเป็นแหล่งช้าง
- นครนายก กับฐานทัพญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2
บริหารจัดการ
ประเภทพิพิธภัณฑ์
แผนที่
ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ
โทรศัพท์ : 081-458 8200 / 086-380 6461 / 092-757 9377
วันและเวลาทำการ
เปิดให้บริการวันอังคาร-วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์)
เวลา 09.00 - 16.00 น.
ค่าเข้าชม
เข้าชมฟรี
เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป
เนื้อหาสำหรับเด็ก
รับบัตรเครดิต
รับจองล่วงหน้า
ติดต่อเข้าชมเป็นหมู่คณะ โทร. 081-458 8200 / 086-380 6461 / 092-757 9377
สิ่งอำนวยความสะดวก
ลานจอดรถ