แกลเลอรี
ข้อมูลพิพิธภัณฑ์
วังเจ้าเมืองพัทลุง เดิมเป็นที่ว่าราชการและเป็นที่พักอาศัยของเจ้าเมืองพัทลุง ปัจจุบันเทศบาลเมืองพัทลุงได้ปรับปรุงและเปิดให้เข้าเยี่ยมชม
ภายในพื้นที่ประกอบด้วย วังเก่า ผู้สร้างและเป็นเจ้าของวัง คือ พระยาอภัยบริรักษ์(น้อย จันทโรจวงศ์) เจ้าเมืองพัทลุง ได้สร้างเพื่อพำนักซึ่งใช้เป็นที่ว่าราชการเมืองด้วย แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในปีใด เมื่อพระยาอภับบริรักษ์ถึงอนิจกรรม วังเก่าจึงตกเป็นมรดกแก่บุตรชาย คือ หลวงศรีวรวัตร(พิณ จันทโรจวงศ์) และตกทอดเป็นมรดกของคุณประไพ มุตตามระ บุตรี ก่อนจะมอบวังเก่าให้แก่กรมศิลปากร
วังเก่า เดิมเป็นเรือนไทยแฝด 3 หลังติดกันใต้ถุนสูง หลังที่ 1 และ 2 ทำเป็นห้องนอน ห้องแม่ทานเป็นห้องที่ 3 ลักษณะเป็นห้องยาวครอบคลุมพื้นที่แนวห้องโถงหน้าเรือนหลังที่ 1 และ 2 ด้วย ระหว่างเรือนหลังเล็กกับเรือนแฝด มีชานขนาดเล็กคั่น มีโอ่งมังกรขนาดใหญ่รูปไข่ไว้ใส่น้ำที่บ่าวไพร่หาบจากคลองลำปำมาให้เจ้าเมืองอาบ ตรงข้ามกับเรือนแฝดกั้นเป็นห้องๆ ใช้เป็นยุ้งฉางเก็บข้าวเปลือก ข้าวสาร มีห้องครัว ห้องเก็บของ และห้องสุขา
วัสดุที่ใช้ในการสร้างเป็นไม้ทั้งหมด วิธีการประกอบเรือนใช้ “ลูกสัก” หรือลิ่มไม้เชื่อมยึดแทนตะปู ซึ่งเป็นวิธีของช่างไทยแต่โบราณ ภายหลังการบูรณะชานเรือนหายไปแต่มีลานปูกระเบื้องดินเผาเข้ามาแทนที่
วังในปัจจุบันเป็น เรือนไทยภาคใต้ผสมภาคกลาง มีเรือนใหญ่ทรงไทยแฝดอยู่ตรงกลาง ตัวเรือนยกพื้นสูง เสากลมปักดิน หลังคามุงกระเบื้องดินเผา ด้านหน้าเรือนใหญ่เป็นเฉลียงยื่นไปทางทิศตะวันตก ถัดไปเป็นชานสำหรับใช้ว่าราชการหรือประกอบพิธีการต่างๆ สุดชานเป็นเรือนครัว มีบันไดขึ้น 2 ทาง
วังใหม่ พระยาอภัยบริรักษ์(เนตร จันทโรจวงศ์) เป็นผู้สร้าขึ้นด้านหลังวังเก่าทางด้านทิศใต้ติดกับลำคลองลำปำ ชาวบ้านจึงเรียกวังใหม่ว่า "วังใหม่ชายคลอง" หรือ "วังชายคลอง" มีลักษณะเป็นกลุ่มเรือนไทย 5 หลัง ประกอบด้วย เรือนประธานเป็นที่พักของพระยาอภัยบริรักษ์ฯ เจ้าเมือง พร้อมภรรยาและบุตร ลักษณะเป็นเรือนแฝด 2 หลัง , 3 หลังเป็นเรือนขนาดเล็กมีห้องนอนและระเบียงหน้าห้องเหมือนกันใช้เป็นที่อยู่ของอนุภรรยาและบุตร อีก 1 หลัง เป็นเรือนครัว เรือนทุกหลังสร้างด้วยไม้แบบเรือนไทยโบราณ
บริหารจัดการ
ประเภทพิพิธภัณฑ์
วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ
การจัดแสดงวังเก่าและวังใหม่ แสดงให้เห็นถึงขั้นตอนการก่อสร้างและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้
ในการก่อสร้างในสมัยโบราณ
แผนที่
ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ
โทรศัพท์ : 074-613 007 ต่อ 104
เว็บไซต์ : http://www.phatthalung.go.th/old/wangchaomuang_phatthalung.php
การเดินทาง
- อยู่ห่างจากตัวเมืองพัทลุงไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 6 กิโลเมตร ใช้เส้นทางหลวงพัทลุง-ลำปำ (หมายเลข 4047)
- มีรถประจำทางบริการรับ-ส่ง ใช้เวลาเดินทางประมาณ 10 นาที
เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป
เนื้อหาสำหรับเด็ก
รับบัตรเครดิต
รับจองล่วงหน้า
กรณีเที่ยวชมเป็นหมู่คณะ กรุณาติดต่อล่วงหน้า
ข้อมูลสำหรับผู้พิการ
ไม่มีข้อมูลสำหรับผู้พิการ
สิ่งอำนวยความสะดวก
มีลานจอดรถ