ข้อมูลพิพิธภัณฑ์
การค้นพบกระดูกไดโนเสาร์ชิ้นแรกของประเทศไทยในเทือกเขาภูเวียง เมื่อ พ.ศ.2519 นำไปสู่การสำรวจและค้นพบไดโนเสาร์หลากหลายพันธุ์
"ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน" เป็นไดโนเสาร์สกุลใหม่และชนิดใหม่ของโลก และได้รับพระราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธยของ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ คือ "สิรินธร" มาเป็นชื่อชนิด
ศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ เดิมชื่อ พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง เป็นพิพิธภัณฑ์ซากดึกดำบรรพ์ธรณีวิทยา และธรรมชาติวิทยา เพื่อประโยชน์ในการพัฒนา รวบรวมจัดเก็บเป็นหลักฐานทางธรณีวิทยา เก็บรักษาซากดึกดำบรรพ์เพื่อการเรียนรู้ การวิจัย การแสดง และการอ้างอิง
ภายในแบ่งเป็น 3 โซน คือ
โซน A มิวเซียมการ์เด้น (Museum Garden) ประกอบด้วย
- พื้นที่จอดรถ 150 คัน
- จุดเช็คอินถ่ายภาพ
- ลานไดโนเสาร์แห่งเกียรติยศ
โซน B อาคารนิทรรศการ (Exhibition Hall) ประกอบด้วย
- ห้องจัดแสดงนิทรรศการ ได้แก่
- กำเนิดจักรวาล วิวัฒนาการสิ่งมีชีวิต และเรื่องราวของไดโนเสาร์ทั่วโลก : จัดแสดงเกี่ยวกับกำเนิดจักรวาล วัฏจักรการเกิดและสลายของหิน กำเนิดสิ่งมีชีวิต ซากดึกดำบรรพ์ในมหายุคพาลีโอโซอิก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่กำเนิดในทะเลจนถึงยุคไดโนเสาร์ ที่มีตั้งแต่กำเนิดไดโนเสาร์ วิวัฒนาการของไดโนเสาร์ และการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ 65 ล้านปีก่อน โดยมีหลักฐานสำคัญคือ การพุ่งชนของอุกกาบาตลูกใหญ่ที่บริเวณประเทศเม็กซิโกในปัจจุบัน ที่มีความแรงระเบิดมากกว่าระเบิดไฮโดรเจนเป็นล้าน ๆ เท่าจนทำให้เกิดภัยพิบัติรุนแรงจนสิ่งมีชีวิตในโลกขณะนั้นสูญพันธุ์เป็นจำนวนมาก รวมทั้งเป็นการสิ้นสุดยุคไดโนเสาร์
- ไดโนเสาร์ในแหล่งเทือกเขาภูเวียง : นำเสนอซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ชิ้นแรกในประเทศไทย และ 5 ไดโนเสาร์สกุลใหม่ของโลกที่ค้นพบบริเวณเทือกเขาภูเวียง คือ
- ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน (Phuwiangosaurus Sirindhornae) เป็นไดโนเสาร์ชอโรพอต กินพืช คอยาว หางยาว เดินสี่ขา ความยาวประมาณ 15-20 เมตร ชื่อสกุล ภูเวียงโกซอรัส ตั้งขึ้นตามสถานที่ค้นพบคือ ภูเวียง ส่วนชนิด สิรินธรเน ได้รับพระราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธยของ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เป็นชื่อชนิด อายุ 130 ล้านปี
- สยามโกซอรัส สุธีธรนิ (Siamosaurus Suteethorni) เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอต กินเนื้อ เดินด้วยสองขาหลัง พบฟัน 9 ซี่ มีลักษณะเป็นรูปกรวยคล้ายฟันจระเข้ โดยบนพื้นผิวของฟันมีลายเส้นนูนเล็กๆ ยาวจากส่วนโคนไปถึงปลายแหลม มีแผงสันกระโดงกลางหลัง อายุ 130 ล้านปี
- สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส (Siamotyrannus Isanensis) เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอต กินเนื้อ เดินด้วยสองขาหลัง ขาหน้ามีขนาดเล็ก อายุ 130 ล้านปี
- กินนีมิมัส ขอนแก่นแอนซิส (Kinnareemimus Khonkaenensis) เป็นไดโนเสาร์ กินทั้งพืชและเนื้อ ลักษณะคล้ายนกกระจอกเทศ เดินและวิ่งด้วยขาหลัง 2 ข้าง ปราดเปรียว คอเรียวเล็ก ปากยาวเป็นจงอย ไร้ฟัน อายุ 130 ล้านปี
- ภูเวียงเวเนเตอร์ แย้มนิยมมิ (Phuwiangvenetor Yaemniyomi) เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอต ขนาดกลาง กินเนื้อ มีลำตัวยาว 6 เมตร อยู่ในกลุ่มเมกะแรพเตอร่า อายุ 130 ล้านปี
- สตูดิโอพบพี่ไดโนเสาร์
โซน C หุบเขาไดโนเสาร์ (Dino Valley) ประกอบด้วย
- ม่านน้ำข้ามกาลเวลา
- โรงเรียนฝึกนักล่าไดโนเสาร์
- 103 แลปหิน
- หลุมขุดค้นจำลอง
- สวนหินล้านล้านปี
- ลานกิจกรรม
- จุดออกกำลังกาย
บริหารจัดการ
ประเภทพิพิธภัณฑ์
วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ
- ประติมากรรมหุ่นโครงเหล็กไดโนเสาร์กินพืชภูเวียง
แผนที่
ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ
โทรศัพท์ : 081-846 2760 , 081-845 8628
โทรสาร : IDLine : Dinophuwiang
เว็บไซต์ : http://www.dmr.go.th
อีเมล : pw_dino@hotmail.com
วันและเวลาทำการ
วันอังคาร-วันอาทิตย์ เวลา 09.30 น. - 16.30 น.
( ปิดทุกวันจันทร์ )
ค่าเข้าชม
คนไทย
- ผู้ใหญ่ 20 บาท
- เด็ก 10 บาท
คนต่างชาติ
- ผู้ใหญ่ 60 บาท
- เด็ก 30 บาท
การเดินทาง
- โดยรถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1(ถนนพหลโยธิน) ถึงจังหวัดสระบุรี ตรงหลักกม.ที่ 107 แยกขวาเข้าทาง หลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ผ่านจังหวัดนครราชสีมา ถึงจังหวัดขอนแก่น ระยะทาง 449 กิโลเมตร
- รถโดยสารประจำทาง เส้นทางกรุงเทพฯ-ขอนแก่น จากสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ(หมอชิต 2) มีบริการทุกวัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7 ชั่วโมง และใช้เส้นทางหลวงสาย 2038 ไปอำเภอชุมแพ อำเภอภูเวียง พิพิธภัณฑ์อยู่ก่อนถึงอุทยานฯ ประมาณ 3 กิโลเมตร
เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป
เนื้อหาสำหรับเด็ก
รับบัตรเครดิต
รับจองล่วงหน้า
กรณีมาเป็นหมู่คณะต้องแจ้งทางพิพิธภัณฑ์ก่อนล่วงหน้า
สิ่งอำนวยความสะดวก
มีพื้นที่สำหรับจอดรถ