แกลเลอรี
ข้อมูลพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า แหล่งเรียนรู้ด้านนิเวศวิทยาของคนไทยและผู้สนใจจากทั่วโลก นิทรรศการภายในพิพิธภัณฑ์ ประกอบด้วย กำเนิดโลกและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตในภูมิประเทศที่ต่างกัน กลุ่มสังคมของพืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่ร่วมกันในบริเวณที่มีลักษณะเฉพาะเรียกว่า ชีวนิเวศ(Biome) ตลอดจนอิทธิพลของมนุษย์ต่อสภาพแวดล้อมนั้น นอกจากนี้ ยังจัดแสดงเขตภูมินิเวศ(Ecoregion) ของไทย ซึ่งเป็นการแบ่งพื้นที่ตามการกระจายตัวของสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ ในประเทศไทย รวมถึงนิทรรศการเกี่ยวกับพระบามสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยนำเสนอสาระที่เป็นหลักคิด หลักการ หลักปฏิบัติ วิธีการแก้ปัญหาในเชิงกระบวนการที่เป็นสากล รวมถึงแนวทางการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การอยู่กับธรรมชาติอย่างยั่งยืน อันจะนำไปสู่การมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ระบบนิเวศ ป้องทรัพยากรธรรมชาติ และเตรียมการรับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างรู้เท่าทันตามแนวคิดและหลักการทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงพระราชทานไว้ โดยแบ่งพื้นที่การจัดแสดงออกเป็น 3 ส่วนหลัก คือ
บ้านของเรา OUR HOME
- การระเบิดครั้งใหญ่ Big Bang : สรรพสิ่งบนโลกเป็นผลสืบเนื่องมาจากการระเบิดครั้งใหญ่หรือ Big Bang ซึ่งก่อให้เกิดจักรวาล ระบบสุริยะ และโลกของเรา
- ที่พักพิง Shelter : กว่าโลกจะกลายมาเป็น “บ้าน” ที่เหมาะสมของสิ่งมีชีวิตนั้น ได้ผ่านวิวัฒนาการมาอย่างยาวนานเกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ มากมาย
- ชีวิต Life : ชีวิตบนโลกเริ่มต้นขึ้นจากการเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ต่อมาอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมส่งผลให้สิ่งมีชีวิตปรับตัวจนมีรูปแบบที่ซับซ้อนขึ้นและถ่ายทอดลักษณะต่าง ๆ สู่ลูกหลานผ่านทางดีเอ็นเอ (DNA)
- วิวัฒนาการและการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ Evolution and Mass Extinction : โลกบันทึกประวัติศาสตร์ของโลกผ่านซากดึกดำบรรพ์ ตลอดระยะเวลา 500 ล้านปีก่อน เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของสิ่งมีชีวิตมากถึง 5 ครั้ง สิ่งมีชีวิตที่เหลือต้องปรับตัวและวิวัฒนาการเพื่อให้อยู่รอด แต่การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน นำไปสู่การตั้งคำถาม เรากำลังอยู่ในยุคของการสูญพันธุ์รั้งใหญ่อีกหรือไม่
- ย่างก้าวของมนุษยชาติ Human Odyssey : ในห้วงเวลาแห่งวิวัฒนาการอันยาวนานของสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์มนุษย์ได้ถือกำเนินขึ้นเมื่อใด และกว่าจะมาเป็น โฮโม ซาเปียน(Homo sapiens) ในปัจจุบัน เราได้เปลี่ยนแปลงอะไรมาบ้าง
ชีวิตของเรา OUR LIFE
- อาร์กติก Arctic : เป็นชีวนิเวศที่เต็มไปด้วยน้ำแข็งและเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์ที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมแบบนี้ได้ เช่น วาฬ หมีขาว วอลรัส แมวน้ำ รวมทั้งมนุษย์ เช่น ชาวอินูอิท(Inuit) ซึ่งสร้างที่อยู่อาศัยชั่วคราวจากก้อนน้ำแข็ง เรียกว่า อิกลู(igloo)
- ทุนดรา Trudra : เป็นชีวนิเวศที่มีความหนาวเย็น มีช่วงอากาศอบอุ่นสั้นมาก ประมาณ 50-60 วัน พืชส่วนใหญ่จึงเป็นพืชขนาดเล็ก เช่น หญ้า มอสส์ ดอกไม้ต่าง ๆ มีมนุษย์อาศัยอยู่หลายเผ่าพันธุ์ เช่น ชาวเนเน็ต(Nanets) ดำรงชีพด้วยการเลี้ยงเรนเดียร์ ความโดดเด่นที่ไม่เหมือนชีวนิเวศเขตอื่น คือ การเกิดขึ้นของฝูงยุงนับล้านตัวในช่วงฤดูร้อน
- ไทก้า Taiga : ความโดเด่นของชีวนิเวศเขตนี้ คือ แนวป่าสนขนาดใหญ่ เป็นชีวนิเวศบนบกที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศแบบสุดโต่ง คือ มีฤดูหนาวยาวนานและมีฤดูร้อนช่วงสั้น ๆ เป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อปัญหาสภาพแวดล้อม เช่น ไฟป่า การบุกรุกจากแมลง เป็นต้น
- ทะเลทราย Desert : มีสภาพภูมิอากาศแบบสุดโต่งในอีกลักษณะหนึ่ง คือ เต็มไปด้วยความแห้งแล้ง สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ จึงต้องมีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด เช่น อาศัยในหลุมหรือรู การเปลี่ยนใบให้เป็นหนามของต้นกระบอกเพชร เป็นต้น
- เขตร้อน Tropical Zone : เป็นชีวนิเวศที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นในทุกลำดับความสูงของป่า แสงแดด และน้ำฝนมีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง และมีความแตกต่างกัน
- เขตอบอุ่น Temperate Zone : ความโดดเด่นของชีวนิเวศเขตนี้ คือ การมี 4 ฤดูกาล ได้แก่ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว สิ่งมีชีวิตจึงปรับตัวตามฤดูกาล
- แอนตาร์กติกา Antarctica : เป็นบริเวณที่มีความหนาวเย็นมากที่สุดในโลก อุณหภูมิต่ำสุดอยู่ระหว่าง -49 ถึง -89 องศาเซลเซียส อย่างไรก้ตามสิ่งมีชีวิตบางชนิดทั้งพืชและสัตว์ที่สามารถปรับตัวและดำรงชีวิตอยู่ได้ ท่ามกลางสภาพอากาศอันรุนแรงนี้ แม้ Antarctica ไม่มีมนุษย์อาศัยอย่างถาวร
- วนนิเวศประเทศไทย Thailand’s Forest Ecosystems : นิทรรศการแบ่งเป็น 2 ส่วนจัดแสดง คือ ด้านในอาคารจัดแสดงนิทรรศการเรื่องการแบ่งเขตนิเวศตามความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตตามภูมิศาสตร์และวนนิเวศของไทย โดยจำลองพื้นที่ป่า 4 แบบ ได้แก่ ป่าพรุ ป่าดิบชื้น ป่าเต็งรัง และป่าดิบเขา สำหรับพื้นที่นอกอาคารจำลองพื้นที่ชุ่มน้ำ ซึ่งเป็นระบบนิเวศเดิมของทุ่งรังสิต
ในหลวงของเรา OUR KING
หอเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระมหากษัตริย์นักพัฒนา : บริเวณพื้นที่จัดแสดงส่วนนี้ เป็นแหล่งเรียนรู้หลักการคิด วิธีการทรงงาน และกระบวนการค้นหาคำตอบตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ผสมผสานกับองค์ความรู้เรื่องระบบนิเวศของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงนำไปแก้ปัญหา พระราชทานแก่พสกนิกรในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย
บริหารจัดการ
ประเภทพิพิธภัณฑ์
แผนที่
ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ
โทรศัพท์ : 02-577-9999 ต่อ 2122, 2123
โทรสาร : 02-577-9911
เว็บไซต์ : http://www.nsm.or.th/
อีเมล : ืnsm_mkt@nsm.or.th
วันและเวลาทำการ
เปิดให้บริการ
- วันอังคาร-ศุกร์ เวลา 9.30-15.00 น.
- วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 9.30-17.00 น.
ปิดวันจันทร์
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0 2577 9999 ต่อ 2122-2123
ค่าเข้าชม
1. ค่าเข้าชม 3 พิพิธภัณฑ์ สำหรับผู้ใหญ่ 100 บาท (ทั้งชาวไทย/ต่างชาติ)
- พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
- พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา
- พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ
2. ค่าเข้าชม 1 พิพิธภัณฑ์ สำหรับผู้ใหญ่ 200 บาท (ทั้งชาวไทย/ต่างชาติ)
- พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า
3. ค่าเข้าชม บัตรรวมทั้ง 4 พิพิธภัณฑ์ สำหรับผู้ใหญ่ 300 บาท (ทั้งชาวไทย/ต่างชาติ)
4. ฟรี ค่าเข้าชมสำหรับเด็ก นักเรียน นักศึกษาระดับปริญญาตรี (อายุไม่เกิน 24 ปี โปรดแสดงบัตร) และผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
การเดินทาง
รถโดยสารประจำทางที่ผ่านหน้าปากทางคลองห้า (เส้นรังสิต - นครนายก) สาย ปอ. 538
เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป
เนื้อหาสำหรับเด็ก
รับบัตรเครดิต
รับจองล่วงหน้า
กรณีเข้าชมแบบหมู่คณะ สามารถจองเข้าชมล่วงหน้าได้ที่ 02-577 9999 ต่อ 2122 - 2123
ข้อมูลสำหรับผู้พิการ
- ทางลาด
- ลิฟท์โดยสาร
- ห้องสุขา
สิ่งอำนวยความสะดวก
- ห้องละหมาด
- ห้องพยาบาล
- ร้านกาแฟ
- ร้านจำหน่ายอาหาร / ตู้กดเครื่องดื่ม