แกลเลอรี
ข้อมูลพิพิธภัณฑ์
ศูนย์การเรียนรู้ฟื้นฟูภาษา-วัฒนธรรมชอง หรือศูนย์ชอง ตั้งอยู่ในตำบลคลองพลู อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี ได้เริ่มก่อตั้งและเปิดบริการเป็นทางการเมื่อปีพ.ศ.2547 ระยะเวลาผ่านไป 1 ปี ชาวชองได้สังเกตและตระหนักถึงปัญหาเกี่ยวกับนิทรรศการในศูนย์ชองได้รับความสนใจจากหน่วยงานการศึกษาในท้องถิ่นและมีการนำไปใช้จนมีความเสื่อมโทรม ประกอบกับคณะกรรมการมุ่งทำงานสวนผลไม้เพื่อเลี้ยงครอบครัวจึงไม่ค่อยมีเวลามาดูแลอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับคณะกรรมการชองเกิดการท้อแท้เหนื่อยล้ากับการทำงานอนุรักษ์และฟื้นฟูภาษามานานหลายปี รวมทั้งยังขาดผู้ที่คอยบริหารจัดการศูนย์ชองด้วย ส่งผลให้ศูนย์ชองไม่มีการดำเนินกิจกรรมและขาดความเคลื่อนไหว ไม่มีชีวิตชีวา โครงการวิจัย “การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ ฟื้นฟูภาษา-วัฒนธรรมชอง เป็นแหล่งการเรียนรู้ชุมชน โดยชุมชนมีส่วนร่วม” โดยมีคุณรุ่งเพ็ชร ผันผาย และคณะคนชองเป็นทีมวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิเคราะห์ และพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ฟื้นฟูภาษา-วัฒนธรรมชอง ให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ของชุมชน ทั้งด้านภาษาและวัฒนธรรมชอง และกระบวนการให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมศูนย์การเรียนรู้ฟื้นฟูภาษา-วัฒนธรรมชอง เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนอย่างยั่งยืน โดยใช้พื้นที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเป็นสถานที่ดำเนินการ
ชาวชองทำงานวิจัยโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของคนชองและคนในชุมชนทั้งตำบลตะเคียนทองและตำบลคลองพลูในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การสำรวจความคิดเห็นและความต้องการเกี่ยวกับงานศูนย์การเรียนรู้ฯ ก่อนจะดำเนินกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับศูนย์ฯ การประชุมหาคณะกรรมการที่มาจากหมู่บ้านต่างๆ ทั้ง 2 ตำบล และแนวทางการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ฯ อย่างยั่งยืน การรวบรวมข้อมูลทางวัฒนธรรมชองจากการบอกเล่าของผู้รู้ การเล่าสู่กันฟังจากความทรงจำและประสบการณ์จริง การเดินไปเก็บข้อมูลกิจกรรมจริงหรือลงไปเก็บข้อมูลในพื้นที่จริงที่มีอยู่ในชุมชนท้องถิ่นทั้ง 2 ตำบลด้วย เช่น เรื่องสมุนไพร สิ่งแวดล้อม ฯลฯ เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการปรับปรุงหรือจัดนิทรรศการในศูนย์การเรียนรู้ฯ ที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม วิถีชีวิต และความต้องการของคนชอง ตลอดจนเป็นข้อมูลในการจัดประชุมเพื่อทำกิจกรรมส่งเสริมอาชีพที่เกิดจากภูมิปัญญาคนชองและจำหน่ายในรูปแบบสินค้าที่ระลึกทางวัฒนธรรมชองโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์จากคลุ้มและคล้า พืชพื้นบ้านของชาวชอง น้ำมันสมุนไพรจากหัวไพล พวงกุญแจลูกข่าง เสื้อภาษาชอง เป็นต้น และกิจกรรมเพื่อฟื้นฟู ประเพณีไหว้บรรพบุรุษ ฟื้นฟูการละเล่นพื้นบ้าน ฟื้นฟูอาหารพื้นบ้านชอง ตลอดจนการขยายเครือข่ายคนชองและเยาวชนในการผลิตหนังสือภาษาชอง การสร้างหลักสูตรภาษาชองอย่างง่ายๆ สำหรับใช้สอนคนในชุมชน
ข้อมูลจาก : เว็บไซต์ www.trf.or.th
บริหารจัดการ
ประเภทพิพิธภัณฑ์
วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ
ห้องเรียนรู้เชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับงานหัตถกรรมจากพืชคลุ้มและคล้า ของนักเรียนนักศึกษา เยาวชนในชุมชน และของคนชองเอง โดยเฉพาะการสานเสื่อและสิ่งของเครื่องใช้ในครัวเรือน
ข้อมูลจาก : เว็บไซต์ www.trf.or.th
แผนที่
ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ
โทรศัพท์ : 039327683
วันและเวลาทำการ
เปิดเฉพาะวันเสาร์ และ วันอาทิตย์ ตั้งแต่ 8.00-15.30 น.
ค่าเข้าชม
ไม่เสียค่าเข้าชม
การเดินทาง
การเดินทางโดยรถประจำทาง
จาก กรุงเทพฯ - จันทบุรี ระยะทางประมาณ 250 กม. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3-4 ชั่วโมง
การเดินทางโดยรถยนต์เช่า
จากตัวเมืองจันทบุรี เดินทางโดยถนนหมายเลข 3249 ระยะทางประมาณ 46 กม.
เนื้อหาสำหรับประชาชนทั่วไป
เนื้อหาสำหรับเด็ก
รับบัตรเครดิต
รับจองล่วงหน้า
รับจองล่วงหน้า
สิ่งอำนวยความสะดวก
มีลานจอดรถฟรี