กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย

อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย

02 กุมภาพันธ์ 2566

ชื่นชอบ 614

58,988 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ตั้งอยู่ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา  ห่างจากตัวจังหวัดนครราชสีมาไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะทางประมาณ ๖๐ กิโลเมตร มีพื้นที่รับผิดชอบราว ๒,๖๕๘ ไร่  ครอบคลุมพื้นที่สำคัญของเมืองพิมายในอดีต ด้านทิศเหนือและตะวันออกจรดแม่น้ำมูล ทิศตะวันตกจรดลำจักราช และด้านทิศใต้ครอบคลุมสุดเขตบารายด้านทิศใต้ 

 

กรมศิลปากร ได้ดำเนินการอนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรมแห่งนี้ โดยดำเนินการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมืองพิมายในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๓ ตอนที่ ๓๔ ลงวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ.๒๔๗๙ และได้ดำเนินการบูรณะปราสาทหินพิมายครั้งใหญ่ ระหว่าง พ.ศ.๒๕๐๗ – ๒๕๑๒ โดยกรมศิลปากรร่วมกับรัฐบาลฝรั่งเศส ทำการบูรณะปราสาทประธานด้วยเทคนิค “อนัสติโลซีส” (ANASTYLOSIS) คือ การนำชิ้นส่วนต่างๆ ของตัวปราสาทประกอบเข้าด้วยกันตามหลักวิชาการและนำกลับเข้าสู่ตำแหน่งเดิม รวมทั้งได้บูรณะโบราณสถานในเมืองพิมายอย่างต่อเนื่อง ต่อมากรมศิลปากรจึงได้จัดตั้งโครงการอุทยานประวัติศาสตร์ พิมายขึ้น และดำเนินการบูรณะปรับปรุงโบราณสถานอื่นๆ ที่สำคัญจนแล้วเสร็จ และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๒ โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธาน

 

เมืองพิมาย ตั้งอยู่ที่ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เป็นสถานที่ตั้งของปราสาทหินพิมาย ซึ่งเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนานิกายมหายานที่มีความสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย มีอายุราว ๑,๐๐๐ ปีมาแล้ว เมืองพิมายมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง ๕๖๕ เมตร ยาว ๑,๐๓๐ เมตร  มีกำแพงและคูน้ำล้อมรอบ มีแม่น้ำมูลไหลผ่านทางทิศเหนือและทิศตะวันออก ทางทิศใต้มีลำน้ำเค็ม ทิศตะวันตกมีลำน้ำจักราชไหลขึ้นไปบรรจบกับลำน้ำมูล คำว่า “พิมาย” น่าจะเป็นคำเดียวกับคำว่า “วิมายะ” ที่ปรากฏอยู่ในจารึกภาษาเขมรที่กรอบประตูด้านทิศตะวันออกของระเบียงคดด้านทิศใต้ของปราสาทหินพิมาย ระบุชื่อ “กมรเตงชคตวิมาย” และกล่าวถึงการสร้างรูปเคารพสำคัญชื่อ “กมรเตงชคตเสนาบดีไตรโลกยวิชัย” ใน พ.ศ.๑๖๕๑ ดังนั้นเมืองพิมาย จึงเชื่อได้ว่าเป็นเมืองที่มีมาตั้งแต่ในสมัยอาณาจักรเขมรโบราณ ที่มีการพัฒนาของชุมชนและสังคมตามลำดับ

บริหารจัดการ

กรมศิลปากร

ประเภทพิพิธภัณฑ์

ชีวประวัติ, ประวัติศาสตร์ และ โบราณคดี

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

พลับพลาเปลื้องเครื่อง

                   ตั้งอยู่บริเวณด้านซ้ายมือของทางเดินเข้าสู่ตัวปราสาท เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง ๒๖ เมตร ยาว ๓๕.๑๐ เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก จากการขุดแต่งบริเวณนี้เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๑ พบกระเบื้องมุงหลังคาจำนวนมาก นอกจากนี้ยังพบรูปเคารพ เครื่องประดับและเหรียญสำริดจำนวนหนึ่งภายในอาคาร จึงเป็นเหตุให้เรียกกันว่า “คลังเงิน” อยู่ระยะหนึ่ง จากตำแหน่งที่ตั้งสันนิษฐานว่าอาคารหลังนี้ คงใช้เป็นสถานที่พักเตรียมพระองค์สำหรับกษัตริย์หรือเจ้านายชั้นสูงที่เสด็จมาประกอบพิธีกรรมทางศาสนา รวมทั้งเป็นสถานที่พักจัดขบวนสิ่งของถวายต่างๆ

 

 

สะพานนาคราช

                   ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าทางเข้าโคปุระด้านทิศใต้ สร้างด้วยหินทราย มีผังเป็นรูปกากบาท กว้าง ๔ เมตร ยาว ๓๑.๗๐ เมตร ยกพื้นสูงจากพื้นดินประมาณ ๒.๕๐ เมตร ราวสะพานทำเป็นลำตัวนาค ที่ปลายราวสะพานทำเป็นรูปนาคราชชูคอแผ่พังพานเป็นรูปนาค ๗ เศียร อันเป็นลักษณะที่นิยมในศิลปะเขมรแบบนครวัด ราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๗ สะพานนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการเดินทางเข้าสู่ศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์ ตามคติความเชื่อเรื่องจักรวาลเชื่อว่าเป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับโลกสวรรค์ คตินี้สืบต่อกันมาในศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ

 

ซุ้มประตูและกำแพงแก้ว

                   ซุ้มประตูหรือโคปุระ มีลักษณะเป็นรูปกากบาท ตั้งอยู่ที่กึ่งกลางของแนวกำแพงแก้วทั้ง ๔ ด้าน กำแพงแก้ว ก่อด้วยหินทราย สูงประมาณ ๘ เมตร มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง ๒๒๐ เมตร ยาว ๒๗๕.๕ เมตร ถัดจากกำแพงแก้วเข้ามาถือว่าเป็นการเข้าสู่ดินแดนสวรรค์อันเป็นที่อยู่ของเทพเจ้า

 

ชาลาทางเดิน

                   เมื่อผ่านซุ้มประตูด้านทิศใต้เข้ามาจะเป็นลานชั้นนอกของปราสาท ปรากฏแนวทางเดินทอดไปยังซุ้มประตูระเบียงคดด้านทิศใต้ แนวทางเดินนี้ก่อด้วยหินทราย ยกพื้นสูงประมาณ ๑ เมตร แบ่งเป็น ๓ ช่องทางเดิน จากการบูรณะพบเศษกระเบื้องมุงหลังคาและบราลีดินเผาจำนวนมาก เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าทางเดินมีลักษณะเป็นระเบียงโปร่งหลังคามุงกระเบื้อง รองรับด้วยเสาไม้ซึ่งผุพังไปหมดแล้ว

 

บรรณาลัย

                   ตั้งอยู่บริเวณลานชั้นนอกระหว่างซุ้มประตูกำแพงแก้วและซุ้มประตูระเบียงคดด้านทิศตะวันตก มีลักษณะเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยกพื้นสูง ก่อด้วยหินทราย กั้นเป็นห้องยาวตลอดแนว บริเวณพื้นห้องพบร่องรอยหลุมเสารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ระหว่างการขุดแต่งพบกระเบื้องมุงหลังคาดินเผาเป็นจำนวนมาก สันนิษฐานว่าเดิมคงมีหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง อาคารทั้งสองหลังนี้เป็นอาคารขนาดใหญ่ เชื่อกันว่าเป็นบรรณาลัยซึ่งหมายถึงสถานที่เก็บรักษาคัมภีร์ต่างๆ ทางศาสนา

 

สระน้ำ

                   ตั้งอยู่ที่มุมทั้ง ๔ ทิศ ของลานกำแพงปราสาทชั้นนอก ภายในสระพบว่ามีการนำวัสดุจากชิ้นส่วนสถาปัตยกรรม เช่น เสาประดับกรอบประตู นำมาวางเรียงกันอย่างไม่เป็นระเบียบ เดิมบริเวณนี้เคยเป็นที่ตั้งของวัดต่างๆ ซึ่งได้ย้ายไปตั้งใหม่นอกปราสาทแล้ว เช่น วัดสระเพลง วัดพระปรางค์ใหญ่ วัดโบสถ์ และวัดพระปรางค์น้อย สระเหล่านี้คงขุดขึ้นเพื่อประโยชน์ของวัดในการใช้อุปโภคบริโภค ในราวสมัยอยุธยาตอนปลาย

 

ซุ้มประตูและระเบียงคด

                   ระเบียงคด ก่อด้วยหินทราย เป็นระเบียงทางเดินหลังคาซุ้มโค้ง มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าล้อมรอบปราสาทประธาน มีซุ้มประตูอยู่กึ่งกลางทั้ง ๔ ด้าน โดยมีตำแหน่งที่ตั้งตรงกับแนวของประตูเมืองและประตูทางเข้าปราสาทประธาน ปรากฏหลักฐานสำคัญที่ซุ้มประตูระเบียงคดด้านทิศใต้ คือ จารึกบริเวณกรอบประตูด้านทิศตะวันออกของห้องกลาง จารึกด้วยอักษรขอมโบราณภาษาเขมร ระบุชื่อ “กมรเตงชคตวิมาย” และกล่าวถึงการสร้างรูปเคารพสำคัญชื่อ “กมรเตงชคตเสนาบดีไตรโลกยวิชัย” ตรงกับ พ.ศ.๑๖๕๑ ตลอดจนปรากฏพระนามของขุนนางชั้นสูงและพระนามพระมหากษัตริย์ คือ พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ ๑

 

ปราสาทประธาน

                   ภายในลานชั้นในซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารศาสนสถานหลายหลัง ที่ตั้งอยู่ตรงกลางคือปราสาทประธาน เป็นศูนย์กลางและสำคัญที่สุด ปราสาทประธานสร้างด้วยหินทรายสีขาว สูง ๒๘ เมตร หันหน้าไปทางทิศใต้ ซึ่งแตกต่างจากศาสนสถานเขมรในที่อื่นๆ ซึ่งมักจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ – ๑๗ ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๒ ส่วน คือ มณฑปและเรือนธาตุ มีการสลักลวดลายประดับตามส่วนต่างๆ เช่น หน้าบัน ทับหลัง ด้านนอกสลักเป็นภาพเล่าเรื่องรามเกียรติ์ ด้านในสลักภาพเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาคติมหายาน ภายในเรือนธาตุเป็นส่วนสำคัญที่สุดเรียกว่า “ห้องครรภคฤหะ” เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรก บริเวณพื้นห้องตรงมุมด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีร่องน้ำมนต์ต่อลอดผ่านพื้นห้องไปทางด้านนอก เรียกว่า “ท่อโสมสูตร”

 

พลับพลา

                   ภายในลานชั้นในด้านทิศตะวันออกของปราสาทประธาน มีฐานอาคารก่อด้วยหินทราย ผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม ขนาด ๘.๑๔ เมตร ยกพื้นสูง ๐.๗๐ เมตร เว้นช่องว่างตรงกลางเป็นช่องสี่เหลี่ยม มีหลุมขนาดใหญ่อยู่ที่ขอบฐานด้านทิศเหนือและทิศใต้ ด้านที่หันเข้าสู่ปราสาทประธานทำเป็นมุขยื่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สันนิษฐานว่าอาคารหลังนี้คงใช้ประโยชน์ในพิธีกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง

 

หอพราหมณ์

                   เป็นอาคารก่อด้วยหินทรายและศิลาแลง ตั้งอยู่บนฐานเดียวกันกับปรางค์หินแดง มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ในปี พ.ศ.๒๔๙๗ ได้ค้นพบศิวลึงค์ขนาดย่อมทำด้วยหินทราย เชื่อกันว่าอาคารหลังนี้คงเป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาพราหมณ์ จึงเรียกกันต่อมาว่าหอพราหมณ์ แต่จากรูปแบบและตำแหน่งที่ตั้งเดิมคงเป็นที่ตั้งของบรรณาลัยของปราสาทมากกว่า

 

ปรางค์หินแดง

                   สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปราสาทประธาน มีมุขยื่นอกไปทั้ง ๔ ทิศ เหนือกรอบประตูทางเข้าด้านทิศเหนือมีทับหลังหินทรายสลักภาพเล่าเรื่องมหาภารตะ ตอนกรรณะล่าหมูป่า ส่วนกรอบประตูด้านอื่นคงเหลือร่องรอยเฉพาะเสาประดับกรอบประตูประดับอยู่

 

ปรางค์พรหมทัต

                   สร้างด้วยศิลาแลง ตั้งอยู่ด้านหน้าของปราสาทประธานทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ประตูทำเป็นมุขยื่นออกไปทั้ง ๔ ด้าน ภายในองค์ปรางค์พบประติมากรรมสำคัญ ๒ ชิ้น คือ ประติมากรรมหินทรายรูปบุคคลขนาดใหญ่นั่งขัดสมาธิ สันนิษฐานว่าเป็นรูปของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ชาวบ้านมักเรียกว่า ท้าวพรหมทัต ส่วนอีกชิ้นหนึ่ง เป็นประติมากรรมหินทรายรูปสตรีนั่งคุกเข่า ส่วนศีรษะและแขนหักหายไป เชื่อกันว่าเป็นรูปของพระนางชัยราชเทวี ชาวบ้านเรียกตามนิยายพื้นบ้านว่า นางอรพิม ปัจจุบันประติมากรรมทั้ง ๒ ชิ้นนี้ จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย 

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา 30110
โทรศัพท์ : 044-471 568
โทรสาร : 044-471 568
เว็บไซต์ : http://www.finearts.go.th/phimaihistoricalpark
อีเมล : phimai_finearts12@hotmail.com

วันและเวลาทำการ

เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 7.00 - 18.00 น. 

 ไม่เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ 

ค่าเข้าชม

  • ค่าเข้าชมชาวไทย  คนละ ๒๐ บาท
  • ค่าเข้าชมชาวต่างชาติ คนละ ๑๐๐ บาท
  • ยกเว้นค่าเข้าชมสำหรับนักเรียน/นักศึกษาในเครื่องแบบ  และภิกษุสามเณร 

 

การเดินทาง

เดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว

จากตัวเมืองโคราชใช้ถนนมิตรภาพหรือทางหลวงหมายเลข 2 มุ่งหน้าไปขอนแก่น ประมาณ 50 กิโลเมตร พบทางแยกตลาดแคให้เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 206 อีก 10 กิโลเมตร จะถึงปราสาทหินพิมาย ซึ่งตั้งอยู่กลางอำเภอพิมาย       

 

เดินทางโดยรถประจำทาง

ขึ้นรถโดยสารโคราช-พิมาย ที่สถานีขนส่งแห่งที่ 2 ในตัวเมืองนครราชสีมามีทั้งรถปรับอากากาศและรถธรรมดา รถจอดหน้าปราสาทหินพิมาย

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

รับจองล่วงหน้า

กรณีต้องการเจ้าหน้าที่นำชม ให้ติดต่อล่วงหน้า

ข้อมูลสำหรับผู้พิการ

มีห้องน้ำและที่จอดรถสำหรับผู้พิการ

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีที่จอดรถ

10

แบ่งปัน

กิจกรรม

14 ม.ค. 2568

17 ม.ค. 2568

14 มกราคม 2568
ขอเชิญชมการแสดงโขนนั่งราว ชุด “นาคบาศ ขาดเศียรขาดกร” ชมมหรสพชั้นสูงแห่งกรุงสยาม ณ ปราสาทหินพิมาย  ที่มีทับหลังสลักภาพเล่าเรื่อง รามายณะ เก่าแก่กว่า ๙๐๐ ปี   วันศุกร์ที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๖๘ เวลา ๑๘.๐๐ น. ณ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จังหวัดนครราชสีมา   จัดโดย: อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย Phimai Historical Park สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา กรมศิลปากร  Thai Music Division สำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

13 ก.ย. 2567

14 ก.ย. 2567

13 กันยายน 2567
มันดาลาในจักรวาลธารา มันดาลาในแสงสีค่ำคืนของปราสาทพิมาย กำกับและเขียนบทโดย พสธร วัชร พาณิชย์   ชวนร่วมชมภาพยนตร์ในอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย พร้อมด้วยการพูดคุยถึงเบื้องหลังจากทีมงานและงานเสวนาพูดคุยจากนักวิชาการ    วันที่ 13 และ 14 กันยายน 2567 ตั้งแต่เวลา 17.00 - 22.30 น. สามารถจองบัตรเข้าร่วมงานได้แล้วที่ https://shorturl.at/N3T9f จำกัดเพียงรอบละ 100 ที่นั่ง พิเศษ*** รับ Postcard 3 ใบสุดพิเศษพร้อมกับลายเซ็นต์ทีมงาน   รับชมตัวอย่างภาพยนตร์ https://youtu.be/jcj2OwR9lF8?si=124yvSBx2zunL7sT

08 พ.ย. 2566

12 พ.ย. 2566

09 พฤศจิกายน 2566
เทศกาลเที่ยวพิมาย ประจำปี 2566 Phimai Festival 2023 8 - 12 พฤศจิกายน 2566 ณ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย  ลำน้ำจักราช และสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา . พบกับกิจกรรม การแสดง แสง สี เสียง สุดยิ่งใหญ่ตระการตา ณ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย เวทีวัฒนธรรม แลกเปลี่ยนการแสดงศิลปะ ณ ลานเมรุพรหมทัต ตลาดเมืองพิมาย ชิม อาหารรสเด็ดในธีมตลาดโบราณ ช้อป สินค้าพื้นเมือง และสินค้า OTOP ชมการแข่งขันเรือยาวประเพณี ชิงถ้วยพระราชทาน ณ ท่าลำน้ำจักราช การประกวดแมวสีสวาด จุดเช็คอินถ่ายรูป สอบถามเพิ่มเติม โทร. 044-471 568

12 เม.ย. 2566

17 เม.ย. 2566

11 เมษายน 2566
อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ขอเชิญสรงน้ำพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา  เสริมสิริมงคลเนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ปีพุทธศักราช ๒๕๖๖  วันที่ ๑๒ - ๑๗ เมษายน ๒๕๖๖ ณ ศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยว อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย   พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา พระพุทธเจ้าสูงสุดทางการแพทย์ และโอสถในศาสนาพุทธลัทธิมหายาน พระนามหมายถึง บรมครูแห่งโอสถ (รักษาโรค)  ผู้มีรัศมีดุจไพฑูรย์ (มณีสีน้ำเงิน)   อุทยาน​ฯพิมาย เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมทุกวัน (ไม่มีวันหยุด)​ 07:00 - 18:00 น.

16 ก.พ. 2566

18 ก.พ. 2566

13 กุมภาพันธ์ 2566
ขอเชิญทุกท่านชมการแสดง มินิไลท์ แอนด์ ซาวด์ ชุด “วิมายะนาฏการ” วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 16:00- 20:00น.  ณ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เปิดให้เข้าชมการแสดงฟรี   ชมการแสดงนาฏการที่ยิ่งใหญ่และสวยงาม ประกอบแสง-เสียงขนาดเล็ก เพื่อบอกเล่าถึงความเจริญรุ่งเรืองเมื่อครั้งอดีตกาล ของเมืองพิมายและอารยธรรมขอมโบราณ “ปราสาทหินพิมาย”   สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ททท.สำนักงานนครราชสีมา เบอร์ติดต่อ: 044-213 666 หรือ 044-213 030  
pav

/

next

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง