แกลเลอรี
ข้อมูลพิพิธภัณฑ์
หอพลับพลา เป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พระกรุณาธิคุณของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี พระราชชายาในพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เมื่อ ๘๐ ปีที่แล้ว ทั้ง ๒ พระองค์เคยเสด็จมาประทับแรม ณ พลับพลา บริเวณโรงเรียนในปัจจุบัน และกว่า ๑๐๐ ปีที่ผ่านมา โรงเรียนได้บริหารจัดการ หอพลับพลา ให้เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับพระบรมราโชวาท, พระราชดำรัส, โครงการพระราชดำริ และ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตลอดจนการศึกษาเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงราย ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญา ของคนในชุมชน และชนเผ่าที่อยู่ในเขตและนอกเขตบริการของโรงเรียน
ประวัติหอพลับพลา
ในอดีตกาล เมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๔๔๘ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ สมัย ดำรงพระอิสริยศ ได้เสด็จประพาสหัวเมืองมณฑลพายัพ ออกจากพระราชวังผ่านหัวเมืองต่างๆ เช่น นครสวรรค์ พิจิตร อุตรดิตถ์ แพร่ ลำปาง พะเยา จนถึงเมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๔๔๘ เวลาตอนเย็นได้เสด็จถึงบ้าน “ ห้วยส้านหลวง ” ได้ทรงประทับแรม ณ “ พลับพลา ” ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนในปัจจุบัน ต่อมากว่า ๒๐ ปี
พระราชชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ หรือที่ชาวบ้านรู้จักกันนามของ “ เจ้าดารารัศมี ” ได้เสด็จจากเมืองเชียงใหม่ ประพาสเมืองเชียงราย ผ่านเวียงป่าเป้า แม่สรวย ประทับแรม ณ พลับพลาและเสด็จเมืองเทิง เชียงของ เชียงแสน แม่สาย และเสด็จประทับแรม ณ “หอพลับพลา” อีกครั้ง ก่อนที่จะเสด็จกลับเมืองเชียงใหม่ โดยใช้เส้นทางเชียงราย - ร้องกวาง จากการเสด็จประทับแรมของทั้งสองพระองค์ ในเวลาต่อมา “ ชื่อห้วยส้านหลวง ” จึงเปลี่ยนชื่อเป็น “ บ้านห้วยส้านพลับพลา ”
ในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ “ หอพลับพลา ” ได้ชำรุดเพราะขาดคนดูแลรักษา ชาวบ้านป่าซาง จึงทำเรื่องเสนอทางราชการขอรื้อไปก่อสร้างโรงเรียนป่าซางปัจจุบันคือโรงเรียน โป่งแพร่วิทยา ต่อมาต้นปี พ.ศ. ๒๔๘๒ บ้าน ห้วยส้านพลับพลา และหมู่บ้านใกล้เคียงมีประชากรในวัยเรียนมาก ราษฎรจึงเสนอต่อทางราชการ เพื่อก่อตั้งโรงเรียนขึ้น จึงได้ชื่อว่า “ โรงเรียนบ้านห้วยส้านพลับพลา ” เปิดทำการสอนในปีการศึกษา ๒๔๘๒
จากคำบอกเล่าของชาวบ้านที่มีอายุตั้งแต่ ๙๐ ปีขึ้นไปเช่น แม่อุ้ยเขียว อินต๊ะวงค์ พ่ออุ้ยตา ธิดา ว่าได้เห็น หอพลับพลา ที่ตั้งอยู่ในบริเวณโรงเรียนเป็นที่พักอาศัยของเจ้านายที่มาพักเป็นครั้งคราว ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า เจ้าดารารัศมี เดินทางมาโดยขบวนช้าง ขบวนม้า มาพักอาศัยอยู่ ซึ่งตอนนั้นแม่อุ้ย พ่ออุ้ย ขณะนั้นยังเป็นเด็กเล่าเพิ่มเติมว่าช่วงที่มีเจ้านายมาพัก จะมีการเกณฑ์ชาวบ้านมาทำความสะอาดหอพลับพลา และช่วยกันหาหญ้า กล้วย อ้อย มาให้ช้างกับม้าได้กิน
History of the Horplubpla
In the past On October 13, 1945. Phra Bat Somdet Phra Poramenthra Maha Vajiravudh Phra Mongkut Klao Chao Yu Hua was the sixth monarch of Siam. He go the city of Payap County the palace Through the districts. Nakhon Sawan Phichit Uttaradit Phra Lampang Phayao. Until December 13, 1905 Evening to Huai San Luang. He was at the plubpla. That is the current school location for more than 20 years.
Princess Dara Rasmi Phra Bat Somdet Phra Poraminthra Maha Chulalongkorn Phra Chunla Chom Klao Chao Yu Hua. He came from Chiang Mai. Come to Chiang Rai Past Wiang Pa Pao Mae Suai stay overnight at the prubpra. And go to Thoeng city Chiang Khong city Chiang Saen city Maesai city. And stay at prubpra again. Before going back to Chiang Mai. By the route of Chiang Rai - Rong Kwang. From the visit of both of them. House name, Huai San Luang because it was renamed. Ban Huaisanplubpla. In 1937 horplubpla Damaged because of lack of care. Pa Sang villagers made the proposal to the government to transfer. school formatting pa sang school. Is now a Pong Phrae School. Later in the year 1939 Ban Huaisanplubpla And the neighboring villages have a very school age population. The people proposed to the government. To establish a school Was named Ban Huaisanplubpla School Opened in the summer of 1939.
From the sayings of villagers aged 90 years up . Seeing the horplubpla located in the school grounds. It is the residence of the boss who occasionally stay. The people called. Princess Dara Rasmi Travel by elephant parade. To stay. At that time, Old man Old woman, was still a child, adding that during the boss's stay. There will be criteria for villagers to clean the pavilion. And help to find the sugar cane grass for the elephant to eat.
บริหารจัดการ
ประเภทพิพิธภัณฑ์
แผนที่
ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ
โทรศัพท์ : 063-746 4724
วันและเวลาทำการ
เปิดให้ชมและศึกษาเรียนรู้ ทุกวัน
เวลา 09.00 -17.00น.
ค่าเข้าชม
เข้าชม ฟรี!!
เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป
เนื้อหาสำหรับเด็ก
รับบัตรเครดิต
รับจองล่วงหน้า
ติดต่อได้ที่ โรงเรียนบ้านห้วยส้านพลับพลา
เบอร์โทรศัพท์ 063-746 4724
หรือ inbox facebook: https://www.facebook.com/Horplubpla/
สิ่งอำนวยความสะดวก
สามารถนำรถเข้าจอดภายในบริเวณสนามของโรงเรียนได้