กำลังโหลดข้อมูล

คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

มิวเซียมไทยแลนด์

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   หอประวัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

หอประวัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

07 สิงหาคม 2562

ชื่นชอบ 4,563

15,009 ผู้เข้าชม

แกลเลอรี

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์

หอประวัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดตั้งขึ้นภายใต้แนวคิด “ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รวมทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ และเป็นพื้นที่ส่งต่อจิตวิญญาณการทำประโยชน์เพื่อเพื่อนมนุษย์ ซึ่งเป็นปณิธานของมหาวิทยาลัย ผ่านโซนนิทรรศการทั้ง 3 โซน ได้แก่

 

  • พระราชประวัติของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ต้นแบบของการอุทิศตนเพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์ เปรียบได้กับแผ่นดินที่หล่อเลี้ยงให้ทุกชีวิตเจริญเติบโตอย่างแข็งแกร่งและมีคุณภาพ
  • ต้ร่มพระบารมี จัดแสดงการสืบสานพระปณิธานเรื่องการทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และพระบรมวงศานุวงศ์ ทรงส่งต่อปณิธานนี้ให้แก่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปรียบเสมือนร่มไม้ใหญ่ที่ให้ความร่มเย็นแก่สรรพชีวิต
  • ประวัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดแสดงประวัติ และพัฒนาการการทำประโยชน์เพื่อเพื่อนมนุษย์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในรูปแบบต่างๆ เปรียบได้กับต้นกล้าที่พร้อมเติบโตและทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น ด้วยรากฐานจากสมเด็จพระบรมราชชนกและร่มเงาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และพระบรมวงศานุวงศ์

 

บริหารจัดการ

สถานศึกษา

ประเภทพิพิธภัณฑ์

ชีวประวัติ, ประวัติศาสตร์ และ โบราณคดี

พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง

วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ

  • ภาพการ์ตูนลายเส้นสีน้ำ “จะถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” วาดโดย คุณชัย ราชวัตร
  • เครื่องสังเค็ด(ตาลปัตรและตู้) ซึ่งจัดทำถวายพระราชาคณะ เนื่องในพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระราชบิดา
  • ตู้โชว์รูปหล่อและเหรียญที่ระลึกสมเด็จพระราชบิดา ที่จัดทำขึ้นในโอกาสสำคัญต่างๆ
  • ภาพวาดสีน้ำมันสมเด็จพระราชบิดา วาดโดยศิลปินแห่งชาติ คุณจักรพันธุ์ โปษยกฤต
  • หลวงพ่อเสริม พระพุทธรูปประจำวิทยาเขตหาดใหญ่ ซึ่งได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อ พ.ศ.2538
  • ไมโครโฟน ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงใช้พระราชทานพระบรมราโชวาทในวโรกาสที่ทรงเสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตรที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • เครื่องไซโลโฟน ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ทูลเกล้าฯถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ มอบหมายให้ทางมหาวิทยาลัยฯ เก็บรักษาไว้
  • แบบจำลองโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มขนาดเล็ก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ขนาดย่อ ในอัตราส่วน 1:50 (โรงงานต้นแบบจริงตั้งอยู่ที่สหกรณ์นิคมอ่าวลึก จ.กระบี่)
  • ชุดครุยปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ และใบปริญญาบัตร ที่มหาวิทยาลัยนำขึ้นทูลเกล้าถวายสมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
  • หุ่นขี้ผึ้งรูปเหมือนศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข อดีตอธิการบดี ผู้มีส่วนสำคัญยิ่งในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ประติมากร คือ อาจารย์วัชระ ประยูรคำ)

แผนที่

ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ

เลขที่ 15 ถนนกาญจนวณิชย์ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110
โทรศัพท์ : 074-282 990
โทรสาร : 074-282 999
เว็บไซต์ : http://www.psuhistory.psu.ac.th/
อีเมล : kanyarat.k@psu.ac.th

วันและเวลาทำการ

วันจันทร์ - วันศุกร์ (เว้นวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ) 

วันละ 2 รอบ (หากมาช้ากว่ารอบที่กำหนดเกิน 30 นาที ของดให้บริการเข้าชม) 

  • รอบเช้า เวลา 09.00 - 11.30 น.
  • รอบบ่าย เวลา 13.00 - 15.30 น.

** ผู้สนใจจะเข้าชมติดต่อจองเวลาเข้าชมได้ที่ คุณราตรี จูเปาะ โทร. 074-282 993 **

 

ค่าเข้าชม

ไม่เสียค่าเข้าชม

การเดินทาง

หอประวัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ให้ใช้ประตูด้านถนนกาญจนวณิชย์ เลี้ยวซ้ายเข้าไปจะเจอวงเวียนใหญ่ ให้ตรงไป จะผ่านธนาคารไทยพาณิชย์ด้านซ้ายมือ และเจอวงเวียนเล็ก ให้เลี้ยวซ้าย หอประวัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ตั้งอยู่ซ้ายมือ ตรงข้ามกับศูนย์กีฬา (PSU Sport Complex)

เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

เนื้อหาสำหรับเด็ก

เหมาะสม
ไม่เหมาะสม

รับบัตรเครดิต

รับ
ไม่รับ

ข้อมูลสำหรับผู้พิการ

มีทางลาด

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีที่จอดรถ

33

แบ่งปัน

กิจกรรม

22 ธ.ค. 2563

31 ม.ค. 2564

25 ธันวาคม 2563
ปิดการเข้าชมนิทรรศการในหอประวัติ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019(COVID-19) ไม่ให้แพร่ขยายไปในวงกว้างและเพื่อให้สอดคล้องกับประกาศมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เรื่องมาตรการการเฝ้าระวัง ลงวันที่ 21 ธ.ค. 2563   หอประวัติฯ จึงมีความจำเป็นต้องปิดการเข้าชมนิทรรศการในทุกชั้นของอาคาร  รวมทั้งของดการจองเวลาเข้าชมล่วงหน้า เป็นการชั่วคราว อย่างไม่มีกำหนด  ทั้งนี้ตั้งแต่วัน 22 ธันวาคม 2563 เป็นต้นไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ FB : หอประวัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ PSU Hall of History

01 ก.ค. 2562

31 ก.ค. 2562

05 กรกฎาคม 2562
เชิญชมนิทรรศการเทิดพระเกียรติ เรื่อง “ตราไปรษณียากร...บันทึกประวัติศาสตร์ ในหลวงรัชกาลที่ 10”  วันที่ 1 - 31 กรกฎาคม 2562 เวลา 09.00 – 16.00 น.  ณ บริเวณลานชั้น 1 อาคารหอประวัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์   อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่http://www.psuhistory.psu.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=485

05 มิ.ย. 2562

28 มิ.ย. 2562

13 มิถุนายน 2562
ขอเชิญชมนิทรรศการเรื่อง "พลเอกเปรม ติณสูลานนท์กับ..มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์" เพื่อร่วมไว้อาลัยในการถึงอสัญกรรม ของประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ปูชนียบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติไว้อย่างอเนกอนันต์และน้อมระลึกถึงคุณความดีของท่านที่มีต่อมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์   ตั้งแต่วันที่ 5 – 28 มิถุนายน 2562 วันจันทร์ - ศุกร์ (เว้นวันเสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดราชการ)   เวลา 09.00-16.00น. ณ บริเวณลานชั้น 1 อาคารหอประวัติฯ
pav

/

next

พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง