แกลเลอรี
ข้อมูลพิพิธภัณฑ์
นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ ตั้งอยู่ในพื้นที่เข้าสู่เขตพระราชธานี เมื่อครั้งในอดีตเปรียบได้กับการเป็นประตู
สู่กรุงรัตนโกสินทร์ สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ จึงพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ภายใต้ชื่อ
"นิทรรศน์รัตนโกสินทร์" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ และแหล่งรวบรวมข้อมูลเรื่องประวัติศาสตร์ ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม และสถาบันพระมหากษตริย์ ตั้งแต่เริ่มสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ นำเสนอผ่านเทคโนโลยีทันสมัยหลากหลายรูปแบบ
ภายในอาคาร แบ่งเป็น ๑๒ ห้องนิทรรศการ และ ๒ ส่วนบริการ ได้แก่
๑. โถงต้อนรับ
ห้องโถงด้านหน้า ภายในอาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ เปรียบได้กับ "ห้องรับแขก" ขนาดใหญ่ ได้รับการออกแบบให้โปร่งโล่ง ก่อให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นและร่วมสมัย
๒.อุโมงค์เวลา
ส่วนจัดแสดงจุดเริ่มต้นก่อนนำชมห้องจัดแสดงนิทรรศการ บอกเล่าประวัติศาสตร์ชาติไทยกับประวัติศาสตร์โลก เพิ่มการนำเสนอพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ และเรื่องการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ด้วยเทคนิค Hollow Display จัดแสดงแบบจำลองรถตรวจโรคติดเชื้อชีวนิรภัย ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี พระราชทานให้กระทรวงสาธารณสุข
๓.ห้องรัตนโกสินทร์เรืองโรจน์
ราชธานีอันเรืองโรจน์ย่อมเกิดจากการวางรากฐานอย่างมั่นคง ด้วยพระอัจฉริยภาพในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ผู้ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์
๔.ห้องเกียรติยศแผ่นดินสยาม
ความยิ่งใหญ่ สง่างามของพระบรมมหาราชวัง และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม คือ เครื่องแสดงเกียรติยศของแผ่นดิน
๕.ห้องเรืองนามมหรสพศิลป์
หนังใหญ่ โขน ละคร รำ และหุ่นต่างๆ คือ มหรสพสำคัญของกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งล้วนมีต้นเค้ามาจากการระบำรำเต้นโบราณ แล้วบูรณาการ และแตกสลายจนมมีความงามและลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไป
๖.ห้องลือระบิลพระราชพิธี
เพิ่มเนื้อหาจัดแสดงพระราชพิธีเนื่องในรัชกาลที่ ๑๐ เช่น พระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา เป็นต้น ด้วยเทคนิค Slide Screen เมื่อเคลื่อนจอผ่านภาพนิ่ง จะเกิดภาพถ่ายหรือวิดีโอจริงที่เกี่ยวข้องกับพระราชพิธีนั้นๆ
๗.ห้องสง่าศรีสถาปัยกรรม
วัง วัด และบ้านในกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีวิวัฒนาการเปฃี่ยนแปลงไปในแต่ละสมัย พัฒนารูปแบบการดำเนินชีวิตให้สอดรับกับความเจริญทางด้านเทคโนโลยีที่เข้ามา
๘.ห้องดื่มด่ำย่านชุมชน
๑๒ ชุมชนบนเกาะรัตนโกสินทร์ที่ย่อมาไว้ในที่เดียว เพื่อให้ได้ชมวิถีทำกิน และความเป็นที่สะท้อนเอกลักษณ์ความเป็นอยู่แบบไทยในสมัยรันตโกสินทร์
๙.ห้องเยี่ยมยลถิ่นกรุง
เพลิดเพลินไปกับการท่องเที่ยวบนเกาะรัตนโกสินทร์ สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
๑๐.ห้องเรืองรุ่งวิถีไทย
ย้อนกาลเวลาเรียนรู้ลักษณะวิถีความเป็นอยู่ของคนไทยตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์จวบจนปัจจุบัน เพื่อทราบถึงภูมิปัญญา วัฒนธรรม ขนบะรรมเนีนยมประเพณี
๑๑.ห้องดวงใจประชา
เป็นห้องที่จัดแสดงพระราชประวัติของรัชกาลที่ ๘ และรัชกาลที่ ๙ แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ ๑.ต้นโพธิ์แห่งแผ่นดิน จัดแสดงพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิต เป็น ๙ ช่วง ด้วยเทคนิค Soft touch Interactive ที่เมื่อผู้เข้าชมสัมผัสข้อความในนิทรรศการ จะปรากฏภาพเคลื่อนไหวเกี่ยวกับพระราชประวัติช่วงนั้นๆ ๒.ใต้พระบรมโพธิสมภาร นำเสนอพระราชกรณียกิจโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ๒๔ โครงการ โดยจัดแสดงบนจอโค้งใช้ซอฟแวร์ Dataton Watchout ควบคุมการแสดงวิดีโอหลายจอ เพื่อสร้างจอแสดงผลขนาดใหญ่ที่ไร้รอยต่อ ๓. ธ สถิตในดวงใจนิรันดร์ นำเสนอพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ โดยออกแบบผนังห้องนิทรรศการเป็นเส้นทางการเดินทางสู่พระเมรุมาศ พร้อมเปิดวิดิทัศน์ประมวลภาพพระราชพิธีต่างๆ
๑๒.ห้องนิทรรศการรัชกาลที่ ๑๐
ถ่ายทอดเนื้อหา ๓ ส่วน คือ "สืบสาน" หน้าที่แห่งกษัตริย์ของชาติไทย นำเสนอพระราชประวัติผ่านภาพวาด "รักษา" สุขแห่งประชาราฎร์ให้คงอยู่ นำเสนอพระราชกรณียกิจด้านต่างๆ ในรูปแบบ Interactive Information และ Model Display ผู้ชมสามารถสัมผัสข้อความในนิทรรศการเพื่อชมคำอธิบายเพิ่มเติมได้ และ "ต่อยอด" แผ่นดินไทย" ให้ยั่งยืน นำเสนอพระราชกรณียกิจผ่านรูปแบบ Immersive Theatre ที่เปรียบภาพการทรงงานปิดทองหลังพระ เป็นเสมือนดวงดาวผ่านม่านหมอก และผู้ชมสามารถมีส่วนร่วมไปกับนิทรรศการโดยการใช้กล่องส่องไปยังท้องฟ้า เพื่อชมภาพการทรงงานต่างๆ
๑๓.จุดชมวิว ชั้น ๔
ชมความงามจากมุมสูงของโลหะปราสาทวัดราชนัดดารามวรวิหาร ปราสาทที่มียอดสร้างด้วยโลหะแห่งเดียวในโลกที่ยังเหลืออยู่ พุทธสถาปัตยกรรมแห่งรัตนโกสินทร์ที่มีเอกลักษณ์อันงดงามแรกสร้างในรัชกาลที่ ๓ แต่เสร็จสมบูรณ์ในรัชกาลปัจจุบัน ภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุอันศักดิ์สิทธิ์ สามารถเดินขึ้นชมทัศนียภาพอันสวยงาม
๑๔.ห้องสมุดนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ (ชั้นลอย)
ห้องสมุดเฉพาะด้านที่รวบรวมหนังสือหายาก หนังสือทรงคุณค่า สื่อมัลติมีเดียครอบคลุมสาระความรู้ทุกแง่มุมเกี่ยวกับกรุงรัตนโกสินทร์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเชื่อมโยงและต่อยอดความรู้จากห้องนิทรรศการด้วยบรรยากาศการอ่านแบบสบาย
บริหารจัดการ
ประเภทพิพิธภัณฑ์
วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ
สืบเนื่องจากการเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งถือเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญ และมีความหมายที่สุดของปวงชนชาวไทย นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ จึงร่วมเทิดพระเกียรติและบันทึกประวัติศาสตร์ โดยรวบรวมเนื้อหาพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ จัดแสดงด้วยหลักการเรียบง่ายตามพระราชจริยวัตร ผสมผสานกับเทคนิคการนำเสนอที่แปลกใหม่ จากพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงพระราชทานพระราชดำริ และพระราชกรณียกิจเพื่อปวงชนชาวไทยอย่างต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด
เปิดส่วนจัดแสดงและห้องนิทรรศการใหม่ จำนวน ๔ ห้อง ได้แก่
๑.อุโมงค์เวลา
ส่วนจัดแสดงจุดเริ่มต้นก่อนนำชมห้องจัดแสดงนิทรรศการ บอกเล่าประวัติศาสตร์ชาติไทยกับประวัติศาสตร์โลก เพิ่มการนำเสนอพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ และเรื่องการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ด้วยเทคนิค Hollow Display จัดแสดงแบบจำลองรถตรวจโรคติดเชื้อชีวนิรภัย ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี พระราชทานให้กระทรวงสาธารณสุข
๒.ห้องลือระบิลพระราชพิธี
เพิ่มเนื้อหาจัดแสดงพระราชพิธีเนื่องในรัชกาลที่ ๑๐ เช่น พระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา เป็นต้น ด้วยเทคนิค Slide Screen เมื่อเคลื่อนจอผ่านภาพนิ่ง จะเกิดภาพถ่ายหรือวิดีโอจริงที่เกี่ยวข้องกับพระราชพิธีนั้นๆ
๓.ห้องดวงใจประชา
เป็นห้องที่จัดแสดงพระราชประวัติของรัชกาลที่ ๘ และรัชกาลที่ ๙ แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ ๑.ต้นโพธิ์แห่งแผ่นดิน จัดแสดงพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิต เป็น ๙ ช่วง ด้วยเทคนิค Soft touch Interactive ที่เมื่อผู้เข้าชมสัมผัสข้อความในนิทรรศการ จะปรากฏภาพเคลื่อนไหวเกี่ยวกับพระราชประวัติช่วงนั้นๆ ๒.ใต้พระบรมโพธิสมภาร นำเสนอพระราชกรณียกิจโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ๒๔ โครงการ โดยจัดแสดงบนจอโค้งใช้ซอฟแวร์ Dataton Watchout ควบคุมการแสดงวิดีโอหลายจอ เพื่อสร้างจอแสดงผลขนาดใหญ่ที่ไร้รอยต่อ ๓. ธ สถิตในดวงใจนิรันดร์ นำเสนอพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ โดยออกแบบผนังห้องนิทรรศการเป็นเส้นทางการเดินทางสู่พระเมรุมาศ พร้อมเปิดวิดิทัศน์ประมวลภาพพระราชพิธีต่างๆ
๔.ห้องนิทรรศการรัชกาลที่ ๑๐
ถ่ายทอดเนื้อหา ๓ ส่วน คือ "สืบสาน" หน้าที่แห่งกษัตริย์ของชาติไทย นำเสนอพระราชประวัติผ่านภาพวาด "รักษา" สุขแห่งประชาราฎร์ให้คงอยู่ นำเสนอพระราชกรณียกิจด้านต่างๆ ในรูปแบบ Interactive Information และ Model Display ผู้ชมสามารถสัมผัสข้อความในนิทรรศการเพื่อชมคำอธิบายเพิ่มเติมได้ และ "ต่อยอด" แผ่นดินไทย" ให้ยั่งยืน นำเสนอพระราชกรณียกิจผ่านรูปแบบ Immersive Theatre ที่เปรียบภาพการทรงงานปิดทองหลังพระ เป็นเสมือนดวงดาวผ่านม่านหมอก และผู้ชมสามารถมีส่วนร่วมไปกับนิทรรศการโดยการใช้กล่องส่องไปยังท้องฟ้า เพื่อชมภาพการทรงงานต่างๆ
แผนที่
ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ
โทรศัพท์ : ๐๒-๖๒๑ ๐๐๔๔
โทรสาร : ๐๒-๖๒๑ ๐๐๔๓
เว็บไซต์ : http://www.nitasrattanakosin.com
อีเมล : rtks2010@gmail.com
วันและเวลาทำการ
วันอังคาร - อาทิตย์ ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ (ปิดวันจันทร์)
เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๗.๐๐ น.
มีรอบเข้าชมทุก ๆ ๓๐ นาที ตั้งแต่เวลา ๐๙.๓๐ - ๑๕.๐๐ น. จำนวน ๑๒ รอบต่อวัน
รอบสุดท้ายให้บริการในเวลา ๑๕.๐๐ น.
ในกรณีที่ต้องการเข้าชม ๒ เส้นทาง โปรดมาก่อน เวลา ๑๓.๐๐ น.
*ทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา ๑๒.๐๐ - ๑๓.๓๐ น.
ชมฟรี เวทีการแสดงเพื่อเด็กและเยาวชน
ค่าเข้าชม
- ชาวไทย ๗๐ บาท
- ชาวต่างชาติ ๑๐๐ บาท
เข้าชมฟรี
- เด็ก (ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่ความสูงไม่เกิน ๑๒๐ เซนติเมตร)
สำหรับเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า ๑๒ ปี และเด็กพิเศษต้องเข้าชมพร้อมผู้ปกครอง
- นักเรียน/นักศึกษา (ไม่เกินระดับปริญญาตรี และกำลังศึกษาอยู่ในประเทศไทย)
ในเครื่องแบบหรือแสดงบัตรนักเรียน/นักศึกษา
- ผู้สูงอายุ (ชาวไทยและชาวต่างชาติที่มีอายุมากกว่า ๖๐ ปีขึ้นไป) แสดงบัตรประชาชน
- ภิกษุ สามเณร และผู้พิการ
การเดินทาง
รถประจำทาง :
- ปรับอากาศ -สาย ปอ.พ.๑๐-๑, ปอ.พ.๑๐-๒, ปอ.พ.๑๐-๓, ปอ.๑๒, ปอ.๔๔, ปอ.๕๙, ปอ.๖๐, ปอ.๗๐, ปอ.๗๙, ปอ.๑๕๗, ปอ.๑๗๑, ปอ.๑๘๕, ปอ.๒๐๑, ปอ.๕๐๓, ปอ.๕๑๑, ปอ.๕๐๙
- รถธรรมดา - สาย ๒, ๙, ๑๒, ๑๕, ๓๑, ๓๓, ๓๕, ๓๙, ๔๒, ๔๔, ๔๗, ๕๙, ๖๐ ๖๔, ๖๘, ๗๐,
๗๙, ๘๒, ๘๖, ๑๖๙, ๒๐๑
ทางเรือ :
เรือคลองแสนแสบ (เรือหางยาว) โดยนั่งมาสุดเส้นทางที่ ท่าเรือสะพานผ่านฟ้าลีลาศ
สถานีและจุดเชื่อมต่อการเดินทาง (รถไฟฟ้า-เรือ )
- MRT อโศก สามารถเชื่อมต่อ เรือโดยสารคลองแสนแสบ ท่าอโศก
- MRT สามยอด สามารถเชื่อมต่อ รถ Taxi
- BTS ราชเทวี สามารถเชื่อมต่อ เรือโดยสารคลองแสนแสบ ท่าสะพานหัวช้าง
รถยนต์ และทางด่วนพิเศษ ลง
- ด่านยมราช
- ด่านอุรุพงศ์
ข้ามสะพานผ่านฟ้าลีลาศมายังถนนราชดำเนินกลาง อาคารจะอยู่ทางซ้าย
ติดกับลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์
สถานที่จอดรถสำหรับผู้มาใช้บริการ
๑. ที่จอดรถอาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ (หลังหอศิลป์ร่วมสมัยฯ)
เปิดให้บริการทุกวัน (ยกเว้นวันจันทร์) เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๗.๐๐ น. (ปิดรับรถเวลา ๑๕.๐๐ น.)
อัตราค่าบริการและเงื่อนไข
(สำหรับลูกค้าอาคารนิทรรศน์ฯ และลูกค้าหอศิลป์ร่วมสมัย ราชดำเนินเท่านั้น)
- จอดรถไม่เกิน ๑๕ นาที ฟรีค่าบริการ
- อัตราค่าบริการ ชั่วโมงละ ๕๐ บาท เศษเกิน ๑๕ นาที คิดเป็น ๑ ชั่วโมง
- ในกรณีมีตราประทับ จะคิดอัตราค่าบริการที่ ๓ ชั่วโมงแรก ๒๐ บาท ชั่วโมงถัดไป
ชั่วโมงละ ๕๐ บาท เศษเกิน ๑๕ นาที คิดเป็น ๑ ชั่วโมง
หมายเหตุ
- ต้องนำรถออกก่อนเวลา ๑๗.๑๕ น. มิฉะนั้นคิดค่าปรับ ๕๐๐ บาท พร้อมค่าบริการจอดรถ
ตามอัตราจริง
- กรณีบัตรจอดรถสูญหาย ปรับ ๕๐๐ บาท พร้อมค่าบริการจอดรถตามจริงทั้งนี้
(ต้องแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของรถแก่เจ้าหน้าที่ และต้องได้รับอนุญาตจากอาคารฯ)
*อาคารฯขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนโดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
**กรณีเกิดความเสียหายแก่รถหรือสิ่งของภายในรถทางอาคารฯจะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น
๒. วัดราชนัดดาฯ (สอบถามอัตราค่าบริการจากเจ้าหน้าที่รับรถ)
เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป
เนื้อหาสำหรับเด็ก
รับบัตรเครดิต
รับจองล่วงหน้า
สามารถประสานเพื่อเข้าชมเป็นหมู่คณะได้ล่วงหน้า
โดยประสานรอบเข้าชมก่อน และจัดทำหนังสือขอความอนุเคราะห์ส่งไปที่
"สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์" อย่างน้อย ๑๕ วัน
ที่ส่วนงานจองรอบเข้าชมสำหรับหมู่คณะ
เบอร์โทรศัพท์ ๐๒ - ๒๒๖ ๕๐๕๐ หรือ ๐๒ - ๖๒๑ ๐๐๔๑ ต่อ ๑๓๑
ในวันอังคาร - วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๘.๐๐ น.
*รอบที่จองอาจมีการเปลี่ยนแปลง ขอสงวนสิทธิ์การเปลี่ยนแปลงรอบตามความเหมาะสม*
ข้อมูลสำหรับผู้พิการ
อยู่ในระหว่างดำเนินการ
สิ่งอำนวยความสะดวก
- มีที่จอดรถ สำหรับจำนวน ๑๖ คัน (มีค่าใช้จ่าย)
- ร้าน Golden Coffee เปิดให้บริการทุกวัน เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๗.๐๐ น. (ปิดวันจันทร์)